กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมคัดแยกขยะในครัวเรือน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประยงค์ แกล้วกล้า
พี่เลี้ยงโครงการ นายสราวุธ พรหมมินทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้นทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจาก ขยะ ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของชุมชนมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน อาทิ เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งเพาะพันธ์ของพาหนะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุง ฯลฯ เป็นแหล่งแพร่กระจ่ายเชื้อโรค มีกลิ่นเหม็น ก่อให้เกิดความรำราญ ทำลายสุนทรียภาพด้านสิ่งแวดล้อม เกิดสภาพไม่น่าดู สกปรกน่ารังเกียจ ขยะทำให้น้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก เกิดกลิ่นรบกวนเป็นแหล่งสะสม เชื้อโรค ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน พระราชบัญญัติการสาธารณสุข ให้ความหมายว่า ขยะมูลฝอย คือ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร มูลสัตว์ เถ้าหรือซากสัตว์ รวมถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นๆ องค์การอนามัยโลก ได้ให้ความหมายแก่ ขยะมูลฝอย ไว้ว่า คือสิ่งของจากบ้านเรือนที่ประชาชนไม่ต้องการแล้ว มีผู้นำไปใช้ประโยชน์จนสุดท้ายไม่มีผู้นำไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว และถูกทิ้งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปกำจัด จัดเก็บ และขนส่ง นั่นหมายความว่า สิ่งของที่เราทิ้งจากที่บ้าน ถ้ายังมีคนนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ สิ่งนั้นก็จะยังไม่ใช่ขยะ จากความหมายดังกล่าวได้รับการตอกย้ำด้วยแนวคิดที่เห็นคุณค่าจากขยะ ดังเช่น พอเพียง =enough ขยะ คือ ทรัพยากร การใช้ทรัพยากรอย่างพอดี เห็นคุณค่า บวกกับการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านกับวัสดุเหลือใช้ที่มีรอบบ้าน เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะ โรงเรียนบ้านทอนเหรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าวจึงจัดทำโครงการ โรงเรียนปลอดขยะ ขึ้นทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์ เพิ่อปลูกจิตสำนึก การลด คัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในโรงเรียน การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง สร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชนใกล้เคียง

 

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

 

0.00
3 3. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาเห็นความสำคัญและสามารถปฏิบัติได้ใน เรื่องการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมจัดทำป้ายนิเทศและเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาตลอดจนผู้ปกครอง และชุมชน
  2. กิจกรรมจัดทำแผ่นผับเผยแพร่ความรู้ และกิจกรรมของโครงการ 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้ปกครอง และชุมชน 4.กิจกรรมแยกขยะในห้องเรียน

- ขยะกระดาษ - ขยะพลาสติก - ขยะทั่วไป 5.กิจกรรมลดขยะอินทรีย์ - นำเศษอาหารมาทำปุ๋ยหมัก 6. กิจกรรมนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ - ผลิตกระดาษรีไซเคิล - ประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ 7. กิจกรรมธนาคารขยะ - กระดาษ - ขวดพลาสติก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนได้รับความรู้จากการศึกษาข้อมูลการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
  2. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นสวยงาม ปลอดขยะ และมีบรรยากาศวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2561 13:49 น.