กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็งโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงหัวใจและหลอดเลือด หมู่ที่ 4 บ้านหัวเปลว ตำบลชะมวง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็งโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงหัวใจและหลอดเลือด หมู่ที่ 4 บ้านหัวเปลว ตำบลชะมวง
รหัสโครงการ 60-50105-02-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมอสม.หมู่ที่ 4 บ้านหัวเปลว
วันที่อนุมัติ 20 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,075.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม. หมู่ที่ 4 บ้านหัวเปลว
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.765,99.956place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือโรคมะเร็ง โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราตาย 85.04 ,3.64 , 55.25 ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ.2550)และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก เฉพาะโรคมะเร็งอย่างเดียว ประมาณคนละ 1 ล้านบาท ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอแม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง และจากการสำรวจของกรมอนามัยในปี2550 พบว่าคนไทยมีเพียง 5ล้านคนเท่านั้นที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ สำหรับการรับประทานอาหารนั้น จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า15ปีโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 ของภาควิชาโภชนวิทยาคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลและภาควิชา เวชศาสตร์ชุมชนคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลโดยเก็บจากประชากรกลุ่มศึกษาอายุมากกว่า15ปี จำนวน39,290คนพบว่า กลุ่มศึกษามีความถี่เฉลี่ยการบริโภคผักและผลไม้เท่ากับ 5.97และ4.56 วันต่อสัปดาห์ตามลำดับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการปฏิบัติจริง2 กระบวนการได้แก่
1. การออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5วันๆละอย่างน้อย30นาที 2. การรับประทานผักและผลไม้สด วันละครึ่งกิโลกรัม หรือรับประทานผักในปริมาณ ครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ และลดการรับประทานอาหารไขมัน จะสามารถทำให้ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ 20-30 โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดก็ลดลงมากเช่นกันทั้งการออกกำลังกายและการปลูกผักร่วมกันยังเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวอีกด้วย
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านหัวเปลวจึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด ขึ้นเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน ๆ ละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการกินผัก ผลไม้สดวันละอย่างน้อย 5 ขีดขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัม) และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

 

2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน ๆ ละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการกินผักผลไม้สดวันละอย่างน้อย 5 ขีดขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัม) และลดอาหารไขมันของหมู่บ้านต้นแบบลดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

 

3 เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านต้นแบบแบบลดโรคฯ มีความรู้และพฤติกรรมในการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาละ 3 วัน ๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการกินผัก ผลไม้สดวันละอย่างน้อย 5 ขีดขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัม) และลดอาหารไขมัน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมเครือข่าย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
  2. ประสานงานภาคีเครือข่าย แต่งตั้งคณะทำงาน
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและรวบรวมผลการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ
  5. จัดทำเวทีประชาคม แต่งตั้งคณะทำงานระดับหมู่บ้านขับเคลื่อนการดำเนินงาน
  6. ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์โรคไม่ติดต่อของหมู่บ้าน
  7. สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพเบื้องต้นและตรวจ หาสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 2 ครั้ง
  8. จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างปัจจัยเอื้อต่อการลดโรคและควบคุมป้องกัน โรคไม่ติดต่อ
  9. พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน ด้านการออกกำลังกายและด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ
  10. ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย
  11. จัดเวทีสุขภาพเพื่อนำเสนอกิจกรรมการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ฯ
  12. สรุปรายงานผลการดำเนินงานและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในหมู่บ้านมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่เหมาะสมอย่างน้อย 3 พฤติกรรม คือ กินผัก ผลไม้สด ปลอดสารพิษทุกวัน อย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัมต่อวันต่อคน ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง และ ออกกำลังกายตามวัยที่เหมาะสมอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน
  2. เกิดหมู่บ้านต้นแบบที่เป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2560 10:04 น.