กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนักจัดการสุขภาพประจำครอบครัวดูแลถ้วนทั่วสุขภาพดีประจำปี ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 61-L8406-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ต.ควนโดน จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายก็หลัด บินหมาน
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์ กะเส็มสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.814,100.06place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนโดนมีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคและ การส่งเสริม ให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็น อย่างเสมอภาคเป็นธรรมนั้น การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญคือ การพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)และแกนนำสาธารณสุขสุขประจำครอบครัว (กสค.)ให้มีหมอประจำครอบครัว เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีญาติเป็นหมอและสามารถพึ่งพาได้ทุกเมื่อและเมื่อเกิดภาวะวิกฤติ สามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องซึ่งในปัจจุบันการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของคนในชุมชนลดลง ขาดองค์ความรู้ ทักษะ ที่ถูกต้องในการช่วยเหลือเบื้องต้น จึงได้พัฒนานักสุขภาพครอบครัวเป็นหมอประจำครอบครัวเพื่อเข้าไปดูแลและจัดการให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน รายครัวเรือนให้กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มเด็กและสตรีกลุ่มเด็ก 0-5 ปีกลุ่มวัยเรียนกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงานกลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส และ กลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งการสรุปวิเคราะห์ข้อมูล แก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งสร้างแกนนำประจำครอบครัว เพื่อให้มีความรู้ด้านสุขภาพที่จำเป็นแก่ครัวเรือนสามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพการป้องกันโรคและคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพในชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม จึงมีความจำเป็นที่จะพัฒนาแกนนำสาธารณสุขประจำครอบครัว(กสค.) และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม.)เพื่อเป็น “หมอประจำครอบครัว” ที่จะร่วมกันพัฒนาระบบการออกเยี่ยมบ้านทุกครัวเรือน ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งสร้างระบบฐานข้อมูล รายครัวเรือน ของหมู่บ้านให้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้ โดยสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด ด้วยกระบวนการ คืนข้อมูลชุมชนตลอดจน ร่วมสรุป วิเคราะห์ปัญหาและจัดทำแผนแก้ไขปัญหาโดยสร้างให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทุกกลุ่มองค์กร ที่มีในหมู่บ้าน โดยคาดหวังว่าระบบสุขภาพชุมชน จะมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลประชาชนให้บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มเครือข่ายนักสุขภาพประจำครอบครัวในการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย

-ประชาชนตามกลุ่มวัยได้รับการติดตามเยี่ยม ร้อยละ 80 

0.00
2 2 เพื่อให้มีประจำครอบครัวครอบคลุมทุกครัวเรือน

-ทุกหลังคาเรือนมีหมอประจำครอบครัว ร้อยละ ๑๐๐

0.00
3 3 กสค.และ อสม. มีศักยภาพ ทักษะ การดูแลสุขภาพและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

-กสค.และ อสม. มีศักยภาพ ทักษะ การดูแลสุขภาพและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,000.00 0 0.00
18 เม.ย. 61 1. จัดพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัยที่เป็นปัญหาเพื่อการติดตาม จำนวน 1 วัน รุ่นละ ๕๐ คน จำนวน ๒ รุ่น (๑๐๐ คน) 0 12,200.00 -
18 เม.ย. 61 2. เสริม สร้างทักษะแกนนำสาธารณสุขประจำครอบครัว (กสค.) ในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเบื้องต้นในครอบครัวและ หลักสูตร การช่วยชีวิตเบื้องต้น จำนวน ๒ วัน รุ่นละ ๖๐ คน จำนวน ๒ รุ่น (๑๒๐ คน) 0 27,800.00 -
  1. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมายและจัดทะเบียนทีมเครือข่ายหมอประจำครอบครัว 2.วิเคราะห์ สำรวจสถานการณ์สุขภาพตามกลุ่มวัยและคืนข้อมูลสู่ชุมชน ๓.ประสานกลุ่มเป้าหมาย สถานที่ วิทยากร ในการจัดเตรียมกิจกรรม ๔.จัดพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัยที่เป็นปัญหาเพื่อการติดตาม จำนวน1 วัน รุ่นละ ๕๐ คน จำนวน ๒ รุ่น ๕. เสริม สร้างทักษะแกนนำสาธารณสุขประจำครอบครัว (กสค.) ในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเบื้องต้นในครอบครัวและ หลักสูตร การช่วยชีวิตเบื้องต้นจำนวน ๒ วันรุ่นละ ๖๐ คน จำนวน ๓ รุ่น
    -การ CPR -การใช้เครื่อง AED ประชาชนทั่วไป -การดูแลโรคเบื้องต้น -การใช้ยาที่เหมาะสม -การคุ้มครองผู้บริโภค -การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ๖.จัดกิจกรรม จัดกลุ่ม แบ่งโซนการดูแลในชุมชน ๗. จัดทำแผนติดตามเยี่ยมกลุ่มเด็กและสตรีกลุ่มเด็ก 0-5 ปีกลุ่มวัยเรียนกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงานกลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส และ กลุ่มผู้สูงอายุ ๘. ออกติดตามเยี่ยมกลุ่มเด็กและสตรีกลุ่มเด็ก 0-5 ปีกลุ่มวัยเรียนกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงานกลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส และ กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนตามโซน ๙.สรุป ประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทุกครัวเรือนมีหมอประจำครอบครัว ๒.กสค.และ อสม.ร่วมกันทำงานเป็นทีมสุขภาพ ในการดูแลสุขภาพคนในชุมชน ๓.ทีมหมอประจำครอบครัวสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ๔.กสค.และ อสม. มีศักยภาพ ทักษะ การดูแลสุขภาพและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง ๕.ชุมชนทราบสถานะสุขภาพของตนเองและมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาของชุมชนและ ทุกกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นได้อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2561 15:51 น.