กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมทักษะชีวิตเยาวชนปลอดภัยจากยาเสพติดตำบลบ้านควน ประจำปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านควน
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณฐกรย่องจีน
พี่เลี้ยงโครงการ นางนภาภรณ์ขวัญแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.529,99.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของประเทศ ซึ่งบ่อนทำลายทรัพยากรและความมั่่นคงของประเทศชาติและสังคมเป็นอย่างมาก ได้มีการดำเนินงานในทุกวิถีทางที่จะป้องกันและปราบปรามมิให้มีการเสพ การซื้อขาย และการผลิตยาเสพติด แต่เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนต่อการดำเนินการจำเป็นต้องวางแผนสำหรับบดำเนินงานในแต่ละด้านอย่างรอบคอบ และไม่ได้มีแต่ประเทศไทยอย่างเดียวเท่านั้นประเทศอื่นๆ ก็ได้มีความพยายามที่จะยับยั้งการเสพการซื้อขาย และการผลิตยาเสพติดอยู่ตลอดเวลา จากการศึกษาของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พ.ศ. 2536 ได้ประมาณการผู้ใช้สารเสพติดใน 5 ประเภท ได้แก่ สารระเหย กัญชา เฮโรอีน และฝิ่น โดยแยกประชากรที่ศึกษาเป็นกลุ่มย่อย ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการใช้ยาเสพติดไว้ 16 กลุ่ม มีผู้ใช้สารเสพติดทุกกลุ่มรวม 1,2677,590 คน หรือร้อยละ 2.17 ของประชากรทั้งหมด ในจำนวนนี้ประมาณการได้ว่า มีกลุ่มวัยเรียน และเยาวชนอายุระหว่าง 15-25 ปี ซึ่งประกอบด้วยนักเรียน นักศึกษา ในสถานศึกษาต่างๆ ใช้ยาเสพติดจำนวน 71,666 คน คิดเป็นร้อยละ 8.13 ของกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด เด็กและเยาวชนเริ่มใช้ยาเสพติดครั้งแรก เมื่ออายุน้อยกว่า 10 ปี และเยาวชนวัยเรียนกลุ่มอายุ 145-19ปี ทั้งในและนอกระบบสถาานศึกษา เป็นกลุ่มที่มีปัญหาเริิ่มใช้สารเสพติดครั้งแรก สูงสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ (ร้อยละ 53.1) และอัตราการใช้สารเสพติดครั้งแรกของกลุ่มนี้จะสูงสุดอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ.2536-2538 ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีในกรุงเทพมหานครมากที่สุด คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 60.1 รองลงมาเป็นภาคใต้ และภาคกลาง สำหรับภาคเหนือมีเยาวชนวัยเรียน กลุ่มอายุ 15-19 ปี ที่เริิ่มใช้สารเสพติดครั้งแรก ตำ่สุดเท่ากับร้อยละ 39.95 ปัจจุบันนี้เยาวชนไทยที่มีอายุน้อยมีสถิติการติดยาเสพติดเพิ่มขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง เพราะนอกจากผู้เสพยาเสพติดทั้งหลายนี้ จะได้สามารถประกอบอาชีพทำการงานต่างๆ ไม่ได้แล้วยังก่ออาชญากรรมทำให้เกิดปัญหาต่อสังคมกระทบกระเทือนต่อประชาชนผู้ไม่ได้เสพยาเสพติด อีกด้วยอีกสาเหตุการติดยาเสพติดในปัจจุบันมีหลายสาเหตุ เช่น การหาซื้อยาไปกินเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์เมื่อกินบ่อยๆ ก็จะทำให้ติดได้ ครอบครัวที่พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานเพราะต้องไปประกอบอาชีพนอกบ้าน ทำให้บุตรหลานไปคบเพื่อนนอกบ้าน อาจจะมีเพื่อนที่ชักนำไปดสพสิ่งเสพติด หรือถูกหลอกลวงไปในทางที่ผิด หรือแม้แต่พ่อแม่หย่าร้างกัน ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้บุตรหลานไปเสพยาเสพติดได้ การที่จะให้เด็กแลละเยาวชนห่างไกลยาเสพติดนั้น จำเป็นจะต้องแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่เป็นสาเหตุของการนำไปสู่การใช้สารเสพติด ได้แก่ ปัญหาครอบครัวและชุมชน พร้อมๆ กับการให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพติดเพื่อให้เด็กและเยาวชนเกิดความตระหนักและกลัว รวมทั้งส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มต่างๆ เพื่อลดเวลาว่้่างและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ปัญหาเด็กติดยยาเสพติดก็จะไม่เกิดขึ้น ชมรม To be number one ตำบลบ้านควน จัดทำโครงการสร้างเสริมทักษะชีวิตเยาวชนปลอดภัยยจากยาเสพติด โดยมุ่งเน้นให้เด็กที่เข้าร่วมโครงการได้รู้ถึงพิษภัย และรู้ถึงวิธีที่จะหลีกหนีให้ห่างไกลจากยาเสพติดทั้งหลาย เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้เรื่องยาเสพติดให้โทษ

 

2 เพื่อให้เยาวชนอายุ 6-24 ปี ทุกคนเรียนรู้ TO BE NUMBER ONE IDOL เสริมทักษะการปฏิเสธยาเสพติด และเเข้าใจเรื่องโทษและพิษภัยของยาเสพติด ร่วมรณรงค์ป้องกันและต่อต้านยาเสพติดในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
24 เม.ย. 60 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ TO BE NUMBER ONE IDOL เสริมทักษะการปฏิเสธยาเสพติด 50 10,000.00 -
25 เม.ย. 60 กิจกรรมเสริมทักษะชีวิตเยาวชนอายุ 6-24 ปี(สมาชิกใหม่) 50 10,000.00 -
รวม 100 20,000.00 0 0.00

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลขอความเห็นชอบแผนงาน 2. จัดทำโครงการเสนอผูัมีส่วนเกี่ยวข้องอนุมัติแผน 3. ประชุมชี้แจงโครงการรายละเอียดแก่ อสม.เพื่อประสานงานเพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ 4. จัดการอบรมเด็กและเยาวชน 5. จัดกิจกรรม สมาชิกชมรม To be number one 6. ติดตามผลการดำเนินงาน 7. สรุปผลการดำเนินงา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เด็กและเยาวชนเกิดความตระหนักเรื่องยาเสพติดและอบายมุข
  • เด็กและเยาวชนเป็นสมาชิกชมรม To be number one และมีกิจกรรมต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2560 14:10 น.