กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์คุณภาพ ครอบครัวสุขภาพดี ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5313-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.ละงู
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอานีซะห์ ยาหมาย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 พ.ย. 2561 26 พ.ย. 2561 9,000.00
2 27 พ.ย. 2561 27 พ.ย. 2561 9,100.00
3 28 พ.ย. 2561 28 พ.ย. 2561 7,700.00
รวมงบประมาณ 25,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 135 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัยเพื่อให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างองค์รวมทั้งสุขภาวะทางกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ซึ่งปัจจัยสำคัญประการหนึ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวคือการได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพ ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตัวในด้านสุขภาพที่ดี ได้แก่ ภาวะโภชนาการ การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ กิจกรรมทางด้านร่างกาย และการออกกำลังกายการละเว้นจากบุหรี่เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือยาอื่นๆในขณะตั้งครรภ์ การยอมรับและจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม ลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์เช่น ภาวะขาดสารอาหารโลหิตจางขาดไอโอดีนและพลังงาน ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (น้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม) ทารกพิการแต่กำเนิดรวมทั้งการคลอดตาย จากการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปี ๒๕๖๐ พบว่าหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทั้งหมดจำนวน ๖๐ คน มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ (Early ANC) จำนวน 34 คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๖มาบริการฝากครรภ์ อย่างน้อย ๕ ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ ๕๐ ซึ่งส่วนนี้จะทำให้ จนท.สาธารณสุขดูแลปัจจัยเสี่ยงต่างๆระหว่างการตั้งครรภ์ได้ดียิ่งขึ้น สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความเสี่ยง ได้พบแพทย์ร้อยละ ๑๐๐ ปี ๒๕๖๐ พบหญิงคลอดทั้งหมด ๖๐ คน ทุกคนคลอดในสถานบริการ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ แต่มีรายงานพบภาวะซีดใกล้คลอด จำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖ ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดในช่วงคลอด แต่ไม่พบรายงานมารดาตาย และทำให้เสี่ยงต่อการกำเนิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ สติปัญญา และการเรียนรู้ของเด็กต่ำไปด้วย มีรายงานพบทารกน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม จำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๕ แต่ไม่พบทารกคลอดตาย จะเห็นได้ว่ายังพบปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการเสียชีวิตทั้งแม่และลูกอยู่ ประกอบกับหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลละงู จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ตามมาตรฐานจาก จนท. สาธารณสุข

๑. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกคนพร้อมสามีหรือญาติได้รับการอบรมให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่อย่างน้อย 1 ครั้ง
๒. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับบริการฝากครรภ์ ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์(Early ANC) ไม่ต่ำร้อยละ 80
๓. หญิงตั้งครรภ์ที่พบภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อพบแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง ร้อยละ 100
๔. หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์ อย่างน้อย ๕ ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๐
๕. หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๐

80.00
2 เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อมารดา และทารกในครรภ์

หญิงตั้งครรภ์พบภาวะโลหิตจาง (ช่วงไตรมาศที่ 3/ช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์) ไม่เกินร้อยละ ๑๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,000.00 3 25,800.00
1 พ.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดตั้งชมรม 0 5,900.00 9,000.00
1 พ.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 อบรมให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่ 0 9,000.00 9,100.00
1 พ.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 คู่แต่งงานใหม่ 0 9,100.00 7,700.00

ขั้นที่ ๑ เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ ๑. อสม.รณรงค์ค้นหาและติดตามให้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในพื้นที่มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ๒. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ
๓. ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน และติดตามกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นที่ ๒ ดำเนินการตามโครงการ
๔. จัดประชุมแกนนำและจัดตั้งชมรม สานสายใยใส่ใจลูกรักเพื่อขับเคลื่อนงานอนามัยแม่และเด็ก ๕. จัดกิจกรรมให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่แก่หญิงตั้งครรภ์ทุกคน พร้อมสามีหรือญาติ เป็นรายกลุ่มๆ ละ ๒ ครั้ง โดยครั้งแรกช่วงตั้งครรภ์ และครั้งที่สองช่วงใกล้คลอดหรือช่วงหลังคลอด มีการประเมินความรู้ก่อนและหลังจัดกิจกรรม
๖. จัดวางป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ พร้อมเปิดวิดีโอ เกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในช่วงการตั้งครรภ์ ช่วงหลังคลอด และเกี่ยวกับการดูแลส่งเสริมภาวะโภชนาการพัฒนาการเด็กในช่วงเวลาเปิดบริการคลินิกฝากครรภ์ (ANC) ๗. ค้นหาคู่แต่งงานใหม่ และจัดกิจกรรม “ข้าวใหม่ปลามัน” และจัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องอนามัยแม่และเด็กในคู่แต่งงานใหม่ที่ยังไม่มีบุตรหรือวางแผนกำลังจะมีบุตรหรือกลุ่มพ่อแม่มือใหม่พร้อมจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กและยากรดโฟลิคสำหรับคู่ที่พร้อมจะมีบุตร และมีการประเมินความรู้ก่อนและหลังจัดกิจกรรม
๘. จัดกิจกรรม “กินยา เพิ่มวิตามินซี ลดซีด ลดเสี่ยง” ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการกินยาเสริมธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง โดยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหญิงตั้งครรภ์ แสดงอาหารตัวอย่างที่ไม่ควรกินร่วมกับยาเสริมธาตุ แสดงอาหารตัวอย่างที่มีวิตามินซีที่เป็นอาหารที่ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก (ยาวิตามิน/น้ำ/ผักผลไม้สด เช่น ฝรั่ง มะนาว สตอเบอร์รี่ ส้ม สัปปะรด มะเขือเทศฯลฯ) และการกินยาเสริมธาตุเหล็ก (Ferrous fumarate 200 mg ที่มีธาตุเหล็ก ๖๕ mg) พร้อมกับอาหารที่มีวิตามินซี โดยมีการประเมินผลจากการตรวจความเข้มข้นเลือด (Hct/Hb) ในกลุ่มดังกล่าวทุกๆ ๑ เดือน ๙. ติดตามให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ ส่งต่อหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงพบแพทย์ และติดตามเยี่ยมหลังคลอด ขั้นที่ ๓ สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล ๙. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ และรายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ ขั้นที่ ๔ การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ๑๐. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเตรียมตัวมีบุตร และการฝากครรภ์สำหรับคู่สมรสใหม่ และในกลุ่มวัยรุ่น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ และเกิดความตระหนักในการเข้ารับการตรวจครรภ์จาก จนท.สาธารณสุข ก่อนอายุครรภ์๑๒ สัปดาห์ และต่อเนื่อง โดยไม่พบภาวะเสี่ยงหรือภาวะลดลง
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจพบภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อเพื่อรับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลดภาวะเสี่ยงของแม่และทารก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2561 09:31 น.