กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมวัณโรค
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน 10 กันยายน 2018
งบประมาณ 3,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เงินบำรุงกองทุนหมุนเวียนบัตร ประกันฯ สอ.บ.กะลาเส โดย นายชาติชาย สุทธิธรรมานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2018 1 มิ.ย. 2018 3,400.00
รวมงบประมาณ 3,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค (Tuberculosis:TB) เป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วย และการเสียชีวิตในหลายๆ ประเทศทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศต่างๆ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,๒๕๔๘) ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคประมาณ ๒ พันล้านคน หรือเกือบ ๑ ใน ๓ ของประชากรโลก มีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต ๑.๙๐ ล้านคนในแต่ละปี การขยายงานในการควบคุมวัณโรค ทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เช่น ความยากจน การด้อยโอกาสทางการศึกษา ชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด แรงงานย้ายถิ่น แรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ เป็นต้น จากการคำนวณทางระบาดวิทยาในรายงานขององค์การอนามัยโลกคาดว่า ประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่ทุกประเภทประมาณ ๙๒,๓๐๐ คน ในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ ๔๔,๔๗๕ คนเป็นผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตปีละ ๑๒,๐๘๙ ราย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์รายใหม่ตรวจพบวัณโรคร่วมด้วย ประมาณร้อยละ ๑๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ชนิดเสมหะพบเชื้อจำนวน ๒๕,๙๖๖ ราย รวมผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทมีจำนวน ๕๓,๓๕๗ ราย เสียชีวิต ๒,๕๔๘ ราย อัตราการตรวจพบผู้ป่วยรายใหม่คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๐๐ ซึ่งยังไมบรรลุเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่มีเป้าหมายอัตราการตรวจพบผู้ป่วยรายใหม่ อยู่ที่ร้อยละ ๘๕.๐๐ ภายในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ มีอัตราความสําเร็จของการรักษาคิดเปน รอยละ ๘๓.๐๐ ซึ่งยังต่ำกวาเปาหมายขององค์การอนามัยโลกที่มีเปาหมายอัตราความสําเร็จของการรักษาอยูที่รอยละ ๘๗.๐๐ ภายในป ค.ศ. ๒๐๑๕ (สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๕๓)
สถานการณ์วัณโรคในจังหวัดตรังตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ – ๒๕๕๘ มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ๔๒๑ ราย, ๓๙๘ ราย, ๓๗๘ ราย และ ๓๖๖ ราย ตามลำดับ ซึ่งในปี๒๕๕๕ – ๒๕๕๖ มีรายงานอัตราความครอบคลุมของการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะพบเชื้อ ร้อยละ ๖๗ และร้อยละ ๖๔ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมายร้อยละ ๗o ด้านผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ - ๒๕๕๖ พบว่าผู้ป่วยวัณโรค รายใหม่เสมหะพบเชื้อ มีอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค(Success rate) ร้อยละ ๙o, ร้อยละ ๙๕ ซึ่งได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ ๙o และในปี ๒๕๕๗ พบว่าผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกประเภท มีอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค ร้อยละ ๙o ซึ่งได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ๘๕ แต่เนื่องจากสถานการณ์ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๖-๒๕๕๘ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จำนวน ๒ ราย, ๑ ราย และ ๔ ราย ตามลำดับ อย่างไรก็ตามยังพบว่าความคลอบคลุมของการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคใหม่เสมหะพบเชื้อ (TB case detection)ยังไม่บรรลุเป้าหมายของประเทศโดยภาพรวม (ร้อยละ ๗๐) ซึ่งต้องเร่งรัดในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรด้อยโอกาส และกลุ่มเสี่ยงต่างๆให้คลอบคลุม รวมทั้งการทำงานแบบผสมผสานวัณโรค และโรคเอดส์อย่างจริงจัง เพื่อลดอัตราการตายของผู้ป่วย อีกทั้งป้องกันปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนานอีกด้วย อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)เป็นตัวแทนประชาชนที่ถูกคัดเลือกให้ทำงานด้านสาธารณสุข ปัจจุบันได้รับการยอมรับจากส่วนต่างๆ ทั้งระดับประเทศ และในชุมชนเอง เป็นอย่างดี ซึ่งมีความคล่องตัวต่อการดำเนินงานปรับเงื่อนไขทางสังคม และวัฒนธรรมของชุมชน ให้เอื้อต่อการป้องกันวัณโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง อสม. นับเป็นแกนนำด้านสุขภาพที่มีความสำคัญในชุมชน ได้รับการพัฒนาศักยภาพจากหน่วยงานสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง อสม. เป็นบุคคลที่อาศัยและทำงานในชุมชนประจำ มีระบบเครือญาติและระบบเครือข่ายทางสังคม ย่อมมีความคุ้นเคย เข้าใจสภาพปัญหาในชุมชน ทำให้รู้ปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของชุมชนตนเอง ทำให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาวัณโรค ด้วยชุมชน และเพื่อชุมชนตนเองอสม. เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การติดต่อความรุนแรงของโรค ที่ดีระดับหนึ่ง และเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิด คุ้นเคยกับชุมชน ทำให้เข้าใจสภาพปัญหาต่างๆในชุมชน อย่างดีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในกลุ่ม การระดมความคิดเห็นในการดำเนินงาน การร่วมกำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเองในการดำเนินงาน การร่วมวางแผนดำเนินงาน การฝึกปฏิบัติจริงในชุมชน การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โดยกิจกรรมดังกล่าว จะเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ อสม. ในพื้นที่ มีความสามารถในการดำเนินงานป้องกันวัณโรคปอดได้ด้วยชุมชนเอง ทำให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาวัณโรคในชุมชน ต่อไป ดังนั้นเพื่อผลสำเร็จในการดำเนินงานวัณโรคดังกล่าวจึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมวัณโรคขึ้นเพื่อสำรวจกลุ่มเสี่ยงวัณโรค ๒๕๐ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ๒.เพื่อสร้างความตระหนักของชุมชนในการควบคุมป้องกันโรควัณโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ๓.เพื่อให้อสม.และแกนนำมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของวัณโรคสามารถคัดกรองผู้ป่วยได้ถูกต้อง ๑.๑วัตถุประสงค์เฉพาะ ๑. เพื่อเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนและกลุ่มเสี่ยง ๒. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรค เข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพโดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบ มีพี่เลี้ยง (DOT) โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๓. เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรค ๔. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคี เครือข่ายในการดำเนินงานเสริมสร้างความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคในชุมชน อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมวัณโรคที่ถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 3,400.00 0 0.00
1 มิ.ย. 61 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 3/2561 0 3,400.00 -

๑. การจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ อสม.และแกนนำชุมชน ในเรื่องวัณโรค -การให้ความรู้เรื่องโรควัณโรคแก่ประชาชน, ผู้ป่วยและญาติ - การค้นหา / คัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกรายใหม่ - การให้สุขศึกษา/ข้อมูล/คำแนะนำแก่ประชาชน, ผู้ป่วยและญาติ - การส่งต่อผู้ป่วย -การควบคุมกำกับการกินยาในระยะเข้มข้น และระยะต่อเนื่อง และการดูแลติดตามผู้ป่วยวัณโรคโดยวิธีDOT

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.อสม.และแกนนำที่ได้รับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของวัณโรค ๒.ผู้มีอาการสงสัยว่าเป็นวัณโรคได้รับการคัดกรองวินิจฉัยและการรักษาวัณโรคตามมาตรฐานแนวทางการดำเนินงานวัณโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรกผู้ป่วยได้รับการดูแลการกินยาต่อเนื่องสามารถลดอัตราการเสียชีวิตการขาดยาและการรักษาล้มเหลวทำให้อัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะบวก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2018 14:16 น.