กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ออกกำลังกาย ห่างไกลโรค หมู่ที่ 2
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งหมอ หมู่ที่ 2
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 31,330.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุคนธ์ ณรงค์กูล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.745,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประชากรได้รับการตอบสนองความต้องการ แต่ปัญหาด้านสุขภาพปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ากลุ่มโรคเรื้อรังที่มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี และพบตัวเลขการเกิดโรคที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการกินอาหารอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจเป็นเพราะการดำเนินชีวิตของผู้คนต่างได้เปลี่ยนแปลง เช่น การออกกำลังกายลดลง และสัดส่วนของอาหารที่รับประทานเปลี่ยนทำให้ส่งผลต่อโรคเรื้อรังตามมาซึ่งเป็นแล้วจะเห็นได้ว่าหายยากถึงแม่จะรักษาอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นโรคที่ต้องระวังเรื่องอาหารการกินซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา จากสถานการณ์ของประชาชนในพื้นที่ ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พบว่าร้อยละ ๗๐ ของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ ๖๐ ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดัน ( ข้อมูลจาก รพ.สต.คลองรำเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐ สาเหตุที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง เช่นการกินอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม เมื่อกินเข้าไปแล้วก็ขาดการออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกวิธีเมื่อป่วยเป็นโรคเรื้อรังแล้วเราต้องรู้ถึงวิธีการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ดังนั้น ในการดำเนินโครงการจากการตรวจคัดกรองผู้ที่เป็นผู้ป่วยเรื้อรังนั้นมีเป้าหมายสำคัญ คือ สร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนในการดูแลสุขภาพระยะยาวและเพื่อเป็นการลดจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังและการเกิดโรคร้ายที่จำตามมาตลอดจนการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ทาง อสม.หมู่ที่ ๒ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันเรื่องสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชนจึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและให้ความรู้ผู้ป่วยเรื้อรัง” และเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข ในการใช้จ่ายงบประมาณของกระทรวงในเรื่องสุขภาพเป็นสำคัญและเพื่อให้ผู้ป่วยในหมู่บ้านได้รับการดูแลและรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธีและหายขาดมีสุขภาพกายแข็งแรงและสุขภาพจิตที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 1,534.00 5 31,330.00
1 - 30 พ.ค. 61 จัดอบรมให้ความรู้คณะทำงาน 0 630.00 630.00
1 - 29 มิ.ย. 61 จัดอบรมให้กับกลุ่มเป้าหมาย 0 14.00 14,025.00
1 มิ.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 จัดบริการสุขภาพ 0 5.00 5,000.00
1 มิ.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 ส่งเสริมการออกกำลังกาย 0 10.00 10,800.00
31 ส.ค. 61 ประเมินผล 0 875.00 875.00

๑. ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังและควบคุมการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน โดยเชิญผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ( รพ.สต.)แกนนำชุมชน ตัวแทนผู้สูงอายุ จำนวน ๑๘ คน ๒. เก็บข้อมูลและคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๓๐ คน ที่มีอายุระหว่าง ๓๕ คนปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยเสี่ยง และกลุ่มที่เป็นผู้ป่วยเรื้อรัง จัดบริการตรวจสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย (ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน ฯลฯ) พร้อมจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพ โดยจะทำทุกเดือนในวันประชุม
๓. จัดอบรมให้ความรู้เรื่อง ๓อ. ๒ส. และแนวทางการป้องกันโรคเรื้อรัง (ความดัน เบาหวาน) และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ให้กับประชาชนในชุมชนและกลุ่มเป้าหมายในโครงการ จำนวน ๓๐ คน โดยวิทยากรจาก รพ.สต.ศรีประชาเขต พร้อมทั้งสาธิตการออกกำลังกาย ๔.จัดพื้นที่ออกกำลังกายประเภทตาราง ๙ ช่อง และรำไม้พลอง และมีการนำออกกำลังกายสัปดาห์ละ ๓ วัน๑ ชั่วโมง เป็นจำนวน ๓ เดือน ณ ที่ทำการศาลาประจำหมู่บ้าน ๕. จัดตั้งกลุ่มผักปลอดสารพิษครัวเรือนต้นแบบในการปลูกผักกินเอง จำนวน ๑๐ ครัวเรือน โดยมีการปลูกอย่างน้อย ๓ ชนิด
๖. ติดตามประเมินผลกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ตามสมุดสุขภาพจำนวน ๒ ครั้งต่อเดือน และครัวเรือนต้นแบบในการปลูกผักกินเอง ๗. สรุปผลการดำเนินงานโครงการโดยเชิญผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ อสม. แกนนำชุมชน ผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (รพ.สต.) และคนในชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๓๐ คน โดยการคืนข้อมูลว่า หลังจากที่กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๓๐ คน เข้ามาร่วมโครงการ มีผู้ป่วยเรื้อรังที่มีสุขภาพดีขึ้น จำนวน....คน (ดูจากบันทึกสมุดสุขภาพ) และการคัดกรองสุขภาพ เช่น วัดรอบเอว ชั่งน้ำหนัก ฯลฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูลและจัดทำแผนงานในการดำเนินงานในระยะต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ทั้งความรู้เรื่องโรคการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น
    1. เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ให้ได้มาตรฐานตามตัวชี้วัด
  2. ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตระหนักเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง หลังได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบครบวงจร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2561 15:56 น.