กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาต้นแบบร้านชำ"ร้านนี้ปลอดภัย ห่วงใยผู้บริโภค" ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L1527-05-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาขาว
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.811,99.618place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอางค์ ยา ของใช้ต่างๆซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยา ผสมสารเตียร์รอย ดครื่องสำอางค์ มีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื่อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรือ อันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคโดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทะิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง ในการนี้ ชมรม อสม.ตำบลเขาขาว ได้เห็นว่าการพัฒนายกระดับร้านขายของชำในหมู๋บ้านจะช่วยส่งเสริมใหเประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต้่อความเจ็บปวดลดน้อยลงไปได้ จึงได้จำทำโครงการร้านชำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐษน

1.ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและใช้สินค้าที่มีความปลอดภัย

0.00
2 เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและใช้สินค้าที่มีความปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย

ผู้บริโภคมีพื้นฐานและทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและใช้สินค้าปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย มีภูิมคุ้มกันมีความเข้มแข็ง

0.00
3 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้บริโภคให้มึความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในพื้นที่

ในการเฝ้าระวังป้องกันผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในพื้นที่ ร้านขายของชำในหมู่บ้านให้มีการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพส่งผลให้ผู้บริโภคในพื้นที่ใช้สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในพื้นที่

0.00
4 เพื่อยกระดับร้านขายของชำในหมู่บ้านให้มีการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ

ผู้บริโภคในพื้นที่ใช้สินค้าอุปโภคที่มีคุณภาพ มาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในพื้นที่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 - 31 พ.ค. 61 1.สำรวจข้อมูลร้านค้า ผลิตภัณฑ์สุขภาพและจัดทำทะเบียนข้อมูลพื้นฐานร้านชำในพื้นที่ 2.อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ ผู้ประกอบการและผู้บริโภคในพื้นที่ 0 20,000.00 -

1.รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพผู้บริโภค 2.คัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค 3.สำรวจข้อมูลร้านค้า ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และจัดทำทะเบียนข้อมูลพื้นฐานร้านขายของชำในพื้นที่ 4.อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในเรื่องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ ผู้ประกอบการและผู้บริโภคในพื้นที่ 5.สาธิตและฝึกปฏิบัติการทดสอบสารอันตรายในเครื่องสำอางค์ สานปนเปื้อนในิอาหาร น้ำมันทอดซ้ำ การอ่านฉลากผลิตภัณฑ์สินค้า 6.ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานเดือนละ 1 ครั้ง 7.จัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ในการป้องกันและเฝ้าระวังสินค้าที่ไม่มีคุณภาพและอันตรายในพื้นที่ 8.จัดทำฝ้ายและแผ่นพับ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ให้ความรู้อย่างทั่วถึง ในสถานศึกษา ชุมชน ร้านขายของชำ ตลาดสด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9.เฝ้าระวังป้องกันผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ ครัวเรือน ชุมชน ร้านขายของชำ อย่างต่อเนื่อง 10.รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้บริโภคในพื้นที่ให้ความรู็และทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและใช้สินค้าที่มีความปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย มีภูมิคุ้มกันมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในพื้นที่ร้านขายของชำในหมู่บ้านให้มีการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพส่งผลให้ผู้บริโภคในพื้นที่ใช้สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพมาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2561 13:39 น.