กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก อายุ 0 – 72 เดือน ในชุมชน
รหัสโครงการ 61 – L5306 -2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ม.3 ต.ตำมะลัง
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 ธันวาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 14 กันยายน 2561
งบประมาณ 41,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวไลล๊ะ เดนหมาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตำมะลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.556,100.044place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัย( อายุ0 – 72เดือน )เป็นวัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์ เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเร็วมาก ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อวัยวะที่เจริญมากที่สุดในระยะนี้คือสมอง และเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหาร ซึ่งผลเสียจากการขาดสารอาหารนั้นเด็กจะมีการพัฒนาการสมองได้น้อย สติปัญญาต่ำ การเรียนรู้ช้า มักพบว่าเด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีปัญหาขาดสารอาหารมากกว่าวัยอื่นๆและเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย อัตราป่วย อัตราตาย จากโรคต่าง ๆ สูง ดังนั้นจึงได้มีระบบการเฝ้าระวังภาวะขาดสารอาหารโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของเด็กเพื่อติดตามและการวางแผนแก้ไข การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น เป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้รู้สถานการณ์ และดำเนินการส่งเสริมภาวะโภชนาการ ป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ การดำเนินงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในพื้นที่ตำบลตำมะลัง จะดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กรายบุคคล ในพื้นที่เป้าหมายที่รับผิดชอบ และบันทึกผลลงในแบบรายงานโภชนาการ และสมุดสีชมพู แปลผลข้อมูลเจริญเติบโตของเด็กโดยแสดงในรูปแบบการเจริญเติบโตด้านน้ำหนัก การเจริญเติบโตด้านส่วนสูง และการเจริญเติบโตด้านภาวะอ้วน – ผอม แต่การแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ ได้ใช้ผลจากการแปลผลการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักเป็นเกณฑ์
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 ตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ได้เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ หรือมีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์ จึงได้จัดโครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก อายุ 0 – 72 เดือน ในชุมชน ขึ้น เพื่อสนับสนุนส่งเสริมสุขภาพให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น และเพื่อให้ผู้เลี้ยงดูเด็กปรับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ ในกลุ่มเด็ก 0-72 เดือน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

เด็ก 0-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและติดตามภาวะโภชนาการ ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-72 เดือน มีภาวะโภชนาการสมส่วน มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

  เด็ก 0-72 เดือน มีภาวะโภชนาการสมส่วน และมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย ร้อยละ 85 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กที่เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน

ผู้ปกครองของเด็กที่เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการมีความรู้ หลังการเข้าร่วมกิจกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะก่อนดำเนินการ 1.เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ 2.ประสานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการแก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ อบต. ระยะดำเนินการ
1.สำรวจข้อมูลเด็กในชุมชนอายุ 0 - 72 เดือน 2.เปิดเสียงตามสายเพื่อประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายในชุมชน มารับการคัดกรองเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการใน วันที่ให้บริการในชุมชน
3.ดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะ เด็กอายุ 0 – 72 เดือน ในชุมชน ตำบลตำมะลัง โดยอาสาสมัครสาธารณสุข และติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ 3 เดือน/ครั้ง 4.มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องภาวะโภชนาการ ให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะน้ำหนัก น้อยกว่าเกณฑ์และน้ำหนักมากเกินเกณฑ์ 5.มีการสาธิตทำเมนูอาหารเสริมให้กับเด็ก
ระยะหลังดำเนินงาน 1.ประเมินผลการดำเนินโครงการ 2.สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็ก 0-72 เดือน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ 2.เด็ก 0-72 เดือน มีภาวะโภชนาการสมส่วน และมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย 3.ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก อายุ 0-72 เดือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2561 15:53 น.