กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค
รหัสโครงการ 61-L8406-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนโดน
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 34,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอหมาด บาหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์ กะเส็มสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.814,100.06place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่นกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากผลการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน ปี 2561กลุ่มเป้าหมายการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 2,648 คน กลุ่มเป้าหมายการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 3,260 คน พบว่าผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง2,129 คนร้อยละ80.40พบกลุ่มเสี่ยง 988 คนร้อยละ 46.40ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน 2,217 คน ร้อยละ68.00พบกลุ่มเสี่ยง 286 คนร้อยละ 12.90 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคขึ้นโดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองและสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง หลังการอบรม มากกว่า ร้อยละ 80 

0.00
2 2.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนได้

-ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ในกลุ่มเป้าหมายเข้าที่ร่วมโครงการ

0.00
3 3. เพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงสูงป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนของกองทุนสุขภาพตำบลควนโดน

มีเครือข่ายโรคไม่ติดต่อ จำนวน 1 เครือข่าย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,800.00 0 0.00
18 เม.ย. 61 1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน 0 12,400.00 -
18 เม.ย. 61 2. จัดกิจกรรมฝึกกระบวนการเชิงเรียนรู้และปฏิบัติการ ทักษะ ความรู้สู่การปฏิบัติ โดยจัดเป็นฐานการเรียนรู้ จำนวน 4 รุ่นๆละ 50 คน 0 22,400.00 -
18 เม.ย. 61 3. กิจกรรมประเมินติดตามในชุมชนและสรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน 0 0.00 -

ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินกิจกรรมในโครงการ แก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและเครือข่าย 2.เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
3.ประสานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ ฯ และติดต่อวิทยากร 4.จัดเตรียมเอกสารสำรวจกลุ่มเป้าหมายเพื่อจัดทำทะเบียนและเชิญเข้าร่วมกิจกรรม ขั้นดำเนินการ 5. พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน 6. จัดกิจกรรมฝึกกระบวนการเชิงเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ ทักษะ ความรู้สู่การปฏิบัติ 7. สาธิต ตามฐานการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริง 8. ติดตามประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน
  3. เกิดนวัตกรรมสุขภาพในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2561 11:40 น.