กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนปิยาปลอดภัยจากการใช้ยาและอาหาร
รหัสโครงการ 61-L3045-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง
วันที่อนุมัติ 19 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 19,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแอเสาะ เหนื่องตีบ
พี่เลี้ยงโครงการ วรรณพร บัวสุรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.823,101.376place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 มิ.ย. 2561 29 มิ.ย. 2561 19,525.00
รวมงบประมาณ 19,525.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 99 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจาก นโยบายปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้มีการจัดทำ “ตัวชี้วัดบูรณาการ” เพื่อให้เกิดมิติการทำงานเชื่อมโยง บูรณาการข้ามหน่วยงาน และ เชื่อมโยงการทำงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นให้สอดประสานกันอย่างมีเอกภาพ และจากสภาพความซับซ้อนของปัญหาการใช้ยาในชุมชน เนื่องจากมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง หลายส่วนทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเอง ผู้สั่งใช้ยา ผู้ผลิตยา กระจายยา และ การควบคุมกำกับตามกฎหมาย ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงเสนอให้มีการกำหนดให้ “ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน” เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดบูรณาการ ตามแผนบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภค ด้านการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน จากปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลของคนในชุมชนเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน และมีปัจจัยที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายส่วน ทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเอง ผู้สั่งใช้ยา ผู้ผลิตยา การกระจายยา ตลอดจนการควบคุมตามกฎหมาย ดังนั้นการดำเนินการจึงต้องใช้มาตรการที่หลากหลายทั้งความร่วมมือของหลายภาคส่วน หลายระดับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง มีหมู่บ้านรับผิดชอบทั้งหมด ๕ หมู่บ้าน ในตำบลปิยามุมัง มีทั้งร้านค้า ร้านชำ และรถเร่ซึ่งพบว่ามีร้านค้าร้านชำบางร้านที่นำยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน มาขายให้แก่คนในชุมชน จากสภาพปัญหาดังกล่าวสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงได้กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้การขับเคลื่อนกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ยาในชุมขน มีความชัดเจน และสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นชมรมอาสาสมัครตำบลปิยามุมัง จึงได้จัดทำโครงการการคนปิยาปลอดภัยจากการใช้ยาและอาหาร ประจำปีงบประมาณ๒๕๖๑ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยใช้ชุมชนเป็นฐานซึ่งครอบคลุมประเด็นการใช้ยาปฏิชีวนะและการใช้ยาสเตียรอยด์โดยไม่จำเป็น เพื่อให้คนในชุมชนมีการพัฒนาการจัดการเรื่องยาให้สมเหตุสมผลและปลอดภัยในระยะยาวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนในตำบลปิยามุมัง เกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้องและสมเหตุผล โดยเฉพาะกลุ่มยาปฏิชีวนะ ๒. เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมแหล่งกระจายยาอันตราย โดยเฉพาะร้านชำในตำบลปิยาฯ ๓.เพื่อให้นักเรียน/ อสม./ ผู้ประกอบร้านชำ มีความรู้เรื่องยาและสามารถเลือกบริโภคอาหารปลอดภัยได้ ๔.เพื่อให้เกิดเครือข่ายในงาน คุ้มครองผู้บริโภคและการใช้ยาสมเหตุ สมผล (RDU)

1.ประชาชนในตำบลมีความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล 2.ร้านชำในตำบลไม่มีการขายยาอันตราย 3.มีเครือข่ายในการเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชน 4.แกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19.00 1 19,525.00
8 - 29 มิ.ย. 61 กิจกรรมการเรียนรู้การใช้ยาสมเหตุสมผลและคุ้มครองผู้บริโภค 0 19.00 19,525.00

ขั้นที่ ๑ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไป, ร้านชำ, แกนนำนักเรียน, อสม. ขั้นที่ ๒ การเตรียมการ
๑.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ ๒.จัดทำคู่มือและเอกสารในการอบรม
๓.กำหนด รูปแบบการดำเนินการสื่อ, อุปกรณ์, ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการ, ความรู้และทักษะที่จำเป็นเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและผลิตภัณฑ์สเตียรอยด์และความเข้าใจในด้านปัญหาการใช้ยา และ การปรับพฤติกรรมการใช้ยา ๔.จัดหาชุดตรวจสารอันตรายในอาหารเพื่อสาธิตการตรวจ ๕. จัดทำข้อมูลพื้นฐานในส่วนร้านค้า ผู้ประกอบการในชุมชน ขั้นที่ ๓ การดำเนินกิจกรรม
กิจกรรม ๑ : การสร้างความตะหนักรู้แก่ประชาชน/ อสม. /แกนนำนักเรียน ในตำบลปิยาฯ ๑.จัดอบรมให้ความรู้ประชาชน เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ส่วนบน (เช่น หวัดเจ็บคอ) โรคท้องร่วงเฉียบพลัน (เช่น ท้องเสียอาหารเป็นพิษ) ๒.ให้ความรู้แก่ผู้รับบริการใน รพ.สต. อย่างต่อเนื่อง โดยการจัดทำสื่อต่างๆที่เกี่ยวข้อง ๓.ติดตามมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะใน รพ.สต. ๔.อบรมให้ความรู้แก่แกนนำนักเรียน พร้อมสาธิตการตรวจหาสารอันตรายในอาหาร กิจกรรม ๒ : การเฝ้าระวังแหล่งกระจายยาอันตรายในชุมชน ๑.สำรวจร้านชำที่มีการขายยาอันตรายในชุมชนและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นอันตราย ๒.ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนและคืนข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมหารือแนวทางแก้ปัญหา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนในตำบลปิยาฯมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล และถูกต้อง
๒.ร้านชำในตำบลไม่มีการขายยาอันตราย ๓.มีเครือข่ายในการเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชน ๔.แกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2561 22:24 น.