กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลอดโรคปลอดภัยป้องกันโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 8
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณะสุข หมู่ที่ 8
วันที่อนุมัติ 18 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมณฑิรา รมณารักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังหมายถึงโรคที่รักษาไม่หาย การรักษาเป็นเพียงการพยุงไม่ให้มีการสูญเสียการทำงานของร่างกายมากขึ้น โรคเรื้อรังมีหลายประเภท เช่นโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจวาย โรคไตวาย โรคข้อเสื่อมเป็นต้น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคของหัวใจและหลอดเลือดที่มีความสัมพันธ์กัน โรคเรื้อรังเหล่านี้พบในคนทำงาน ซึ่งมีช่วงอายุตั้งแต่ 16 – 60 ปี โรคเรื้อรังแต่ละโรคมีความสัมพันธ์กัน ในทางการแพทย์มีชื่อเรียกแยกต่างหากออกไปเช่นกลุ่มอาการเมตาโบลิค หรือ ซินโดรม X ซึ่งผู้ป่วยจะอ้วน เป็นเบาหวาน และมีความดันโลหิตสูงดังนั้นจึงพบโรคเรื้อรังได้หลายอย่างในคนเดียวกัน โรคเรื้อรังเหล่านี้ จะมีผลต่อหลอดเลือด ในหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตัน จึงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดสมองตีบหรือเส้นเลือดสมองแตกทำให้เป็นอัมพาต ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบเกิดกล้ามเนื้อหัวใจทำงานไม่ได้ เป็นได้ทั้งหัวใจวาย เจ็บ เจ็บหน้าอกการรักษาด้วยยาในโรคเหล่านี้มักจะไม่ได้ผลถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย โดยผู้ป่วยจะต้องละเว้นอาหารบางอย่างที่ทำให้โรคเหล่านี้มีอาการมากขึ้น รวมทั้งจะต้องออกกำลังกาย เนื่องจากความอ้วนทำให้โรคเหล่านี้เป็นมากขึ้น หรือเป็นสาเหตุของโรคเหล่านี้เอง เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญมาก ทั้งเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหารการกินยาการออกกำลังกาย และด้านอารมณ์มีความสำคัญมากในการป้องกันการเกิดโรคและลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ทางเทศบาลบ้านไร่ เห็นความสำคัญจึงให้ประชาชนหมู่ที่ ๘ หันมาสนใจในการปลูกผักในการรับประทานเองซึ่งมีทั้งความปลอดภัยจากสารเคมีและได้มีการออกกำลังกายใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ส่งเสริมความรักความสามัคคีในครอบครัวและเป็นการให้ชุมชนหันกลับมาดำเนินชีวิตเศรษฐกิจแบบพอเพียงในการป้องกันโรคเน้นในด้านการป้องกันมากกว่าการรักษาพยาบาลและให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในชุมชนสามารถใช้ชีวิตอยู่กับโรคและสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างถูกวิธีแบบพึ่งพาตนเอง ไม่ต้องพึ่งยามากเกินความจำเป็น การปลูกผักปลอดสารพิษผักอินทรีย์ รั้วกินได้ เป็นการใช้ผักพื้นบ้านที่มีในชุมชนซึ่งสรรพคุณมีส่วนในการป้องกันและลดการเกิดโรคความดันและเบาหวาน และปลอดภัยจากสารพิษใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ส่งเสริมความรักความสามัคคีในชุมชนและนำเศษขยะมาเป็นปุ๋ยชีวภาพอีกทั้งยังสามารถแก้ปัญหาทางจิตใจ และมีการแลกเปลี่ยนผักที่มีเหลือในครัวเรือนในการรับประทานกับครัวเรือนอื่นในชุมชนทำให้มีการบริโภคผักที่หลากหลายชนิดและช่วยป้องกันการเกิดโรคความดัน เบาหวานและมีความปลอดภัยจากการใช้สารเคมี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านไร่ได้รับการตรวจคัดกรองป้องกันโรคเรื้อรัง

 

0.00
2 2 เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

0.00
3 3 ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

 

0.00
4 4 ลดอัตราการการเกิดโรคความดันและเบาหวาน

 

0.00
5 5 ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ ผักอินทรีย์ รับประทานป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ

 

0.00
6 6 เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังในหมู่ที่ ๘ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการ
    1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
    2. ประชุมชี้แจงโครงการและวางแผนการดำเนินงาน
    3. แต่งตั้งคณะทำงานในการดำเนินงาน
    4. สำรวจกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการ
    5. ตรวจสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการก่อนและหลังดำเนินโครงการ (ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ตรวจสารเคมีในเลือด)
    6. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการผักปลอดสารพิษ การเลือกซื้อการปลูก การล้าง การเก็บ การรับประทานอาหารและความเสี่ยงจากการบริโภคพืชผักปนเปื้อนสารเคมี
    7. จัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน โดยปลูกผักหลากหลายครัวเรือนละ 10 ชนิด
    8. ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนผักผลไม้เพื่อการบริโภคและแลกเปลี่ยนกล้าผัก
    9. คณะทำงานติดตามเยี่ยมบ้านและประเมินผลกิจกรรมเดือนละครั้ง
    10. สรุปผลการดำเนินโครงการ
    11. ประเมินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1ประชาชนมีสุขภาพที่มีผู้ป่วยเรื้อรังลดลง ลดภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพจากการบริโภคพืชผักปนเปื้อนสารพิษ 2ประชาชนในท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3ประชาชนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงด้านสุภาพที่ดี มีการบริโภคผักเพิ่มขึ้น 4ส่งเสริมให้คนในชุมชนได้บริโภคผักที่สะอาด และปลอดภัย 5ประชาชนรับประทานพืช ผักพื้นบ้านเป็นยา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2561 10:38 น.