กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กไทยทำได้ และ อย.น้อย
รหัสโครงการ 61-L5169-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านโคกพยอม
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 พฤษภาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 24,110.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางณัชชา บุญสิริธนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.886,100.442place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 พ.ค. 2561 31 ส.ค. 2561 24,110.00
รวมงบประมาณ 24,110.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนและต้องบริโภคอยู่ทุกวัน จะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้มีความสะอาดและปลอดภัย หากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความสะอาดปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่คนส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารจากนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยเพียงพอ ในปัจจุบันพ่อค้าแม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคโยนำเอาวัตถุดิบที่ีคุณภาพต่ำมาประกอบอาหารหรือมีการเติมสารห้ามใช้บางอย่างลงไปในอาหาร เช่น บอแรกซ์ เป็นต้น รวมทั้งมีการปรุงอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาด ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ดังนั้นหากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจอย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ก็ยิ่งจะทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อหรือเก็บรักษาอาหารได้ถูกต้อง และไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ ฯลฯ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557 จากการเล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล โดย เป้าหมาย คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอม ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน มีการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน โดยจะมีรูปแบบในการดำเนินกิจกรรมเป็นเครือข่ายของโรงเรียนระดับชั้นเรียนในเครือข่าย อย.น้อย สอนน้อง ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน 2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในเรื่องการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน 3.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี 4.เพื่อให้สมาชิกชมรม อย.น้อยตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสารเจือปนประเภทสารบอแรกซ์ สารฟอกขาวและจุลินทรีย์ต่างๆได้

1.นักเรียนร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน 2.สมาชิกชมรมอย.น้อย ให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนหน้าเสาธงหรือใช้เสียงตามสายอาทิตย์ละ 1 ครั้ง 3.นักเรียนมีความสุขในการมาเรียน  สถิติขาดเรียนลดน้อยลง 1. 4.สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถสุ่มตรวจวิเคาะห์อาหารในห้องครัวและโรงอาหารอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,110.00 1 24,110.00
21 พ.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 จัดอบรม ปฏิบัติและประชาสัมพันธ์ 0 24,110.00 24,110.00
  1. การตรวจสอบคุณภาพอาหารที่จำหน่ายภายใน หรือรอบๆ โรงเรียน และตลาดสดหรือชุมชนใกล้เคียง ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น เช่น ชุดทดสอบบอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารกันราสารฟอกขาวเป็นต้น
  2. การให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บอร์ดความรู้ เสียงตามสาย พูดหน้าเสาธง กิจกรรมการแสดง รายการทางโทรทัศน์วงจรปิด เป็นต้น
  3. การรณรงค์ให้ความรู้ในชุมชน เช่น การเดินรณรงค์ การแจกเอกสารความรู้ การให้ความรู้ทางหอกระจายข่าวหรือวิทยุชุมชน เป็นต้น
  4. การบูรณาการความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย) เข้าไปกับหลักสูตรการเรียน การสอน
  5. การขยายความรู้ไปสู่โรงเรียนระดับประถมศึกษา ในลักษณะ “พี่สอนน้อง”
  6. การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพและการโฆษณาที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อตนเอง เพื่อน
  7. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี โดยยึดหลัก “บริโภคถูกหลักโภชนาการ ปราศจากสารปนเปื้อน” เช่นหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด (หวาน มัน เค็ม) หลีกเลี่ยงการซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพตามโฆษณาชวนเชื่อ หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ หรือไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ (นึ่ง อบ ย่าง) อ่านฉลาก อาหาร ยา และเครื่องสำอาง ก่อนซื้อก่อนใช้ บริโภคนม ผัก และผลไม้เป็นประจำ รู้ทันอันตราย สเตียรอยด์ การใช้ยาปลอดภัยในโรงเรียนนักเรียน ครอบครัว เช่น อาหารสีสันฉูดฉาด อาหารที่ทอดด้วยน้ำมันทอดซ้ำ ของเล่นที่ไม่ปลอดภัย
  8. จัดตั้งศูนย์รับแจ้งข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียนหรือ ประชาสัมพันธ์ ผ่านทาง เวปไซด์Linefacebook เป็นต้น 9 กิจกรรมประเมินและสรุปผลโดยการตอบแบบสอบถาม และการเยี่ยมบ้านนักเรียน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยกันมากขึ้น
  2. นักเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน
  3. สมาชิกชมรม อย.น้อยสามารถตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสารเจือปนประเภทสารบอแรกซ์ สารฟอกขาวและจุลินทรีย์ต่างๆได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561 15:41 น.