กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน
รหัสโครงการ 61-L7258- 1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลหาดใหญ่
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชญานภัสจิตตรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“สุขภาพจิต” เป็นผลรวมของปัจจัยมากมายในชีวิตคนเรา ไม่ว่าจะเป็นสภาพความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ วิธีการจัดการอารมณ์ คุณธรรมความดีภายในใจ รวมไปถึงสภาพความเป็นชุมชนและความเกื้อกูลกันในสังคม การดูแลสุขภาพจิตและการเสริมสร้างความเข็มแข็งในกับจิตใจ(นายแพทย์ชาตรี บานชื่น, 2553) “สุขภาพจิต” คือ ความสามารถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมมีสัมพันธภาพที่ดีงามกับบุคคลอื่น และดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งความสามารถของบุคคลในโลกที่เปลี่ยนแปลงโดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ ดังนั้นคำว่าสุขภาพจิตไม่ได้หมายถึงแต่ความปราศจากอาการของโรคประสาทและโรคจิตเท่านั้น(องค์การอนามัยโลก, 2558) การมีสุขภาพจิตที่ดี จึงเป็นสภาวะที่บุคคลสามารถควบคุมสภาวะทางจิตใจ อารมณ์ และความคิดให้ปรับตัวเข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมดำเนินชีวิตตามบทบาทหน้าที่ของตนในสังคมได้อย่างมีความสุข หากบุคคลมีปัญหาสุขภาพจิต จะส่งผลให้บุคคลนั้นมีอุปสรรคสำคัญในการดำเนินชีวิตในสังคมให้มีความสุข ปัญหาทางสุขภาพจิตเหล่านี้จะแสดงอาการเจ็บป่วยทั้งทางจิตใจ ทางร่างกาย และอาการทางพฤติกรรม
อาการเจ็บป่วยทางจิตใจ เช่น การแสดงออกทางความรู้สึก ความคิด อารมณ์ ความจำ สมาธิที่ไม่เหมาะสม, โรคซึมเศร้า(Depression), โรคจิตเภท(Schizophrenia) โรควิตกกังวล(Anxiety), และโรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด (Substance Induced Mental Illness) เป็นต้น อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น ความกังวลทำให้ระบบหัวใจผิดปกติ มีอาการใจสั่น ใจเต้น แสดงอาการหอบ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ความกังวลทำให้รับประทานอาหารไม่ได้หรือรับประทานอาหารมากเกินไป นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ เป็นลม ชักเกร็ง ปวดข้อ ปวดหลัง เป็นต้น อาการทางพฤติกรรม มีการแสดงออกแตกต่างจากปกติหรือลักษณะทางสังคมไม่ยอมรับ เช่น ก้าวร้าว ทำลายทรัพย์สิน ทำร้ายผู้อื่น แยกตัว ติดยาเสพติด ประพฤติผิดทางเพศ เจ้าระเบียบเกินไป ย้ำคิด ย้ำทำ พึ่งพาผู้อื่น แต่งกายไม่เหมาะสมกับเพศและวัย ลักขโมย พูดปด เป็นต้น ผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิตที่ควรให้ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปัญหาการการฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเอง พบว่า ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตมักมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายสูง ซึ่งสำหรับสถานการณ์การฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเองในประเทศไทย พบว่า คนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 4,000 รายต่อปี หรือมากกว่า 300 รายต่อเดือน อัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 6 รายต่อประชากร 1 แสนคน เพศชายฆ่าตัวตายสำเร็จร้อยละ 77, เพศหญิงฆ่าตัวตายสำเร็จร้อยละ 23 มีอายุระหว่าง 30-50 ปี, ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน, ร้อยละ 23 เคยทำร้ายตนเองมาก่อน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ประเทศไทยจัดอยู่อันดับที่ 57 ของโลก(กรมสุขภาพจิต, 2560) สำหรับสถิติการฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเองในประเทศไทยจากฐานข้อมูลการฆ่าตัวตายของคนไทย โดยโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น ราชนครินทร์ พบว่า ในปี 2558 คนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ยเดือนละ 350 คน หรือทุก ๆ 2 ชั่วโมง และมีแนวโน้มสูงขึ้น (นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์, 2560) ในปี 2560 พบว่าในอำเภอหาดใหญ่มีผู้พยายามฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเองจำนวน 240 รายเฉลี่ยเดือนละ 20 ราย การดูแลสุขภาพจิตจึงกลายเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ ต้องมีการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการแก้ปัญหาชีวิตแก่ประชาชน การเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเครียด
ดังนั้น กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลหาดใหญ่ จึงจัดโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ และบุคคลที่สนใจเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์เป็นแนวทางในการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ ร่วมกันเฝ้าระวัง ส่งเสริม และป้องกัน สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต และลดอัตราการฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเองในอำเภอหาดใหญ่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเอง 2. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบดูแลสุขภาพร่วมกัน เกิดระบบสุขภาพชุมชนขึ้นในพื้นที่อย่างเหมาะสม 3. เพื่อสร้างเครือข่ายระดับชุมชนในการเฝ้าระวัง ดูแล และช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่ปัญหาสุขภาพจิต
  1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีคะแนนทดสอบหลังเข้ารับการอบรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  2. ร้อยละ 80 ของผู้ที่เข้าร่วมการอบรมสามารถใช้แบบประเมินคัดกรอง  ค้นหา ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างถูกต้อง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 935.00 4 33,065.00
22 มิ.ย. 61 กิจกรรมประชุมเตรียมงานโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน” 0 450.00 450.00
29 มิ.ย. 61 - 18 ก.ค. 61 กิจกรรมสื่อสารและประชาสัมพันธ์ 0 1.00 1,605.00
9 ก.ค. 61 กิจกรรมประชุมเตรียมงานโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน” 0 450.00 450.00
18 ก.ค. 61 กิจกรรมการฝึก “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน” 0 34.00 30,560.00
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนดำเนินการ กำหนดวันเวลา สถานที่ประชุม
  2. ประชาสัมพันธ์/ประสานงานกับเครือข่าย
  3. ติดต่อและเชิญวิทยากร
  4. ดำเนินรูปแบบการจัดกิจกรรม
  5. บรรยาย และฝึกปฏิบัติ
  6. ประเมินผลการประชุมจากจำนวนบุคลากรที่เข้ารับการประชุม
  7. ประเมินผลการประชุมจากคะแนนการทดสอบก่อน-หลังของบุคลากรที่เข้ารับการประชุม และแบบประเมินความพึงพอใจ
  8. สรุปผลกิจกรรมและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเอง
  2. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบดูแลสุขภาพร่วมกัน เกิดระบบสุขภาพชุมชนขึ้นในพื้นที่อย่างเหมาะสม
  3. เกิดการสร้างเครือข่ายระดับชุมชนในการเฝ้าระวัง ดูแล และช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่ปัญหาสุขภาพจิต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2561 14:00 น.