กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจการออกกำลังกาย และสิ่งแวดล้อม
รหัสโครงการ 61-L8010-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านท่าแลหลา
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 48,615.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านท่าแลหลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (48,615.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 96 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนเป็นสถานที่ที่รวมของประชากรกลุ่มวัยเรียนและเยาวชนซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชน ที่สำคัญเป็นประชากรกลุ่มเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศ โรงเรียนจึงต้องเป็นสถานที่ที่มีความปลอดภัยตลอดระยะเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีสุขภาพดีแบบองค์รวม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดการจัดการศึกษาต้องยึดหลักที่ว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กำหนดให้เป็นการศึกษาด้านสุขภาพที่มีเป้าหมาย เพื่อการดำรงสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล ครอบครัว และชุมชนให้ยั่งยืน
การมีสุขภาพที่ดีสำหรับเด็กถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพของเด็กวัยเรียนส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ในปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านท่าแลหลามีนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ 24 คน คิดเป็นร้อยละ 12 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ที่ระดับร้อยละ 5 สาเหตุหลักเนื่องจากพฤติกรรมการกินอาหารและการออกกำลังกาย การกินอาหารเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็กวัยเรียน นักเรียนอนุบาลและนักเรียนประถมศึกษาบางคนไม่ชอบกินผัก แต่ชอบขนม น้ำอัดลม และน้ำหวาน การกินอาหารที่ ไม่ถูกต้องทั้งปริมาณและสัดส่วนส่งผลให้เกิดภาวะอ้วน การกินอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร ก็อาจทำให้พัฒนาการของเด็กช้าไม่สมวัย หากเด็กกินอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อนก็จะสะสมในร่างกาย ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง และประชาชนในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา ส่วนใหญ่จะบริโภคผักตามร้านค้าที่จำหน่ายอาหารในชุมชน ร้อยละ 80 ซึ่งร้านค้าในชุมชนก็จะรับซื้อผักมาจากตลาด จากการเจาะเลือดของเกษตรกรเพื่อหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย จำนวน 10 หมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลกำแพง จำนวน 221 คน พบว่า มีผลเลือดในระดับปลอดภัยและปกติ ร้อยละ 35.30 ระดับมีความเสี่ยงร้อยละ 54.75 และพบในระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 9.95 ในส่วนของการออกกำลังกายพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีการออกกำลังกายน้อย ใช้เวลาว่างในช่วงหลังเลิกเรียนไม่เหมาะสมเท่าที่ควร เด็กให้ความสำคัญกับการเล่นเกมส์ เล่นโทรศัพท์มือถือมากกว่ากับการใช้เวลาว่างในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ปัญหาการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอของเด็กวัยเรียน ก่อให้เกิดภาวะเด็กเริ่มอ้วน เด็กอ้วน เด็กไม่แข็งแรง นอกจากนั้นประชาชนในชุมชนบ้านท่าแลหลาส่วนใหญ่จะออกกำลังกายน้อย จากการสังเกตภาพรวมจะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของผู้ชาย ร้อยละ 70 และกลุ่มผู้หญิง ร้อยละ 10 ที่มีการออกกำลังกาย จะเห็นว่าในกลุ่มผู้หญิงมีสัดส่วนน้อยมาก จึงทำให้ประสบปัญหาการมีน้ำหนักเกิน อาจทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ นอกจากนั้นโรงเรียนและชุมชนประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาด้านขยะมูลฝอย ขยะบางส่วนถูกทิ้งกระจัดกระจายอยู่ตามริมถนน ในชุมชน และสถานที่สาธารณะต่างๆ ซึ่งได้สร้างปัญหาให้กับโรงเรียนและชุมชน เช่น กระป๋อง กะลามะพร้าวเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ขยะอินทรีย์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรคและส่งกลิ่นเหม็น ขยะอันตรายทำให้มีสารพิษปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
โรงเรียนบ้านท่าแลหลาเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพเด็ก จึงมีการให้ความรู้แก่เด็กในห้องเรียน การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารและการออกกำลังกาย รวมทั้งจัดเตรียมอาหารกลางวันที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการให้กับนักเรียน แต่การจัดอาหารกลางวันของโรงเรียนจะต้องจัดซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหารจากร้านค้าที่จำหน่ายอาหารในชุมชนหรือตลาด ซึ่งไม่ทราบแหล่งผลิตและวิธีการผลิตว่ามีการใช้สารเคมีหรือไม่ คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่โรงเรียนจะจัดหาวัตถุดิบที่ปลอดภัยในการจัดบริการอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษในโรงเรียนจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย การส่งเสริมการออกกำลังกายนั้นการสอนนักเรียนในชั่วโมงพละศึกษานั้นคงไม่เพียงพอ ซึ่งผู้ที่อยู่รอบตัวเด็กเองก็มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการออกกำลังกายของเด็ก ทั้งพ่อ แม่ ผู้ปกครอง จะต้องทำเป็นตัวอย่างให้เด็กเห็นและปฏิบัติตาม เพราะการทำให้เด็กรักการออกกำลังกายและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการสร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีต่อการออกกำลังกายของเด็กด้วย เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างสมวัย มีพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง จึงควรกระตุ้นและสร้างกระแสให้กับเด็กและคนในชุมชนให้หันมาออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และเพื่อให้เกิดวินัยในการออกกำลังกายซึ่งช่วยส่งเริมสุขภาพและป้องกันโรคภัยต่างๆ นอกจากนั้นการจัดโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะ โดยการสร้างจิตสำนึกแก่นักเรียนในการลดขยะ คัดแยกขยะมูลฝอย นำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อให้ปลอดภัยจากโรค การเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุต่างๆ โรงเรียนสะอาด ร่มรื่น น่าอยู่ มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพนักเรียน รวมทั้งสามารถขยายผลไปสู่ชุมชนต่อไปได้ โรงเรียนบ้านท่าแลหลาจึงจัดทำโครงการอาหารปลอดภัยและใส่ใจการออกกำลังกายขึ้นมา เพื่อต้องการให้นักเรียนได้รับประทานพืชผักที่ปลอดสารพิษและสร้างลักษณะนิสัยให้นักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนรวมถึงคนในชุมชนบ้านท่าแลหลาได้หันมาใส่ใจการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของตัวเอง และเป็นการกระตุ้นสร้างจิตสำนึกที่ดีในการปลูกฝังการกินผักที่ปลูกเอง การทำปุ๋ยไว้ใช้เองโดยใช้ขยะอินทรีย์จากโรงอาหารหรือใบไม้จากในโรงเรียน ทำให้มั่นใจได้ว่าปุ๋ยที่ใส่บำรุงพืชผักที่ปลูกจะปลอดภัยแน่นอน นักเรียนเองก็จะได้ทักษะในกระบวนการผลิตและสามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไปในอนาคต โรงเรียนเองก็จะได้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อพืชผักราคาแพงในท้องตลาดและหันมาอุดหนุนพืชผักที่นักเรียนปลูกเองในราคาที่ถูกลง และสามารถนำเงินส่วนกำไรเป็นทุนหมุนเวียนในการผลิตรอบต่อไปด้วย อีกทั้งยังเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ
  • นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ
80.00
2 2.เพื่อลดการบริโภคสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
  • ร้อยละ 80 ของนักเรียน ครู และผู้ปกครองร่วมกันปลูกผักปลอดสารพิษภายในโรงเรียน
  • นักเรียนนำผักปลอดสารพิษจากโรงเรียน ไปขยายผลสู่ครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  • ร้านค้าในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จำหน่ายผักปลอดสารพิษในชุมชน
80.00
3 3.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกายร่วมกันระหว่างนักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน
  • นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น
    ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 -  นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน มีความพึงพอใจต่อโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
70.00
4 4.เพื่อให้นักเรียน และครู มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์
  • นักเรียนและครู ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38,335.00 4 57,615.00
27 มิ.ย. 61 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักสวนครัว ปลอดสารพิษ 0 15,285.00 25,565.00
2 ก.ค. 61 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมทางกาย เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย 0 7,500.00 7,500.00
10 ก.ค. 61 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ 0 14,550.00 14,550.00
10 - 20 ก.ย. 61 กิจกรรมอื่นๆ 0 1,000.00 10,000.00

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ 1.1 กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยเชิญวิทยากรผู้ที่มีความรู้ความสามารถจากเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอหรือผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น มาให้ความรู้วิธีการปลูกผัก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว และให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนที่จำหน่ายอาหาร 1.2 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ จะเป็นการยกโรงเพาะปลูกลักษณะกึ่งถาวร เตรียมดินในกระบะ โดยจะผสมมูลไก่ มูลวัว แกลบดำและแกลบแห้งเข้ากับดินร่วน โดยการปลูกผักลักษณะนี้ จะเป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน จะเป็นการปลูกผักปลอดสารพิษ ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเป็นธาตุอาหารหลักสำหรับพืช 1.3 แกนนำนักเรียนลงพื้นที่สำรวจร้านค้าในชุมชน เพื่อสำรวจการบริโภคพืชผักของประชาชนในชุมชน 1.4 นักเรียนขยายองค์ความรู้ที่ได้ไปสู่ครอบครัว โดยสนับสนุนให้นักเรียนและครอบครัวปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเองที่บ้าน โดยครูประจำชั้นจะเป็นผู้ประเมินในช่วงเวลาของการออกเยี่ยมบ้านนักเรียน
1.5 นักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 96 และผู้ปกครองนักเรียนหรือคนในชุมชน โดยจะเป็นการแบ่งปันสถานที่ร่วมกันในการเพาะปลูก ผู้ปกครองก็สามารถใช้สถานที่ในการปลูกผักไว้กินเองได้ เมื่อได้ผลผลิตแล้วก็จำหน่ายให้กับโรงเรียนหรือบุคคลภายนอก และนำกำไรมาเป็นทุนในการผลิตพืชผักในรอบต่อไป จะทำให้เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจเล็กๆภายในโรงเรียนและชุมชน และ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมทางกาย เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย 2.1 จัดกิจกรรมทางกาย เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าแลหลา ผู้ปกครองนักเรียนทั้งหญิงและชาย มีเจตคติที่ดีในการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายของตนเองแข็งแรงและสุขภาพดี
2.2 รณรงค์การออกกำลังกายสู่ชุมชนบ้านท่าแลหลา ให้หันมาดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย โดยกิจกรรมจะจัดเดิน วิ่ง ปั่น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวันอังคาร เวลา 15.00 – 16.00 น. จำนวน 15 สัปดาห์ เส้นทางจากโรงเรียนมุ่งสู่ชุมชนรอบๆ บ้านท่าแลหลาและหมู่บ้านใกล้เคียง ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าแลหลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 96 คน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียน คนในชุมชนบ้านท่าแลหลาและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งรวมแล้วจำนวน 150 คน กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ 3.1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การลดขยะ คัดแยกขยะ และนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ 3.2จัดทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิลหรือวัสดุเหลือใช้ต่าง จัดทำปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักชีวภาพ ขั้นสรุป นำผลการประเมินทั้งสองกิจกรรม มาวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงเชิงสถิติและเชิงคุณภาพ จากนั้นนำไปสรุปผลการประเมินและนำปัญหาที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ
  2. ลดการบริโภคสารพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยมีการปลูกผักปลอดสารพิษใว้บริโภคในครัวเรือน โรงเรียน และชุมชน
  3. นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน รณรงค์ ร่วมมือ ร่วมใจกันการออกกำลังกายร่วมกันในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2561 14:10 น.