กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตูลศานติศึกษาสุขภาพดีถ้วนหน้าด้วยสมุนไพรไทย
รหัสโครงการ 60-L8010-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนสตูลศานติศึกษา
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 47,225.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนสตูลศานติศึกษา
พี่เลี้ยงโครงการ สิบเอกสุทิน หมูดเอียด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญงอกงามของพืชนานาชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพรมีอยู่ มากมายเป็นแสนๆ ชนิด ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูก บางชนิดก็ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาแผนปัจจุบัน สมุนไพรหลายชนิดถูกนำมาใช้ในรูปของยากลางบ้าน ยาแผนโบราณ ปัจจุบันคนไทยไม่เพียงแต่ใช้พืชสมุนไพรเป็นยารักษาโรคเท่านั้น แต่ได้นำมาดัดแปลงเพื่อบริโภคในรูปของอาหารและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย
รวมทั้งพืชสมุนไพรจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ต่างประเทศกำลังหาทางลงทุนและคัดเลือกสมุนไพรไทยไปสกัดหาตัวยาเพื่อรักษาโรคบางโรคและมีหลายประเทศที่นำสมุนไพรไทยไปปลูกและทำการค้าขายแข่งกับประเทศไทยสมุนไพรหลายชนิดที่เราส่งออกเป็นรูปของวัตถุดิบ เช่น กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว เปล้าน้อยและมะขามเปียก เป็นต้น ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการอีกมาก ซึ่งทางโรงเรียนสตูลศานติศึกษาได้เห็นถึงความสำคัญของพืชสมุนไพรไทย จึงได้จัดทำโครงการสตูลศานติศึกษาสุขภาพดีถ้วนหน้าด้วยสมุนไพรไทย เพื่อให้คณะครู บุคลากรและนักเรียนได้รู้จักสมุนไพรไทยที่หาได้ง่ายในชุมชน ได้เรียนรู้ถึงสรรพคุณสมุนไพรแต่ละชนิดที่สามารถนำมาแปรรูปและเป็นยารักษาโรคได้ และนักเรียนสามารถปลูกพืชสมุนไพรได้เองแต่ละครัวเรือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชุมชน

นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชุมชน

2 เพื่อให้นักเรียนได้นำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง โดยสามารถนำมาแปรรูป เป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ

นักเรียนได้นำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง โดยสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

3 เพื่อรวบรวมพันธ์พืชที่มีอยู่ในชุมชนมาจัดทำสวนสมุนไพรในโรงเรียน

นักเรียนได้นำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง โดยสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

4 เพื่อให้นักเรียนสามารถปลูกพืชสมุนไพรได้เองตามบ้านเรือน

นักเรียนร้อยละ 90 สามารถปลูกพืชสมุนไพรได้เองตามบ้านเรือน อย่างน้อย 5 ชนิด

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 : จัดนิทรรศการเป็นฐานความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร (2 วัน) จำนวน 6 ฐาน ดังนี้ ฐานที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร/สรรพคุณและประโยชน์ ฐานที่ 2 การแปรรูปอาหารจากสมุนไพร ฐานที่ 3 น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ฐานที่ 4 สบู่ก้อนสมุนไพรกลีเซอรีน ฐานที่ 5 การผลิตพิมเสนน้ำ ฐานที่ 6 ทำสเปรย์กันยุงตะไคร้หอม

กิจกรรมที่ 2 : สวนสวยด้วยสมุนไพรไทย (ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรไทย) - จัดสวนสมุนไพรภายในโรงเรียน

กิจกรรมที่ 3 : นักเรียนปลูกพืชสมุนไพรที่บ้านอย่างน้อยบ้านละ 5 ชนิด - ดำเนินการเยี่ยมนักเรียนแต่ละบ้าน - ประกวดสมุนไพรแต่ละครัวเรือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชุมชน
  2. นักเรียนได้นำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง โดยสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้
  3. มีสวนสมุนไพรในโรงเรียน
  4. นักเรียนสามารถปลูกพืชสมุนไพรได้เองตามบ้านเรือน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2560 15:26 น.