กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย
รหัสโครงการ 61-L4118-02-00
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ทีมตำบลควบคุมโรค ตำบลคีรีเขต
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 30,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโกศลไตรสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ นายวันชัยบ่อเงิน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.153,101.116place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2562 30 ส.ค. 2561 30,500.00
รวมงบประมาณ 30,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
30,500.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง มียุงลายและยุงก้นปล่องเป็นพานะนำโรค ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ของอำเภอธารโต จังหวัดยะลา เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-14 ปี รองลงมา คือ เด็กก่อนวัยะรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผุ้ป่วยไข้เลือดออกและมาลาเรียนในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย ในตำบลคีรีเขตเขต อำเภอธารโต ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ถึง พ.ศ.2560 พบจำนวนผู้ป่วยตามลำดับ ดังนี้ (4,52), (10,21), (5,19), (1,10), (3,9) ตามลำดับ และในปี พ.ศ.2560 ตั้งแต่ เดือนมกราคมถึง เดือนธันวาคม 2560 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 5 ราย ไข้มาลาเรียน จำนวน 25 ราย แต่จากสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศที่เป็นรังโรค และในช่วงหลังเมษายน 2561 เริ่มมีฝนตกชุก ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและยุงก้นปล่องมากขึ้น อาจมีแนวโน้มจะเกิดผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ถ้าไม่ได้มีมาตรการควบคุมและป้องกันโรค ดังนั้น การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายและยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียและร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีนนคร ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย โดยทีมตำบลควบคุมโรค ปี 2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

30500.00 30500.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,000.00 0 0.00
1 มิ.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 ค่าวัสน้ำมันเชื้อเพลิง ในการพ่นยุงมีวัสดุอุปกรณ์โดยเฉพาะน้ำมันในการผสมเพื่อพ่นยุงมี 2 ชนิด คือ 1. น้ำมันดีเซลสำหรับการพ่น จำนวน 7 หมู่บ้านๆ ละ 3000 บาท เป็นเงิน 21000 บาท 2. ค่าน้ำมันเบนซิลธรรมดา จำนวน 7 หมู่บ้านๆ ละ 1000 บาท เป็นเงิน 7000 บาท 0 28,000.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ประชุมวางแผนดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 3. ขอรับการสนับสนุนสื่อต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่โรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย จากสำนังานสาธารณสุขอำเภอธารโต 4. ขอสนับสนุนวัสดุ/อุปกรณ์สำหรับการดำเนินงานควบคุมไข้เลือดออกและมาลาเรีย ได้แก่ ทรายอะเบท น้ำยาพ่นหมอกควัน จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอธารโต 5. จัดซื้อวัสดุน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ดำเนินการพ่นหมอกควัน ได้แก่ น้ำมันเบนซิลธรรมดา น้ำมันดีเซล จากงบประมาณในโครงการ และขอสนับสนุนบางส่วนจาก อบต.คีรีเขต

ขั้นดำเนินการ 1. จัดประชุมทีมตำบลควบคุมโรค จำนวน 30 คน ปีละ 3 ครั้ง (ตค, กพ, มิย)
2. กำหนดพื้นที่ในการดำเนินการ โดยการจัดลำดับความเสี่ยง 2.1 สำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายและยุงก้นปล่องในชุมชน พร้อมทั้งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทุก 3 เดือน (ตค., มค., กค.)
2.2 สรุปผลความชุกของแต่ละพื้นที่ 2.3 จัดลำดับพื้นที่ดำเนินการ ก่อน-หลัง 3. รณรงค์ใส่/แจก ทรายอะเบทในชุมชนทุกครัวเรือน เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงก้นปล่อง โดยอาสาสมัครสาะารณสุข ทุก 3 เดือน 4. ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายและยุงก้นปล่องตัวแก่ ใน 7 หมู่บ้าน จำนวน 1 ครั้ง

ขั้นประเมินผล 1. ประเมินการดำเนินงานโครงการส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคีรีเขต และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอธารโต

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น
  2. ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย ด้านการควบคุมพาหะ ด้านสิ่งแวดล้อม และากรป้องกันโรค
  3. สามารถเสริมสร้างความร่วมระหว่างประชาชน และองค์กรในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2561 14:42 น.