กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่น/"เปิดห้องเรียนพ่อแม่ ดูแลหัวใจ ลูกหลานปลอดภัย ไม่ตั้งท้องก่อนวัยอันควร"
รหัสโครงการ 61-L5224-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลปากแตระ
วันที่อนุมัติ 13 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 13,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลปากแตระ
พี่เลี้ยงโครงการ นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.766,100.358place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีแนวโน้มของการคลอดบุตรจากแม่วัยรุ่นอายุ 10 - 19 ปีเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และมีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี เพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง จากรายงานสถิติการคลอดของหญิงวัยรุ่นอายุ15 - 19 ปีต่อหญิงวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปีพันคน ในประเทศไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ.2557 - 2559 พบว่า ร้อยละการคลอดของหญิงวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปี เท่ากับ 47.9, 44.8 และ 42.59 ตามลำดับ นอกจากนี้จำนวนในการคลอดซ้ำของวัยรุ่นก็พบว่ายังมีอัตราที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่งผลกระทบตามมาหลายด้าน เช่น เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ การยุติการตั้งครรภ์ การขาดโอกาสทางการศึกษา ฯลฯ จากรายงานการเฝ้าระวังทางพฤติกรรมของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารสุข พบว่า วัยรุ่นเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุน้อยลงเรื่อยๆ ระหว่าง 10 - 15 ปี และยังพบว่าการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกส่วนใหญ่ไม่มีการใช้ถุงยางอนามัยมากถึงร้อยละ 50 ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัย ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้วิธีการคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ได้ใช้วิธีการป้องกันใดๆ ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมพบว่า มารดาวัยรุ่นมีโอกาสสูงที่จะหยุดการศึกษากลางคันหรือเรียนไม่จบ เนื่องจากในหลายประเทศ การตั้งครรภ์ในขณะที่เป็นนักเรียนยังไม่เป็นที่ยอมรับ เป็นเรื่องน่าอับอาย ทำให้หญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ถูกบังคับทั้งทางตรงหรือทางอ้อมให้ออกจากโรงเรียน
จังหวัดสงขลาในปีงบประมาณตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 - 2560 พบว่า ร้อยละอัตราการคลอดของวัยรุ่นหญิงอายุ 15 - 19 ปีเท่ากับ 27.94,32.28 และ 26.59 ตามลำดับ ในส่วนของอำเภอระโนดพบว่า ยังมีปัญหาอัตราการคลอดของหญิงวัยรุ่นในปีงบประมาณตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 - 2560 เท่ากับ 32.67,25.82 และ 19.19 ตามลำดับต่อพันประชากรวัยรุ่นหญิง อายุ 15 - 19 ปี การป้องกันปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกเหนือจากโรงเรียนต้องให้ความรู้แก่ตัววัยรุ่นเองเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันและมีทักษะในการใช้ชีวิตทางเพศแล้ว ครอบครัวก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งหน้าที่สำคัญของพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในเรื่องเพศ คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดผ่านการสนทนาแบบ“เปิดใจคุย” ซึ่งการมีส่วนร่วมของกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครอง จึงเป็นภาคีสำคัญ ในการร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศของเยาวชน เพื่อป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบอันเกิดจากการใช้ชีวิตทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
จากปัญหาและความสำคัญข้างต้นทางชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลปากแตระ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะและลดการตั้งครรภ์วัยรุ่น “เปิดห้องเรียนพ่อแม่ ดูแลหัวใจ ลูกหลานปลอดภัย ไม่ตั้งท้องก่อนวัยอันควร” เพื่อมุ่งหวังให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่มีบุตรหลานในวัยเรียน ได้มีการพูดคุย สื่อสารเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์กับบุตรหลานก่อนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่มีบุตรในวัยเรียน มีทัศนคติที่ดีในเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ กล้าที่จะเริ่มพูดคุยกับบุตรหลาน เพื่อส่งผลให้บุตรหลานในวัยเรียนเจริญเติบโตเป็นวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมและปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้พ่อแม่หรือผู้ปกครอง มีทักษะการสื่อสารกับบุตรหลานวัยเรียนที่จะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นในเรื่องเพศที่ถูกต้อง

พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะการสื่อสารกับบุตรหลานวัยเรียนที่จะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นในเรื่องเพศที่ถูกต้อง ร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และทัศนคติที่ดีในเรื่องเพศ การคุมกำเนิด พัฒนาการตามช่วงวัยเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกเพื่อส่งเสริมให้เกิดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศ

พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และทัศนคติที่ดีในเรื่องเพศ การคุมกำเนิด พัฒนาการตามช่วงวัยเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดในการจัดทำโครงการกับคณะทำงาน เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง พร้อมแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 2. สำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5โรงเรียนบ้านรับแพรก จำนวน 40 คน 3. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านไวนิล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและติดต่อประสานงานกับทางโรงเรียน เตรียมวัสดุอุปกรณ์ 5. จัดกิจกรรมเปิดห้องเรียนพ่อแม่ให้กับพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่มีบุตรหลานวัยรุ่นให้ความรู้ ทักษะ เรื่องเพศ
แก่ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดตะพังหม้อ จำนวน 40 คนในพื้นที อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปโครงการ ระยะดำเนินการ 1. กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 1.1กิจกรรมการส่งเสริมความรู้และทัศนคติ โดยการอบรมความรู้และทัศนคติที่ดีในเรื่องเพศ การคุมกำเนิด พัฒนาการตามช่วงวัยเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก และจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังจากเข้าร่วมอบรม 1.2 ประเมินความรู้และทัศนคติ ก่อน – หลังการอบรม 2. กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 2.1 กิจกรรมเสริมทักษะในการพูดคุยสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรหลาน เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ระยะหลังดำเนินการ 1. สรุปและประเมินผลโครงการ 1.1 ประเมินความรู้และทัศนคติ ก่อน - หลังการอบรม 1.2 ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.พ่อแม่หรือผู้ปกครอง มีความรู้และทัศนคติที่ดีในเรื่องเพศ การคุมกำเนิด พัฒนาการตามช่วงวัยเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกเพื่อส่งเสริมให้เกิดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศ 2.พ่อแม่หรือผู้ปกครอง มีทักษะการสื่อสารกับบุตรหลานวัยเรียนที่จะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นในเรื่องเพศที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2561 10:01 น.