กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายชุมชนร่วมใจห่วงใยผู้ป่วยจิตเวช
รหัสโครงการ 60-L8010-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 43,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปวิตร วณิชชานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ สิบเอกสุทินหมูดเอียด
พื้นที่ดำเนินการ ห้องประชุมโรงพยาบาลละงู ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมสุขภาพจิตพบว่า จำนวน 1ใน 5 คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิต หรือคิดเป็น 20 %ของประชากร ซึ่งปัญหาทางด้านสุขภาพจิตมีหลากหลายระดับ ตั้งแต่ระดับน้อยจนถึงระดับมาก สำหรับกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการระดับมาก จะส่งผลกระทบทั้งต่อตัวเอง ครอบครัว และสังคม (กรมสุขภาพจิต,2551) โรคจิตคนทั่วไปมักเรียกว่า “คนบ้า” เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางด้านจิตใจ อารมณ์ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคจิตมักไม่ยอมรับตนเองว่าป่วยและจะขัดขืนไม่ยอมมารับการรักษาโรคจิต ได้แก่ โรคที่มีความผิดปกติทางด้านความคิดและ อารมณ์ โรคจิตที่เกิดจากการเสพสิ่งเสพย์ติด และโรคจิตจากสมองเสื่อมอาจถึงขั้นเปลือยกาย มีอาการคลุ้มคลั่งและหวาดระแวง เป็นต้น โดยทั่วไปการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคจิตจะรักษาด้วยยาจิตเวช รักษาทางจิตใจ และทางสังคมควบคู่กันไป เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาอยู่ในสังคมได้ แต่ที่สำคัญที่สุดผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษา อย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน(ขวัญทิพย์ สุขมาก, 2552) จากนโยบายกรมสุขภาพจิต ตามยุทธศาสตร์ การส่งเสริมและพัฒนาภาคีเครือข่ายทั้งใน และนอกระบบสาธารณสุขในการดำเนินงานสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิตพบว่าญาติ ผู้ป่วยและชุมชนเป็นภาคีเครือข่ายที่สำคัญในการดูแลปัญหาทางด้านสุขภาพจิตร่วมกัน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ นอกจากได้รับการรักษาจากโรงพยาบาล ยังต้องได้รับการดูแลจากครอบครัว และสังคมด้วย(กรมสุขภาพจิต ,2551 ) จากข้อมูลงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลละงู ปี 2556 - 2559 พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคจิตในเขต ตำบลกำแพง มีจำนวนทั้งหมด 134 ราย (69 ราย,77 ราย,81 ราย และ95 รายตามลำดับ)พบว่า อัตราการกำเริบซ้ำของโรค ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ ในปี 2556มีจำนวน 1 ราย ,ปี 2557 มีจำนวน 1 ราย และในปี 2558 มีจำนวน 4 ราย และปี 2559 มีจำนวน 5 ราย ซึ่งมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จากการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบซ้ำ พบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดการกำเริบซ้ำของโรคเนื่องจากผู้ป่วยและญาติขาดความรู้และความเข้าใจ เรื่องโรค ไม่เห็นความสำคัญในการรับประทานยา มีการใช้สารเสพติด และสิ่งกระตุ้น เช่น บุหรี่ กาแฟ และส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะบกพร่องในการ ดูแลกิจวัตรประจำวัน การจัดการความเครียดไม่เหมาะสม เช่น ขาดทักษะในการสื่อสารทางสังคมสร้างความวุ่นวายในชุมชน ส่งผลให้ญาติและคนในชุมชน เกิดความเบื่อหน่าย หวาดกลัว ไม่กล้าเข้าใกล้ ไม่ยอมรับ หวาดกลัวผู้ป่วย รู้สึกเป็นภาระ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าปัญหาการพยายามฆ่าตัวตายในเขตตำบลกำแพง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2559 มีจำนวนทั้งหมด 18 ราย ( 6 ราย, 2 ราย, 4 ราย, และ6 รายตามลำดับ) และฆ่าตัวตายสำเร็จมีจำนวนทั้งหมด5 ราย (2 ราย,1 ราย,1 ราย,และ 1 ราย ตามลำดับ)ซึ่งส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ 20 - 40 ปีจากข้อมูลปัญหาดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ประชาชนในเขตกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูลมีแนวโน้มที่จะส่งผล ด้านปัญหาสุขภาพจิตสูงขึ้นในอนาคต ดังนั้นหน่วยงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลละงู ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาและฟื้นฟูความรู้แกนนำสุขภาพจิตในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง เพื่อกระตุ้นการขับเคลื่อนการดำเนินงานสุขภาพจิตในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกระตุ้นการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตในชุมชน

กลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (แกนนำสุขภาพจิต) มีการรวมกลุ่มและดำเนินงานอย่างอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ร้อยละ 80 ในเขตตำบลกำแพง

2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชอย่างถูกต้องและเหมาะสม

กลุ่มอาสาสมัครหรือผู้นำชุมชนมีความรู้ และทักษะในการดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ผู้ป่วยจิตเวชอย่างถูกต้องและเหมาะสม ร้อยละ 80

3 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการค้นหาและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน

กลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (แกนนำสุขภาพจิต) มีการรวมกลุ่มและดำเนินงานอย่างอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ร้อยละ 80 ในเขตตำบลกำแพง

4 เพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในชุมชนและลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยแกนนำสุขภาพจิตในชุมชน

ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนเขตตำบลกำแพง อ.ละงู ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณและการดำเนินการ 2. ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. ตรวจสอบ/คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย 4. จัดเตรียม หลักสูตร สถานที่ วัสดุและอุปกรณ์ ในการจัดการอบรม 5. สร้างเครื่องมือแบบประเมินทางสุขภาพจิต และสมุดบันทึกสุขภาพและติดตามเยี่ยมบ้าน ขั้นดำเนินกิจกรรมตามโครงการ กิจกรรมที่1 จัดประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง และประธานอาสาสมัครหมู่บ้านๆละ 1 คน
(ครึ่งวัน) กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการณ์ การดูแล ป้องกัน และการจัดการปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน แก่ อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หรือผู้นำชุมชน(2 วัน)
กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมและค้นหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช โดยผู้เข้าอบรมจำนวน 2 ครั้ง
กิจกรรมที่ 4 ถอดบทเรียนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โดยการประชุมกลุ่มย่อยผู้เข้าอบรม (2 ครั้ง)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน/ผู้นำชุมชน มีความรู้ และทักษะในการดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ผู้ป่วยจิตเวชอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  2. กลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน/ผู้นำชุมชน (แกนนำสุขภาพจิต) มีการรวมกลุ่มและดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
  3. ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนเขตตำบลกำแพง อ.ละงู ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2560 15:29 น.