กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดเสี่ยงเลี่ยงไตวาย
รหัสโครงการ 61-L3068-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 21,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวคัสรีนา ดุลย์ธารา
พี่เลี้ยงโครงการ นางพรพิไล ประแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.858,101.158place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 ก.ค. 2561 10 ก.ค. 2561 21,200.00
รวมงบประมาณ 21,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 38 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) อุบัติการณ์โรคไตเรื้อรัง และโรคไตวายระยะสุดท้ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาต่อเนื่องมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมากเมื่อเข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งจำเป็นต้องรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย๒๕๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี หรือการล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ๒๐๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปีหรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตซึ่งขาดแคลนไต จากรายงานของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย (ปี ๒๕59) พบผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายร้อยละ ๖๒.๕ ต่อประชากร ๑ ล้านคนต่อปี(๓,๙๙๘ราย) ตำบลบางตาวามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 166 คน ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน18 คน และผู้ป่วยที่เป็นทั้งความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 74 คน พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 36 ราย โดยมีผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายจำนวน 2 คน นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จะส่งผลต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) เป็นสาเหตุการป่วย พิการและเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลกและประเทศไทย ส่งผลให้เกิดภาระและสูญเสียในทุกมิติทั้งกาย จิต สังคม เศรษฐกิจต่อทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติ โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักที่สำคัญต่อการเกิดโรคดังนี้ ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วน และผลการตรวจ พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังตำบลบางตาวาปีงบประมาณ 2560 มีผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไตวายเรื้อรังจำนวน 62 คน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวาได้ตระหนักถึงความสำคัญ เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง เกิดอุบัติการณ์ พิการ และเสียชีวิตเกิดขึ้นในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในตำบลบางตาวา

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายลดลง

0.00
2 2.เพื่อให้เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแลและป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรัง

เกิดความมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง

กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21.00 1 21,200.00
5 ก.ค. 61 1. จัดประชุมชี้แจงเรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ให้แก่กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคไต อสม. ผู้นำชุมชน 2. จัดมุมทำบอร์ดคืนข้อมูล ให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง3.เยี่ยมติดตามผู้ป่วยซ้ำทุก 3 เดือน 4.ตรวจคัดกรองภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเรื้ 0 21.00 21,200.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางตาวา
  2. ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินการจัดอบรมแก่ คณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา เพื่อประสานงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อบต. ผู้นำชุมชน อสม.และประชาชนในชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  3. จัดเตรียมกำลังคนและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์พร้อมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยใช้หอกระจายข่าว และเสียงตามสายในหมู่บ้าน
  5. จัดให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ให้แก่กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคไต อสม. ผู้นำชุมชน
  6. ตรวจคัดกรองภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยง
  7. จัดมุมทำบอร์ดคืนข้อมูล ให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง
  8. เยี่ยมติดตามผู้ป่วยซ้ำทุก 3 เดือน
  9. สรุป วิเคราะห์ ผลการดำเนินงาน และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานเพื่อประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในตำบลบางตาวาลดลง
  2. เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแลและป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรัง
  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2561 09:32 น.