กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยงลดโรคห่างไกลจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 61-L4148-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 17 พฤษภาคม 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2018 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2018
งบประมาณ 18,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมีซัน มณีหิยา
พี่เลี้ยงโครงการ นางไอลดา เจ๊ะหะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.457,101.133place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเช่น โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางโรคเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นและมีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มและมีความรนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่ง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนและไม่เหมาะสมทางโภชนาการ การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป ขาดการออกกำลังกายและมีความเครียดจากครอบครัวและสังคม จากการศึกษาแนวทางปฏิบัติการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดยะลาพบว่าปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ปัจจัยเสี่ยงรองได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การบริโภคที่ไม่สมดุล รวมทั้งประชาชนมีความรู้ที่ไม่ถูกต้องและไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเหล่านั้น จากข้อมูลการคัดกรองความดันโลหิตสูงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมาย 2,211 คน และปี2560 ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ พบว่าประชากรกลุ่มเสี่ยง จำนวนทั้งสิ้น 1,115 คนจากประชากร 2,211 คน สถานการณ์จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน442 คนเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 292 ราย และผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 150 ราย ด้านคุณภาพการดูแลสุขภาพพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ต่ำกว่า 140/90 mmhg จำนวน 180 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.72 และมีภาวะแทรกซ้อนจำนวน34 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.64 ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จำนวน 48 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.00 พบภาวะแทรกซ้อน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ6.66 ด้วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ มีความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูง โดยความร่วมมือของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโร๊ะ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยงลดโรคห่างไกลจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลตนเองลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนและการสูญเสียของประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ มีสุขภาพดี ห่างไกลโรคเบาหวาน โรค ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็งบางชนิด

    1.ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับยาอย่างต่อเนื่อง 2.ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ในเรื่องโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง การดูแลสุขภาพการรับประทานอาหารและยา การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพตา ไต เท้า ทั้งสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง 3. ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีการควบคุมความดันโลหิตได้ 4.ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยเบาหวานมีการควบคุมระดับระดับน้ำตาลได้  

200.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ติดป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ
2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเรื่องการปรุงอาหารและการดูแลผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้และควบคุมค่าระดับค่าความดันโลหิตสูงได้ จำนวน 120 คน
3.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มป่วยที่ควบคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จำนวน 100 คน โดยมีผู้ป่วยต้นแบบเป็นวิทยากร 4.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มป่วยที่ควบคุมค่าระดับความดันโลหิตสูงไม่ได้ จำนวน 100 คน โดยมีผู้ป่วยต้นแบบเป็นวิทยากร 5.สาธิตอาหารลดหวานมันเค็ม ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดันจากการคัดกรอง 35ปีขึ้นไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับยาอย่างต่อเนื่อง 2.ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ในเรื่องโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง การดูแลสุขภาพการรับประทานอาหารและยา การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพตา ไต เท้า ทั้งสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง 3. ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีการควบคุมความดันโลหิตได้ 4.ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยเบาหวานมีการควบคุมระดับระดับน้ำตาลได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2018 11:22 น.