กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการภาคีเครือข่ายตำบลโคกหล่อร่วมใจ ขจัดโรคไข้เลือดออก ปี 2561
รหัสโครงการ 2561-L1490-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลโคกหล่อ
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 52,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิรินันท์ แก้วเล็ก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะสภาพสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการเกิดโรค โดยมีพาหะของโรค คือ ยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวนขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่ง ใส สะอาด พบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ยางรถยนต์เก่าหรือเศษวัสดุทุกชนิด ที่รองรับน้ำได้ พื้นที่ตำบลโคกหล่อเป็นพื้นที่ที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกได้ตลอดปี เนื่องจากเป็นชุมชนกึ่งเมือง มีการย้ายเข้าออกของประชากรอยู่ตลอดเวลา จากข้อมูล 3 ปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยเป็นไข้เลือดดังนี้ คือ ปี พ.ศ.2557 จำนวน 16 ราย, พ.ศ.2558จำนวน 27 รายและ พ.ศ.2559จำนวน 25 ราย
ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นต้นเหตุของการเกิดยุงลาย คือ ภาชนะทุกชนิดที่ขังน้ำได้ ซึ่งเรียกว่าแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยใช้วิธีเดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์และออกเยี่ยมบ้านสร้างความเข้าใจกับครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้าน ให้ความสำคัญในการร่วมกันสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทั้งในบ้านและนอกบ้านตนเอง ทุกๆ 7 วัน เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยมีตัวบ่งชี้ความสำเร็จ เรียกว่า ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย คือ ค่า CI (

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลาย ด้วยความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่

ลดภาชนะขังน้ำในบ้านและรอบบ้านไม่ให้พบลูกน้ำยุงลายใน(Container Index) ค่า CI <=5หรือบริเวณบ้าน(House Index) ค่า HI <= 5

0.00
2 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง

ผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อกำจัดแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลาย ด้วยความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 - 31 พ.ค. 61 ประชุมชี้แจงคณะทำงานดำเนินงานแต่ละหมู่บ้าน 1,800.00 -
1 พ.ค. 61 - 31 ก.ค. 61 รณรงค์ไข้เลือดออกในแต่ละหมู่บ้าน (12 หมู่บ้าน) 30,000.00 -
2 พ.ค. 61 กิจกรรมสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลาย 30 % ของหลังคาเรือนแต่ละหมู่บ้าน ของคณะทำงาน 2 ครั้ง 13,440.00 -
1 มิ.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 รณรงค์ไข้เลือดออก ระดับตำบล 7,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.ประชุมหารือ แกนนำ อสม.เพื่อแสดงความคิดเห็น 2.จัดประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางทำงานร่วมกันและแต่งตั้งคณะทำงานจากตัวแทนภาคประชาชน (อสม., ผู้นำชุมชน, สมาชิก สท., แกนนำอื่นๆ ที่มีอยู่ใน พท.)ในแต่ละหมู่บ้าน 3.จัดกิจกรรมรณรงค์ ออกเยี่ยมเคาะประตูบ้าน / จัดประชุมกลุ่มย่อยในแต่ละหมู่บ้าน ให้ประชาชนมีความรู้
เรื่อง พาหะนำโรคการติดต่ออาการของโรคการรักษา การควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้องและส่งเสริม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในครัวเรือนของตนเองและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เอื้อต่อการ เกิดพาหะนำโรคไข้เลือดออก
4.จัดกิจกรรมรณรงค์ไข้เลือดออก ภาพรวมของตำบล
5.คณะทำงานแต่ละหมู่บ้าน ออกเยี่ยมบ้านสุ่มตรวจประเมินดัชนีลูกน้ำยุงลาย(ค่า CI, ค่า HI) พร้อมให้คำแนะนำ เพิ่มเติมแก่ครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลาย 6.สรุปผลการออกเยี่ยมบ้านสุ่มตรวจประเมินดัชนีลูกน้ำยุงลายและประกาศผล 7.มอบประกาศนียบัตร พร้อมโล่แก่หมู่บ้านที่พบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย(ค่า CIค่า HI) น้อย 3 ลำดับแรก 8.สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในพื้นที่ไม่ป่วยเป็นไข้เลือดออก 2.ทุกครัวเรือนได้รับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและไม่มีลูกน้ำยุงลาย(ค่า HI < 5 , ค่า CI< 5)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2561 09:28 น.