กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองและเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L3344-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร
วันที่อนุมัติ 2 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพลอยไพลิน แดงทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.162,100.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 17,500.00
รวมงบประมาณ 17,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับสามรองจากโรคหัวใจและอุบัติเหตุ มะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรี คือมะเร็งปากมดลูก รองลงมา คือ มะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามในปัจจุบันอัตราตายของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกลดลงเนื่องจากมีการวินิจฉัยและค้นหามะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกหรือความผิดปกติที่อาจกลายเป็นมะเร็งเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการทำ Pap smear ทำให้มีการักษาความผิดปกติเพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้จำนวนของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะรุนแรงลดลง จากผลการศึกษาของ International Agency for Research on Cancer (IARC/WHO) พบว่าถ้ามีการคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกโดยการทำ Pap Smear ในหญิงอายุ 35 - 64 ปี โดยทำ 1 ครั้งทุกปี หรือ 1 ครั้งทุก 2 ปี หรือ 1 ครั้งทุก 3 ปี จะสามารถลดปัญหาโรคมะเร็งปากมดลุกได้ถึง 91 -93 % แต่ถ้าทำ 1 ครั้งทุก 5 ปี จะสามารถลดปัญหาโรคมะเร็งปากมดลูกได้ 84% ในปีงบประมาณ 2560 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร ดำเนินการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมายสตรี อายุ 30 - 60 ปี ที่ไม่เคยรับการตรวจคัดกรอง Pap Smear ในรอบปี 255๘ – 25๖๒ จำนวน ๔๙๑ คน ได้รับการตรวจ Pap Smear จำนวน ๑๓๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๗๐ ผลการตรวจไม่พบเชื้อมะเร็งปากมดลูก แต่พบการติดเชื้อราในช่องคลอด จำนวน ๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒.๒๑ และการคัดกรองมะเร็งเต้านมแก่กลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ ๓๐ – ๗๐ ปี จำนวน ๕๘๐ คน ได้รับการตรวจเต้านมตนเอง ๕๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ 93.10 ผลการตรวจพบความผิดปกติ จำนวน ๑ ราย คิดเป็นร้อยละ 0.18 จากรายงานผลการตรวจจะเห็นว่าการเฝ้าระวังและการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกยังมีผู้เข้าร่วมโครงการน้อย แต่เพื่อให้การเฝ้าระวังการเกิดโรคที่รุนแรงสตรีกลุ่มเป้าหมายควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีนโยบายให้ทุกจังหวัดดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดเป้าหมายในระยะเวลา ๕ ปี ตั้งแต่ 2558 - 2562 ให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง Pap Smear ร้อยละ 80 และสามารถตรวจเต้านมตนเองได้ถูกต้อง ร้อยละ ๙๐ ของกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองและเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ประจำปี ๒๕๖๑ ขึ้น โดยเป็นการคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกซึ่งจะส่งผลให้สามารถได้รับรักษาพยาบาลได้ทันท่วงทีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และเต้านม

 

0.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม

 

0.00
3 3. เพื่อกลุ่มเสี่ยงได้รับการรักษาหรือส่งต่อที่ถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11.00 0 0.00
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าวัสดุประชุมฯ 0 11.00 -

ระยะเตรียมการ

  1. ประชุมเจ้าหน้าที่ในเครือข่ายอสม.เพื่อค้นหาปัญหา
  2. นำเสนอปัญหาพร้อมเขียนโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าวและอสม.

ระยะดำเนินการ

  1. ศึกษาพฤติกรรม/ปัญหาและความต้องการของสตรีกลุ่มเป้าหมายในช่วงที่ผ่านมา
  2. ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน/อสม./ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหา

  3. จัดทำแบบเสนอโครงการเพื่อขอของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ๔. ประชาสัมพันธ์/จัดทำและขออนุมัติโครงการ

  4. ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเต้านมแก่กลุ่มเป้าหมาย
  5. จัดทำทะเบียนกลุ่มปกติ/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย

ระยะหลังดำเนินการ

  1. ติดตามประเมินผล
  2. สรุปผลการดำเนินงาน
  3. ประเมินผล/สรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับคัดกรอง >= ร้อยละ ๙๐
2.กลุ่มปกติมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านมเพิ่มขึ้น
3.กลุ่มเสี่ยงได้รับการเยี่ยมบ้านและกลุ่มป่วยได้รับการส่งต่อทุกราย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2561 11:21 น.