กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดพุง ลดโรค
รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 -03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2561
งบประมาณ 20,323.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคอ้วนที่กำลังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นนี้ มีที่มาที่ไปจากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งปัจจัยในระดับปัจเจกบุคคล และปัจจัยสิ่งแวดล้อมเชิงโครงสร้างทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ลักษณะการทำงานที่ใช้แรงงานน้อยลง รวมถึงการเดินทางคมนาคมติดต่อสื่อสารที่สะดวกสบายกว่าแต่ก่อน ทำให้คนไทยโดยเฉพาะในสังคมเมือง มีการเคลื่อนไหวร่างกายและมีกิจกรรมทางกายที่ลดลง ใช้เวลาในแต่ละวันไปกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์หรือโทรศัพท์ และการเดินทางบนท้องถนน ซึ่งมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างน้อยเป็นส่วนใหญ่ในแต่ละวัน หากไม่นับเวลานอน (ประมาณ 8.4 ชั่วโมง) โดยเฉลี่ยคนไทยใช้เวลากับการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยมากถึง13.3 ชั่วโมงขณะที่ การใช้พลังงานจากกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายมีแนวโน้มลดลง แต่การรับพลังงานจากการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเกินความต้องการ “ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน” เป็นสาเหตุสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนอื่นซึ่งล้วนส่งผลกระทบด้านลบต่อคุณภาพชีวิตและความสุขในการใช้ชีวิตของคนไทยในประเทศไทยเองเริ่มเห็นแนวโน้มนี้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน โดยกลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้หญิงไทย ที่มีการสูญเสียปีสุขภาวะจากน้ำหนักเกินและโรคอ้วนมากกว่าผู้ชายเกือบเท่าตัว และที่สำคัญคือ ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้หญิงในปัจจุบัน นอกจากนั้น การสูญเสียปีสุขภาวะจากโรคอ้วนยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะต้องใช้ทรัพยากรดูแลรักษาผู้ที่ป่วยจากโรคอ้วน และยังต้องสูญเสียกำลังแรงงานจากความเจ็บป่วยหรือการตายก่อนวัยอันควรอีกด้วยภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ที่พบในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา ตำบลกำแพง มีอยู่จำนวนมากและมีความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดจากโรคอ้วน ในปี 2559- 2560 พบประชากรในชุมชนเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 43 ราย และโรคความดันโลหิตจำนวน 110 ราย ซึ่งในจำนวนนี้พบผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนรวมอยู่ด้วย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากนิสัยในการรับประทานอาหารขาดการออกกำลังกายถ้ารับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ แต่ได้ออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้อ้วนช้าลง แต่หลายคนที่รับประทานพอดีหรือมากกว่าความต้องการของร่างกายแล้วนั่ง ๆ นอน ๆ โดยไม่ได้ยืดเส้นยืดสายออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมใด ๆ ในไม่ช้าจะเกิดการสะสมเป็นไขมันในร่างกายอายุเมื่อมีอายุมากขึ้นก็มีโอกาสอ้วนง่ายขึ้นทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งอาจเนื่องมาจากการใช้พลังงานน้อยลง และรวมทั้งกรรมพันธุ์ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งสองคนลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 80 ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพและมีความมุ่งมั่นในการลดน้ำหลักและรอบเอว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดอ้วน ลดโรค ในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิค ปั่นจักรจาน และให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. ติดตามผลผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อประเมินสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดค่า BMI และรอบเอวที่เหมาะสม
  • แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโรคอ้วน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดค่า BMI และรอบเอวที่เหมาะสม
80.00
2 2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน สามารถลดค่า BMI และรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้
  • แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน
    ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 มีค่าBMI และรอบเอวลดลง
50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,323.00 4 20,323.00
19 มี.ค. 61 - 20 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 0 0.00 0.00
10 พ.ค. 61 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและแกนนำ อสม. 0 14,648.00 14,648.00
28 พ.ค. 61 - 10 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 3 ขั้นติดตามและประเมินผลทำการติดตามกำกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและผลลัพธ์ต่อสุขภาพ โดย 0 4,675.00 4,675.00
12 ก.ย. 61 - 20 เม.ย. 61 จัดทำรูปเล่มรายงาน 0 1,000.00 1,000.00
  1. ขั้นเตรียมการ
  • เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจาก กองทุนฯ อบต.กำแพง
  • ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/วิทยากรเพื่ออบรมให้ความรู้
  1. ขั้นดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและแกนนำ อสม.

  • วัดค่า BMI และรอบเอว ก่อนเข้าร่วมโครงการ

  • ประเมินก่อนการเข้าร่วมโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้แบบสอบถามความรู้ เรื่องอาหาร ออกกำลังกายและอารมณ์ (3 อ.) และแบบสอบถามการปฎิบัติตนเรื่อง อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์

  • ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน ธงโภชนาการ การเลือกรับประทานอาหารตามโซนสี

  • ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ.

  • สอน/สาธิต การทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพ

  • สอน/แนะนำการใช้สมุดคู่มือบันทึกสุขภาพและพฤติกรรมเพื่อติดตามตนเอง

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

  • รณรงค์การออกกำลังกายตามความสมัครใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค เป็นต้น

  • ออกกำลังกายในช่วงเวลา 17.00 – 18.00 น. เป็นประจำทุกวัน

  • กรณีผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่ผ่านการประเมิน ผู้ดูแลระบบมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมในแต่ละราย และกรณีที่ได้ดำเนินการขั้นต้นแล้วยังไม่ผ่านการประเมิน ผู้ดูแลส่งพบผู้เชี่ยวชาญต่อไป

กิจกรรมที่ 3 ขั้นติดตามและประเมินผลทำการติดตามกำกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและผลลัพธ์ต่อสุขภาพ โดย

  • ประชุมถอดบทเรียนของผู้เข้าร่วมโครงการ เสนอแนวคิด ผลลัพธ์หลากหลายด้านของรายบุคคลและกิจกรรม เป็นต้น

  • ติดตาม/ประเมินผลลัพธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ1 เดือน/ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง

  • ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามการปฎิบัติตนและสอบถามทัศนคติเรื่อง อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์หลังเข้าร่วมโครงการ

  • ติดตามอัตราโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนของประชาชนในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดค่า BMI และรอบเอวที่เหมาะสม
  2. แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนสามารถลดค่า BMI และรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2561 13:04 น.