กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเฝ้าระวังภาวะซีดและสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร
รหัสโครงการ 61-L3368-1(3)
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 พฤษภาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 47,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.645,99.878place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีด    ที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น ภาวะซีด โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน โรคมะเร็ง      โรคต่อมไร้ท่อ เป็นต้น ประชากรในพื้นที่ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 8 เป็นเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน  ท่าข้าม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำนา ทำไร่ ทำสวนผลไม้และสวนยางพารา ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่ และจากการตรวจเลือดเกษตรกร ปี ๒๕๕7 มีจำนวนผู้เข้ารับการตรวจ จำนวน 98 ราย พบว่ามีความเสี่ยง 56 ราย คิดเป็นร้อยละ 57.14 ไม่ปลอดภัย จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.10 และในปี 2560 มีผู้ป่วยโรคมะเร็ง 1 ราย จากประชากร 953 ราย คิดเป็นอัตรา 104.93ต่อแสนประชากร
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน ท่าข้าม ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน  ท่าข้าม ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตรับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เฝ้าระวังภาวะซีดและสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะซีดและเจาะเลือดดูปริมาณสารเคมีตกค้างในร่างกายรวมทั้งได้รับการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 47,000.00 1 47,000.00
1 เม.ย. 61 ดำเนินการตรวจหาภาวะซีดและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเป้าหมาย 0 47,000.00 47,000.00

๑. ประชุม อสม. และเครือข่ายสุขภาพ เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน กำหนดแผนงานการลงปฏิบัติในพื้นที่ ๒. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ โดยทีม อสม. ๓. เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโดยการตรวจเลือดหาภาวะซีดและสารเคมีตกค้าง
๔. ดำเนินการตรวจหาภาวะซีดและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเป้าหมาย ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย ๕. แจ้งผลการตรวจพร้อมจัดกิจกรรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเป้าหมาย ๖. เฝ้าระวังพฤติกรรมต่อเนื่องในกลุ่มเป้าหมาย เป็นระยะเวลา 3 เดือน ๗. ตรวจเลือดซ้ำครั้งที่ 2 พร้อมนัดฟังผลและให้คำแนะนำรายบุคคล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม
  2. เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพของเกษตรกร 3.เกษตรกรมีความรู้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ และวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้องรวมถึงการบริโภคพืชผักอย่างปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2561 15:20 น.