กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยเรียน วัยใส รักอย่างไรไม่ให้เสี่ยง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน 10 กันยายน 2561
งบประมาณ 5,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เงินบำรุงกองทุนหมุนเวียนบัตร ประกันฯ สอ.บ.กะลาเส โดย นายชาติชาย สุทธิธรรมานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 1 มิ.ย. 2561 5,450.00
รวมงบประมาณ 5,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า ทำให้เกิดปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข จากข้อมูลที่ผ่านมาของรายงานจากยูนิเชฟ (UNICEF) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖ พบว่า แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ของไทย มีจำนวนสูงถึง ๑๕๐,๐๐๐ คน ซึ่งเป็นอันดับ ๑ ในเอเชีย และจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็พบว่า เยาวชนมีความรู้เรื่อง เพศศึกษา การคุมกำเนิด การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งยังมีการรับรู้เรื่องเพศไม่ถูกต้อง จากการให้บริการการฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านกะลาเส ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐ จำนวน ๑๑ ราย และ ๑๔ ราย ตามลำดับ พบหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า ๒๐ ปี จำนวน ๕ รายทั้ง ๒ ปีงบประมาณ คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๔๕ และ ๓๕.๗๑ ตามลำดับ ซึ่งคาดว่าจะมีแนวโน้มการตั้งครรภ์ในหญิงอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี เพิ่มมากขึ้นทุกปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านกะลาเส ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการให้ความรู้กับเยาวชนในโรงเรียน เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และพัฒนาการทางเพศของตนเอง โดยให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหาที่ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่อง เพศศึกษาและพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ๒. เพื่อให้เยาวชนมีทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ๓. เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเองและสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง ๔. เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในโรงเรียน

๑. ร้อยละ ๗๐ เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเรื่องเพศศึกษา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,450.00 0 0.00
1 มิ.ย. 61 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 3/2561 0 5,450.00 -

๑. สำรวจรายชื่อนักเรียนในโรงเรียนที่รับผิดชอบและวัยรุ่น อายุ ๑๕-๑๙ ปี
๒. จัดทำแผนปฏิบัติงาน ,ชี้แจงวัตถุประสงค์และประสานงานกับครูในโรงเรียนและ อสม. เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบ ๓. อบรมนักเรียนและวัยรุ่นเพื่อให้ความรู้และทำความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา ๔. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องเพศศึกษาและพัฒนาการของวัยรุ่นมากขึ้น ๒. เยาวชนมีความรู้และมีทักษะ ในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเพศศึกษา ๓. เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้คุณค่าของตนเอง ๔. มีภาคีเครือข่ายในโรงเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2561 15:35 น.