กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชาวเขาตูม ลดโรคเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยง
รหัสโครงการ 61-L3027-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาตูมและบ้านจาเราะบองอ
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 106,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุริยัน มุขยวัฒน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.603,101.314place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้องรังโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขี่สำคัญและเร่งด่วนของประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย สาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง คือ พฤติกรรมและการใช้ชีวิตจะส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้โดยเฉพาะการบริโภคอาหารเค็ม (โซเดียม)ซึ่ง WHO กำหนดให้รับประทานโซเดียมได้สูงสุด 2400 mg/วัน ขาดการออกกำลังกายสูบบุหรี่ และมีภาวะเครียด อายุที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นได้ ความดันโลหิตสูงส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ ทำให้เส้นเลือดแดงแข็งขึ้น ลดความเร็วการไหลเวียนเลือดเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคล้มเหลว หลอดเลือดสมองแตก/ตีบ (stroke) โรคเบาหวานและมีแนวโน้มของการเพิ่มการเป็นโรคไตวายระยะสุดท้าย ตามมาได้หากผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่องจะก่อให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย ทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควรจากสถิติประเทศไทย พบว่า ประมาณร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติจากตารางสถิติโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในปัตตานี 3 ปี ย้อนหลังตั้งแต่ปี พศ.2558-2561 พบว่า โรคเรื้อรัง/ปี 2558 2559 2560 2561 ความดันโลหิตสูง 4510 5308 5643 7094 เบาหวาน 2178 2929 3039 3317 จากตารางข้างต้นพบว่าปริมาณของผู้ป่วยทั้งความดันโลหิตสูงและเบาหวานในจังหวัดปัตตานีมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นในทุกปีซึ่งเมื่อนำมาเทียบกับสถิติโรคเรื้อรังของประชากรในเขตตำบลเขาตูมในระยะเวลา 3 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี พศ.2558-พศ.2561

ประเภทข้อมูล รพ.สต.เขาตูม รพ.สต.บ้านจาเราะบองอ ปี 2558 2559 2560 2561 2558 2559 2560 2561 ประชากรอายุ 35ปีขึ้นไป 3045 3062 3145 3321 1993 1953 2064 2280 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 254 278 296 399 145 154 172 269 ผู้ป่วยเบาหวาน 72 78 85 105 16 18 22 73 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง/ผู้ป่วยเบาหวาน(รายใหม่) 26/4 24/6 31/8 46/10 11/1 10/1 14/1 34/4 กลุ่มเสี่ยงความดัน เบาหวาน 310 323 328 421 165 192 186 201 จากตารางสถิติของตำบลเขาตูมพบว่ามีการเพิ่มของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานขึ้นทุกปีและมีการเพิ่มขึ้นเหมือนกับสถิติของโรคความดันโรคเรื้อรังจังหวัดปัตตานีเมื่อนำข้อมูลในส่วนของประชากรกลุ่มเสี่ยงพบว่ามีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทุกปีและจากการลงพื้นที่คัดกรองโรคความดันเบาหวานประจำปี พศ.2561 พบว่าประชาชนที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงจำนวน 622 คนมีจำนวน62.22%มีหากไม่มีการจัดประชากรกลุ่มนี้อย่างเหมาะสมก็จะทำให้มีโอกาสที่ประชากรกลุ่มนี้เปลี่ยนสถานะเป็นผู้ป่วยโรคความดัน/เบาหวานได้ในกลุ่มที่สุดดั่งนั่นทาง รพ.สต.เขาตูมและ รพ.สต.บ้านจาเราะบองอจึงได้มีการจัดโครงการ “การป้องกันโรคเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงตำบลเขาตูม”เพื่อต้องการที่จะลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดัน/เบาหวาน ในเขตตำบลเขาตูมอ.ยะรัง จ.ปัตตานีประจำปี พศ.2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงความดัน/เบาหวานมีความรู้และสามารถปฎิบัติตัวโดยใช้หลัก3อ2ส.และได้รับการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินภาวะสุขภาพ

กลุ่มเสี่ยงความดัน/เบาหวานมีความรู้และสามารถปฎิบัติตัวโดยใช้หลัก3อ2ส.และได้รับการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินภาวะสุขภาพ 100%

300.00
2 เพื่อให้ผู้นำเครือข่ายสุขภาพในชุมชนมีส่วนช่วยประชาสัมพันธ์สถานการณ์และให้ความรู้โรคความดัน/เบาหวานในคุตบะห์

ผู้นำเครือข่ายสุขภาพในชุมชนมีส่วนช่วยประชาสัมพันธ์สถานการณ์และให้ความรู้โรคความดัน/เบาหวานในพื้นที่และมีส่วนในการให้ความรู้เรื่องสุขภาพตามวิถีอิสลามในช่วงคุตบะห์

300.00
3 เพื่อให้เกิดเวทีการถอดบทเรียนจากบุคคลต้นแบบในกลุ่มเสี่ยงความดัน/เบาหวานที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลัก3อ2ส.

เกิดบุคคลต้นแบบในกลุ่มเสี่ยงความดัน/เบาหวานที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลัก3อ2ส.

300.00
4 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยที่สงสัยได้รับการส่งต่อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยจากแพทย์ทุกคน

กลุ่มผู้ป่วยที่สงสัยได้รับการส่งต่อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและรับการตรวจรักษาจากแพทย์ทุกคน

300.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เจาะเลือด (FPG: Fasting plasma glugose) ในกลุ่มเสี่ยง

1.1เจาะเลือด (FPG: Fasting plasma glugose) ในกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 622 คนในวันเสาร์ – อาทิตย์เป็นเวลา 3 สัปดาห์

2.จัดทำเวทีประชาคมเพื่อแก้ไขประเด็นเรื่องการควบคุมอาหารในชุมชน

2.1 เวทีที่ 1 นำเสนอประเด็นปัญหา ผลกระทบ และ สาเหตุของปัญหา 2.2เวทีที่ 2จัดลำดับความสำคัญของปัญหา กำหนดแผนงานกิจกรรม และมาตรการควบคุมอาหารในชุมชน 2.3เวทีที่ 3ถอดบทเรียนต้นแบบในคนกลุ่มเสี่ยงความดัน/เบาหวานที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลัก3อ2ส.

  1. กลุ่มเสี่ยงความดัน/เบาหวานได้รับการเยี่ยมบ้านและประเมินภาวะสุขภาพ

3.1 ลงเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินภาวะสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงความดัน/เบาหวานก่อนและหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

4.กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยจากแพทย์

4.1 การติดตาม และให้สุขศึกษารายบุคคลแก่กลุ่มเสี่ยง สูงเพื่อให้เข้าถึงการบริการทางการแพทย์โดยเร็ว และลดภาวะแทรกซ้อน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงความดัน/เบาหวานมีความรู้และสามารถปฎิบัติตัวโดยใช้หลัก3อ2ส.และได้รับการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินภาวะสุขภาพ 2.ผู้นำเครือข่ายสุขภาพในชุมชนช่วยประชาสัมพันธ์สถานการณ์และให้ความรู้โรคความดัน/เบาหวานในคุตบะห์ 3.กลุ่มผู้ป่วยที่สงสัยได้รับการส่งต่อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยจากแพทย์ทุกคน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2561 11:47 น.