กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5313-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.ละงู
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาทินันทน์ สมุทรสารัญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2560 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สํานักระบาดวิทยา ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF, Dengue haemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 46,712 ราย อัตราป่วย 71.40 ต่อประชากรแสนคน มีการรายงานจํานวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 16.39 (0.83 เท่า) เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2559 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ผู้ป่วยเสียชีวิต 58 ราย อัตราป่วยตายเท่ากับ ร้อยละ 0.12 ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 831 ราย การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 10-14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 216.67 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี (152.99), อายุ 15-24 ปี (124.71) อายุ 0-4 ปี (72.67) และอายุ 25-34 ปี (71.70) ตามลําดับ สัดส่วนอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ นักเรียน ร้อยละ 42.83 รองลงมาได้แก่ รับจ้าง (ร้อยละ 20.26) และ ไม่ทราบอาชีพ (ร้อยละ 19.12) ตามลําดับ ผู้ป่วยเพศชาย 24,155 ราย เพศหญิง 22,557 ราย คิดเป็นอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1 : 0.93 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่าภาคใต้ มีอัตราป่วยสูงที่สุด เท่ากับ 124.60 ต่อประชากรแสนคน จํานวนผู้ป่วย 11,525 ราย รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง อัตราป่วย 77.22 ต่อประชากรแสนคน จํานวนผู้ป่วย 16,993 ราย ภาคเหนืออัตราป่วย 74.42 ต่อประชากรแสนคน จํานวนผู้ป่วย 9,147 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราป่วย 41.35 ต่อประชากรแสนคน จํานวนผู้ป่วย 9,047 ราย ตามลําดับ จังหวัด สตูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560ถึงวันที่24 พฤศจิกายน 2560 นับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2560 ถึงวันที่24 พฤศจิกายน 2560 สสจ.สตูลได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวม(26,27,66)จำนวนทั้งสิ้น 61 รายคิดเป็นอัตราป่วย 19.48ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 2ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.64 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ3.28 พบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายโดยพบเพศหญิง 33รายเพศชาย 28รายอัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ1.18 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 15 -24ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ30 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ10 - 14ปี 25 - 34ปี,5 - 9ปี,0 - 4ปี, 55 -64 ปี, 45 - 54ปี,35 - 44 ปี และ 65ปี ขึ้นไปจำนวนผู้ป่วยเท่ากับ8,6,6,5,2, 2, 2และ 0ราย ตามลำดับ อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียนจำนวนผู้ป่วยเท่ากับ28รายรองลงมาคือ อาชีพรับจ้าง, อาชีพ นปค., อาชีพเกษตร, อาชีพงานบ้าน, อาชีพราชการ, อาชีพอื่นๆ, อาชีพประมง, อาชีพทหาร/ตำรวจ, อาชีพบุคคลากรสาธารณสุข, อาชีพอาชีพพิเศษ, อาชีพนักบวช, อาชีพเลี้ยงสัตว์, อาชีพครู, อาชีพค้าขาย, จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 11,7,7,3,2,1,1,1,0,0,0,0,0,0, ราย ตามลำดับ อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอ มะนัง อัตราป่วยเท่ากับ 45.11ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อำเภอท่าแพ, อำเภอทุ่งหว้า, อำเภอ เมือง, อำเภอละงู, อำเภอควนกาหลง,อำเภอควนโดน, อัตราป่วยเท่ากับ 35.04, 33.84,19.56, 11.31, 8.78, 7.73ราย ตามลำดับ จากสถานการณ์ในพื้นที่อำเภอละงู มีผู้ป่วยสะสม ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 25๖๐ จำนวน ๙๖ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๑.๓๑ ต่อประชากรแสนคน (รายงาน E1 ศูนย์ระบาดโรงพยาบาลละงู: 25๖๐) อัตราป่วยต่อแสนประชากร 5 ปี ย้อนหลัง ๒๕๕๖-25๖๐ เท่ากับ 233.62, 117.81, ๔.๓๑, ๕๑.๖๒ และ ๑๑.๓๑ ตามลำดับ (รายงาน 506 ศูนย์ระบาดโรงพยาบาลละงู: 25๖๐) และจำนวนผู้ป่วยสะสม โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู ทั้ง 5 หมู่บ้าน จำนวน 10 ราย พบว่ามีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วย 3 ปีย้อนหลัง และจากการวิเคราะห์การกระจายโรคตามพื้นที่พบว่ามีการกระจายโรคในชุมชนเป็นหลัก ที่มีหลังคาเรือนติดกัน 15 – 20 หลัง (พื้นที่หมู่ 2 บ้านปากละงูและหมู่ 18 บ้านโคกพยอม) รองลงมาเป็นโรงเรียน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียน และวัยทำงาน สาเหตุการแพร่กระจายโรค ส่วนใหญ่จากการเคลื่อนย้ายระหว่างหมู่บ้านที่มีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ และอีกปัจจัยคือการสุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย แสดงให้เห็นว่ามาตรการในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคยังขาดความร่วมมือของชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือในระดับครัวเรือน ในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการรณรงค์ สื่อสารความเสี่ยงให้ทั่วถึง และบูรณาการทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาจากความสำคัญข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละงู จึงตระหนักและให้ความสำคัญในการดำเนินงานควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขในพื้นที่ อันส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาระดับประเทศ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ ป้องกัน และควบคุมไข้เลือดออก ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ เพื่อจัดการการป้องกันควบคุมโรคในชุมชนให้มีประสิทธิภาพด้วยการเสริมพลังการทำงานของเครือข่ายในชุมชนอย่างมีระบบและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และแนวทางในการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

80.00
2 เพื่อเตรียมความพร้อมโรคระบาดไข้เลือดออกแก่เครือข่าย

รณรงค์ป้องกันในสถานศึกษา ทั้งสอง ภาคเรียน รณรงค์ป้องกันในหมู่บ้านทุกๆ 3 เดือน

100.00
3 เพื่อหามาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย

มีมาตรการ/ข้อตกลงการป้องกันโรคไข้เลือดออกทุกหมู่บ้าน (5 หมู่บ้าน)

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,000.00 3 50,000.00
1 ม.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 รณรงค์ ป้องกัน ก่อน เกิดโรคไข้เลือดออก 0 29,500.00 29,500.00
1 ม.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ควบคุมขณะเกิดโรคไข้เลือดออก 0 8,000.00 8,000.00
22 มิ.ย. 61 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก 0 12,500.00 12,500.00

1.ประชุมวางแผนการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่รับผิดชอบ 2.อบรมให้ความรู้ การควบคุมป้องกันโรค วัดความรู้และคืนข้อมูลสุขภาพในพื้นที่ 3.ร่วมออกรณรงค์ในหมู่บ้าน 4.วางมาตรการควบคุมโรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วย ปี 25๖๑ ไม่เกินเกณฑ์อัตราป่วย ๕๐ ต่อประชากรแสนคน
2.ค่า HI CI ในพื้นที่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 3. เครือข่ายความเข้าใจที่ถูกต้องสามารถกระจ่ายข่าวในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2561 09:58 น.