กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงทางอาชีพในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่
รหัสโครงการ 61-L7258-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ส่วนส่งเสริมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 4 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอภิชดา สุคนธปติภาค
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคที่เกิดจากการทำงาน หรือโรคจากการประกอบอาชีพ เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทั้งส่วนบุคคลครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติเมื่อเกิดกับบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานและมีบทบาทความรับผิดชอบสำคัญของครอบครัวย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครอบครัวและสังคม ทั้งในทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกับผู้ประกอบอาชีพอิสระเช่น ช่างเสริมสวย ช่างซ่อมรถยนต์ อาชีพรับซื้อของเก่า คนคัดแยกขยะ คนรับเหมาพ่นหมอกควัน พนักงานปั๊มน้ำมัน และ คนขับรถโดยสารประจำทางเป็นต้น เพราะผู้ที่ประกอบอาชีพเหล่านี้เป็นเจ้าของกิจการเองไม่ได้รับค่าจ้างจากผู้อื่นในลักษณะของเงินเดือนหรือค่าแรงประจำ และรับผิดชอบต่อการดำเนินการทั้งในส่วนของกำไร หรือขาดทุน หากเกิดการเจ็บป่วยหรือประสบเหตุอันตรายไม่สามารถทำงานได้ ย่อมขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในครัวเรือนและคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครอบครัว โรคจากการทำงาน หรือโรคจากการประกอบอาชีพคือโรคใดๆ (อาจเป็นได้ทั้งโรคเฉียบพลันหรือโรคเรื้อรัง) อันมีสาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ หรือการดำเนินกิจกรรมอื่นใดซึ่งเกี่ยวเนื่องกับอาชีพเช่นอาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อพิษจากสารตะกั่ว โรคทางเดินหายใจ เครียด โรคติดเชื้อต่างๆ เป็นต้นข้อมูลสถานการณ์การเจ็บป่วยจากการทำงานเมื่อ พ.ศ.2551 พบว่า มีผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานทั่วประเทศจำนวน 176,502 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 111,740 ราย รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง จำนวน 40,892 ราย ภาคใต้ จำนวน 8,220 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 7,485 ราย
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าการลงทุนในการทำงานที่จะได้ผลตอบแทนกลับมาในรูปตัวเงินหรือรูปของทุนแบบอื่นๆเพื่อการผลิตหรือบริหารงานในรอบงานต่อไปและในการลงทุนก็มักจะเป็นการลงทุนในทรัพย์สินเช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร อุปกรเครื่องใช้ที่จะทำให้เครื่องจักรเหล่านั้นทำงานได้ดีขึ้นเมื่อถึงเวลาก็มีการซ่อมบำรุงดูแลเพื่อให้ทำงานได้ดีต่อไปอีกแต่หากเรามาพิจารณาถึงพนักงานที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานแล้วกลับไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควรกล่าวคือเมื่อเข้าทำงานก็มีการปฐมนิเทศมีการตรวจร่างกายทั่วไปเมื่อเจ็บป่วยก็มีสถานพยาบาลตามประกันสังคมหรือถ้าเจ็บป่วยจากการทำงานก็มีกองทุนเงินทดแทนให้ใช้ ในความเป็นจริงการดูแลเพียงเท่านี้ยังไม่เพียงพอเพราะพนักงานไม่เสื่อมค่าเหมือนเครื่องจักรแต่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์และการเรียนรู้และเครื่องจักรก็ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ถ้าไม่พนักงานคอยควบคุมดูแลขณะที่พนักงานมีความสำคัญกว่าเครื่องจักรแต่มักไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเต็มที่เท่าที่ควรจะเป็นแม้บางหน่วยงานจะมีกิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปีให้แก่พนักงานแต่การตรวจร่างกายเท่าที่ทำอยู่นั้นที่จริงแล้วไม่จำเป็นไม่ถูกต้องไม่เป็นผลดีต่อร่างกายและยังเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของหน่วยงานอีกด้วย เนื่องจากการตรวจร่างกาย เช่นการตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะการตรวจ x-ray ปอดส่วนใหญ่มักไม่พบสิ่งผิดปกติเพราะเป็นการตรวจคัดกรองเพื่อคนหาผู้ป่วยที่ไม่ตรงจุด แต่จากสถิติกลับพบว่าพนักงานเป็นโรคจากความเสียงในการทำงานที่ไม่เคยตรวจกันเลย นอกจากนี้การที่พนักงานเจ็บป่วย ไม่ว่าเจ็บป่วยจากการทำงานหรือไม่ก็ถือเป็นการสูญเสียทรัพยากรของหน่อยงาน เพราะนอกจากมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการหยุดงานแล้ว ยังสูญเสียโอกาสของพนักงานคนนั้น และยังสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เสียไปกับการรักษาอาการเจ็บป่วยนั้นอีกดังนั้นจึงเห็นได้ว่าบุคลากรหรือพนักงานเป็นทรัพย์สินที่สำคัญของหน่วยงานการดูแลพนักงานจึงถือเป็นเรื่องสำคัญเท่ากับหรืออาจจะมากกว่าเครื่องจักร และหน่วยงานควรถือเป็นนโยบายสำคัญในการดูแลบุคลากรหรือพนักงานด้วย ดังนั้นการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านสุขภาพและป้องกันโรคให้กับผู้ประกอบอาชีพอิสระจึงเป็นเรื่องสำคัญเทศบาลนครหาดใหญ่ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในครัวเรือนของผู้ประกอบอาชีพอิสระจึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพอิสระเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคจากการทำงาน สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและลดความเสี่ยงจากการทำงานให้กับกลุ่มอาชีพ จึงจัดทำโครงการ “การป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงทางอาชีพในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่” ในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการทำงาน

ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการทำงาน

0.00
2 เพื่อลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจากการทำงาน

ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจากการทำงานลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 80,000.00 4 40,000.00
30 ส.ค. 61 2.จัดทำโครงการการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงให้ความรู้เกี่ยวกับป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงทางอาชีพอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการโรคที่เกิดจากการทำงานและลดความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงาน 0 40,000.00 39,750.00
30 ส.ค. 61 1. ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องวางแผนจัดทำโครงการการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงทางอาชีพพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ 0 40,000.00 250.00
7 ธ.ค. 61 3.ติดตามและประเมินผลโครงการและกิจกรรม 0 0.00 0.00
7 ธ.ค. 61 4.สรุปโครงการ 0 0.00 0.00

อบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการทำงานและเพื่อลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจากการทำงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการทำงานและในอนาคตความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจากการทำงานลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2561 14:00 น.