กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสานรักของแม่เพื่อลูกน้อย ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L3061-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.เกาะเปาะ
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 กรกฎาคม 2561 - 14 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 10 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 39,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมัคร แวเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูหะหมัด วันสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.815,101.201place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 ก.ค. 2561 13 ก.ค. 2561 39,400.00
รวมงบประมาณ 39,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 340 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นปํญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดปัตตานี ที่ต้องได้รับการแก้ไข้ เพราะในปัจจุบันระบบสุขภาพของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตามลำดับ ตามแผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ที่ผ่านมา รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพ เน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าซ่อมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็กและการนำเอาครอบครัวมามีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ เป็นเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งในแผนงานส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด คือ การเข้าถึงสถานบริการและการมีสุขภาพที่ดีของพ่อแม่และลูก ซึ่งมีตัวชี้วัดที่สำคัญ คือ หญิงตั้งครรภ์ได้รับฝากครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 60 อัตราการคลอดในโรงบาล ร้อยละ 92 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้ง ร้อยละ 90 และเนื่องจากงานอนามัยแม่และเด็กเป็นงานเชื่อมโยงกับงานอื่นๆ ถ้าหากหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจและมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพตัวเอง เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ต้องมาฝากครรภ์ทันทีก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และได้รับการประเมินปัจจัยเสี่ยง การตำตรวจชันสูตรโรค การฉีดวัคซีนส้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และคลอดในสถานบริการ ทำให้สามารถถลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆในระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด ทำให้แม่และลูกคลอดอย่างปลอดภัยและยังทำให้การพัฒนางานสาธารณสุขด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นด้วย เช่น งานสร้างเสริมภูมิคคุ้มกันโรค งานโภชนาการและพัฒนาการ งานทันตสาธารณสุข(ในเด็กอายุ 0-5 ปี)และ งานวางแผนครอบครัว สำหรับการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ ปีงบประมาณ 2558 มีผลการดำเนินงานตามรายละเอียดดังนี้ คือ หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 88.57 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 11.43 หญิงตั้งครรภ์คคลอดในโรงพยาบาล ร้ยละ 90.63 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 93.10 จากการวิเคราะข้อมูลดังกล่าว พบว่าตัวชี้วัดที่ยังเป็นปัญหา คือ หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง หญิงตั้งครรภ์คลอดในโรงพยาบาล ทารกแรกคลอดน้ำหนักต่ำกวา 2,500 กรัม ทั้งนี้มีสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการทั้งด้านระบบการบรการ เช่น การไม่ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามี ภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว เช่น ครอบครัวฐานะยากจน ต้องไปทำงานต่างจังหวัดต่างประเทศครอบครัวมีลูกหลายคนติดๆกัน ความเชื่อ ทัศนะคติ และปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่สำคัญ เช่น การทีมีผดุงครรภ์โบราณเป็นคนในพื้นที่ ปฎิบัติงานมาช้านาน ทำให้เป็นที่ยอมรับและไว้ใจของประชาชนในพื้นที่ ระยะทางในการดินทางไปสถานบริการและการณ์สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดควมกลัวไม่กล้าที่จะไปคลอดโรงพยาบาล ถ้าหากต้องคลอดในเวลากลางคืน ด้วยสาเหตุปัจจัยดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเก่ะเปาะ ได้จัดทำโครงการขึ้นเพ่อแก้ไขปัญหาและพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กของตำบลเกาะเปาะ ให้บรรลุตามเกณฑ์ตัวชี้วัดและส่งผลให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายของตำบลเกาะเปาะ มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อรณรงค์ให้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในชุมชนมาฝากครรภ์ก่อนครรภ์ 12 สัปดาห์ 2.เพื่อให้คู่ชาย-หญิงวัยเจริญพันธ์ุทุกรายให้มีความรู้ในการเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ 3.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ให้มีความมรู้และทักษะในการดูแลตนเองตลอดการตั้งครรภ์และหลังคลอดได้ 4.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มัทัศนะคติที่ดีต่อการคลอดที่โรงพยาบาล

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 60 2.หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 60 3.ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 6 4.คลอดที่สถานบริการพยาบาล ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 39,400.00 2 39,400.00
11 - 12 ก.ค. 61 รณรงค์ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และประชุมชี้แจงให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ใหม่ 130 30,600.00 30,600.00
13 - 14 ก.ค. 61 ตรวจเลือดหญิงวัยเจริญพันธุ์และประชุมชี้แจงให้ความรู้หญิงหลังคลอด 70 8,800.00 8,800.00

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์หาหญิงตั้งครรภ์ และคู่ชาย-หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดย อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข วันที่ 11 กรกฎาคม 2561 กิจกรรมที่ 2 2.1 จัดประชุมชี้แจงให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ คือ ก่อนอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ และ อายุคครภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ขึ้นไป 2.2 จัดประชุมชี้แจงให้ความรู้คู่ชาย-หญิงวัยเจริยพันธุ์ วันที่ 12 กรกฎาคม 2561 กิจกรรมที่ 3 ตรวดเลือดหญิงวัยเจริญพันธ์ุดูค่าความเข้มข้นของเลือด(hct)คัดกรองภาวะซีด วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 กิจกรรมที่ 4 จัดประชุมชี้แจงให้ความรู้หญิงหลังคลอด วันที่ 13 กรกฎาคม 2561

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ร้อยละ 80
  2. คู่ชาย-หญิงสมรสวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ในการเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ร้อยละ 100 3.หญิงตั้งครรภ์และสามีมีความรู้และทักษะในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และบุตรตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด และหลังคลอดได้ถูกต้อง ร้อยละ 80 4.หญิงตั้งครรภ์ได้คลอดโรงพยาบาล ร้อยละ 100 5.หญิงหลังคลอดได้รัการตรวจหลังคลอด ร้อยละ 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2561 14:14 น.