กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเสริมสร้างเครือข่ายในการค้นหา ติดตาม ดูแล ควบคุมกำกับการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ภายใต้กลวิธี DOTS ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีปีงบประมาณ 2561

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างเครือข่ายในการค้นหา ติดตาม ดูแล ควบคุมกำกับการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ภายใต้กลวิธี DOTS ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L3011-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,460.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.853,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 53 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกได้จัดกลุ่มประเทศที่มีภาระวัณโรคสูง (High Burden Country Lists) เป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่๑) มีภาระโรควัณโรคสูง (TB) ๒) มีภาระวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีสูง (TB/HIV) และ ๓)มีวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง (MDR-TB) ซึ่งประเทศไทยเป็น ๑ ใน ๑๔ ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรคสูงทั้ง ๓ กลุ่มดังกล่าวมา ดังนั้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (The End TB Strategy) โดยมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรค (Incidence) ให้ต่ำกว่า ๑๐ ต่อแสนประชาการโลกภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๘ (๒๐๓๕) ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ ราย หรือคิดเป็น ๑๗๑ ต่อประชากรแสนคน (WHO,Global TB Report ๒๐๑๕) แต่จากระบบรายงานผลการดำเนินงานวัณโรคปีงบประมาณ ๒๕๕๗ มีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษา ๖๗,๗๘๙ รายคิดเป็นอัตราการตรวจพบ (Detection rate) เพียงร้อยละ ๕๙ และในปีงบประมาณ ๒๕๕๘มีรายงานผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษา ๖๒,๑๕๔ รายคิดเป็นอัตราการตรวจพบ (Detection rate) เพียงร้อยละ ๕๕.๓ สาเหตุของอัตราการตรวจพบที่ต่ำนี้อธิบายได้ดังแสดงในโมเดลนอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้น โดยในปี ๒๕๕๗ มีรายงานผู้ป่วยวัณโรคในแรงงานข้ามชาติสูงถึง ๓,๐๙๑ ราย ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่บ่อย เป็นปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมที่มีผลต่อการควบคุมวัณโรคในขณะที่อัตราผลสำเร็จการรักษายังต่ำเพียงร้อยละ ๘๑ สำหรับจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ – ๒๕๖๐ พบอัตราป่วยด้วยโรควัณโรคทุกประเภท คือ ๗๘.๖๒,๖๘.๓๔, ๗๔.๖๕ ,๙๐.๒๙ และ ๘๖.๑๗ ต่อประชากรแสนคน ส่วนอัตราป่วยด้วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อ คือ๕๒.๙๕, ๔๔.๓๒, ๔๘.๙๐,.90, 60.04 และ ๔๔.๘๖ ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค ในปี ๒๕๕๗- ๒๕๖๐ พบว่า อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค (Successrate ) ร้อยละ ๘๔.๒, ๘๒.๕, ๘๑.๕ และ ๗๖.๙๗ ( ไตรมาส ๑/๖๐ เดือนตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๕๙) ตามลำดับ ส่วนอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในระหว่างการรักษา (Deathrate)ร้อยละ ๙.๘๔, ๙.๐๕, ๙.๒๒ และ ๘.๖๓ ( ไตรมาส ๑/๖๐ เดือนตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๕๙)ตามลำดับ อัตราการขาดยา (Defaultrate)คือร้อยละ ๓.๔๙, ๕.๐๕, ๖.๗๘ และ๗.๙๑ ( ไตรมาส ๑/๖๐ เดือนตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๕๙) ตามลำดับ ส่วนในเขตอำเภอเมืองผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคปี ๒๕๕๘-๒๕๖๐อัตรารักษาหายขาด(Success Rate) คือ ร้อยละ ๖๗.๖๑,๗๑.๑๑และ๖๔.๘๐ อัตราการขาดยา(Default rate) คือ ร้อยละ๙.๐๖,๘.๘๙และ๒๔.๘๐ ตามลำดับ และเขตตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคปี๒๕๕๘-๒๕๖๐ อัตรารักษาหายขาด (Success Rate) คือ ร้อยละ 75.00,๘5.71 และ100.00อัตราการขาดยา(Default rate) คือ ร้อยละ 25.๐๐, 1๔.29 และ 0.00 ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าผลการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมวัณโรคที่สำคัญ คือ อัตราความครอบคลุมในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ แม้จะไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ คือ ๗๐ ต่อแสนประชากร แต่อัตราการรักษาหายขาดยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือมากกว่า ร้อยละ ๙๐ และอัตราการขาดยาสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือไม่เกินร้อยละ ๕ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคไม่บรรลุตามเกณฑ์ที่กำหนดเนื่องจากการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคโดยการมีพี่เลี้ยงในการติดตามดูแลกำกับการรับประทานยาของผู้ป่วยวัณโรคยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ประกอบกับผู้ป่วยวัณโรคยังขาดความตระหนักในการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจนหายขาด นั้นก็แสดงว่าการ ดำเนินงานป้องกันควบคุม วัณโรคจะประสบความสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับการมีพี่เลี้ยงเพื่อติดตามควบคุมกำกับการรับประทานยาของผู้ป่วยวัณโรคอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องทุกวัน ในส่วนของผู้ป่วยวัณโรคเองก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจและรับประทานยาครบทุกมื้อตลอด จนระยะเวลาในการรักษา ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการรักษาหายขาดเพิ่มขึ้น อัตราการขาดยาลดลง และที่สำคัญที่สุดคือปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน( MultiDrug Resistance:MDR) ก็จะลดน้อยลงเช่นกันนอกจากนี้ การค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยยังเป็นปัญหาที่จะต้องดำเนินการค้นหา ดังนั้นกลวิธีที่สำคัญที่ต้องจำเป็นนำมาใช้คือ การมีเครือข่ายในการติดตาม ดูแล ควบคุมกำกับการรับประทานยา พร้อมการให้คำแนะนำในเรื่องความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยวัณโรคอย่างต่อเนื่องทุกวันตลอดจนสิ้นสุดการรักษา ตลอดจนการค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วย รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วย COPDและAsthma) งานควบคุมโรค กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปัตตานีจึงได้จัดทำโครงการโครงการเสริมสร้างเครือข่ายในการค้นหา ติดตาม ดูแล ควบคุมกำกับการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ภายใต้กลวิธี DOTS ตำบลตะลุโบะอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ เพื่อเป็นการค้นหา ดูแลติดตาม ควบคุมกำกับการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องทุกวัน จนสิ้นสุดการรักษา โดยจะสงผลทำให้การรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดหายขาดเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะลดการแพร่ระบาดของวัณโรคในพื้นที่ เขตเทศบาลเมืองอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,460.00 0 0.00
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดประชุม/อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคแก่อสม.และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหมู่บ้าน 0 8,460.00 -
22 พ.ค. 61 ค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนในกลุ่มผู้เสี่ยง 0 7,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2561 09:43 น.