กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์กำจัดยุงลายด้วยมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค
รหัสโครงการ 60-L1490-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลโคกหล่อ
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 มกราคม 2560 - 28 กุมภาพันธ์ 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลโคกหล่อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

....................หากจะพูดถึงโรคที่มียุงเป็นพาหะ หลายคนคงนึกถึงโรคไข้เลือดออกขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ แต่ปัจจุบันมีโรคอื่นๆ อีกมากที่เมื่อก่อนแทบไม่เคยได้ยินชื่อ แต่กลับก่อให้เกิดการระบาดในหลายประเทศ ไวรัสซิกา (Zika) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด ไวรัสที่ใครๆ ต้องถามชื่อซ้ำอีกครั้งชนิดนี้แทบจะไม่เคยมีบทบาทในประเทศไทย แต่กลับเป็นเชื้อที่ทั่วโลกกำลังเฝ้าระวัง ไวรัสชนิดนี้กำลังระบาดอย่างหนักในแถบประเทศอเมริกาใต้ รวมถึงหมู่เกาะแปซิฟิกและ Cape Verde ในแอฟริกา จากรายงานขององค์การอนามัยโรคภูมิภาคอเมริกา (Pan Americans Health Organization; PAHO) พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้ซิกาแล้วใน 20 ประเทศ ดังนี้ บาร์เบโดส โบลิเวีย บราซิล โคลอมเบีย เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ เฟรนซ์เกียนา กัวเดอลุป กัวเตมาลา กายอานา เฮติ ฮอนดูรัส เกาะมาร์ตีนิก เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย เปอร์โตริโก ซูรินาเม เกาะเซนต์มาร์ติน และเวเนซูเอลา

...................ไวรัสซิกาจัดเป็นไวรัสที่มีรหัสพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ (RNA) สายเดี่ยว อยู่ในตระกูล Flavivirus เช่นเดียวกับไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) ที่ก่อให้เกิดไข้เลือดออก และไวรัส Japanese encephalitis ที่ก่อโรคไข้สมองอักเสบ ส่วนชื่อซิกา (Zika) เป็นชื่อป่าในประเทศยูกันดาซึ่งเป็นสถานที่แรกที่แยกเชื้อได้จากลิง Rhesus ที่ทำมาศึกษาในปีพ.ศ. 2490 การระบาดของไวรัสชนิดนี้มียุง Aedes aegypti เป็นพาหะ ซึ่งเป็นยุงลายบ้านในประเทศเขตร้อนและเป็นยุงที่เป็นพาหะของไวรัสไข้เลือดออกด้วย สำหรับประเทศไทยมีรายงานว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อโรคไวรัสซิกกาในปี 2559ซึ่งแสดงอาการภายหลังได้รับเชื้อนี้ 4-7 วัน อาการแสดงทั่วไป ได้แก่ ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ปวดข้อ ซึ่งมักมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะหายเองได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ ไม่มีความจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ในหญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากการติดเชื้อนี้อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ทำให้มีความเสี่ยงต่อการพิการแต่กำเนิด มีขนาดศีรษะที่เล็กผิดปกติ (microcephaly) หรือเสียชีวิตได้ การที่อาการแสดงเบื้องต้นของไข้ซิกาถึงแม้จะความรุนแรงน้อยกว่า แต่ก็มีความคล้ายคลึงกับไข้เลือดออก อีกทั้งยังมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเดียวกัน ทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้ จึงต้องมีการให้นิยามเพื่อความชัดเจน โดยผู้ป่วยสงสัย หมายถึงผู้ป่วยที่มีไข้และมีอาการอย่างน้อย 2 ใน 3 อาการ ดังนี้ 1) ออกผื่น 2) ปวดข้อ และ 3) ตาแดง และผลการตรวจไวรัสเดงกี ไวรัสชิคุนกุนยาโดยวิธี PCR และไวรัสหัด ไวรัสหัดเยอรมัน โดยวิธี ELISA IgM ให้ผลลบ และผู้ป่วยยืนยัน หมายถึงผู้ป่วยสงสัย และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันพบเชื้อไวรัสซิกาในเลือด หรือตรวจพบภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อไวรัสซิกา อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนเฉพาะสำหรับป้องกันโรคดังกล่าว จึงมีคำแนะนำให้เลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยง และดูแลจัดการไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในที่พักอาศัย ยุงชนิดนี้เป็นยุงหากินกลางวันจึงต้องระวังการถูกกัด ระวังการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นจากการถูกยุงกัดในช่วงที่ติดเชื้อด้วย

...................ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนได้มีความตื่นตัวในการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกหล่อจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์กำจัดยุงลายด้วยมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค(โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคไวรัสซิกา )ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. รณรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายจากโรคที่เกิดจากยุงลาย

 

2 2. เพื่อลดการเกิด และการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายในหมู่บ้าน 3. เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกโรคไข้ปวดข้อยุงลายและโรคไวรัสซิกกา ไม่เกิน 50 / แสนประชากร

1.มีผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ไม่เกินอัตรา 50 แสนประชากร

2.เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน หน่วยงานราชการ และองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอขออนุมัติโครงการ

  2. ประชุมชี้แจงเสนอโครงการฯ

  3. ประสานงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง

  4. ดำเนินงานตามโครงการโดย

4.1จัดกิจกรรมการรณรงค์กำจัดโรคที่เกิดจากยุงลาย ด้วยมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค พร้อมกันทุกหมู่บ้านและทุกครัวเรือนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบ้านและบริเวณ บ้านทุกวันศุกร์

4.2 ติดป้ายรณรงค์กำจัดโรคที่เกิดจากยุงลายด้วยมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค

4.3รถประชาสัมพันธ์รณรงค์กำจัดโรคที่เกิดจากยุงลาย ด้วยมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายของประชาชนและเด็กนักเรียนในเขตเทศบาลตำบลโคกหล่อ

2.ประชาชนตลอดจนหน่วยงานเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคที่เกิดจากยุงลาย

3.เพื่อรณรณรงค์ให้ผู้นำชุมชน / ประชาชน/ นักเรียนมีความรู้ตลอดจนตระหนักถึงภัยที่เกิดจากยุงลายรวมทั้งมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขโรคที่เกิดจากยุงลาย

4.เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกโรคไข้ปวดข้อยุงลายและโรคไวรัสซิกกา ไม่เกิน 50 / แสนประชากร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2560 15:13 น.