กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด ชุมชนบ้านร่วมใจพัฒนา ปี2561
รหัสโครงการ 2651-L7572-02-034
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนบ้านร่วมใจพัฒนา
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 15 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 16,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพริ้ม พรหมมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือด อันเกี่ยวเนื่องมาจากพฤติกรรมและวิถีชีวิต มีแนวโน้มสูง ทั้งๆที่เป็นโรคที่สามารถลดอุบัติการณ์ได้หากประชาชนจะหันมาดูแลตนเองด้วยการมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง มีการรับประทานอาหารที่เหมาะสม สนใจการควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกาย และควบคุมความเครียด ซึ่งทั้งนี้จากการตรวจคัดกรองสุขภาพ ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นการค้นหาภาวะเสี่ยง พบว่า ชุมชนร่วมใจพัฒนา มีแนวโน้มที่พบผู้ที่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงขึ้นทุกปีอีกทั้งความสามารถในการควบคุมโรคของประชาชนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ก็ยังมีผลดีขึ้นอย่างไม่น่าพอใจประชาชนยังต้องทนกับทุกข์ที่เกิดขึ้น ขาดแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพที่เป็นมายาวนาน ขาดความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการควบคุมตนเอง นอกจากนี้ยังพบว่าคนในชุมชนส่วนมากบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งตัวผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างจริงจัง เพื่อให้ชาวชุมชนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักสดและผลไม้สดวันละอย่างน้อย 5ขีดขึ้นไป(ครึ่งกิโลกรัม )และลดอาหารไขมันซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดลง จากการดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุ 35ปีขึ้นไป ปี ของชุมชน ร่วมใจพัฒนา ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง ผลการตรวจคัดกรองโรค พบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิต 120/80 – 139/89 มิลลิเมตรปรอท (เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและหัวใจหลอดเลือด) จำนวน 50 คนพบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิต 140/90 มิลลิลิตรปรอท ขึ้นไป (สงสัยเป็นโรค) จำนวน 80 คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เป็นชุมชนต้นแบบที่ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการกินผักผลไม้สดวันละอย่างน้อย 5ขีดขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัม) และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามดูแลและมีพฤติกรรมดีขึ้น

ร้อยละ 50 ของ กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการดูแลและมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง

15.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 2,975.00 3 16,125.00
21 พ.ค. 61 - 30 มิ.ย. 61 กิจกรรมเตรียมความพร้อม 0 975.00 975.00
1 - 30 มิ.ย. 61 กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินการ 0 1,125.00 14,275.00
1 - 15 ก.ย. 61 ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน 0 875.00 875.00
  1. ประชุมชี้แจงเครือข่าย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางโครงการชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด
  2. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
  3. ประสานงานภาคีเครือข่ายแต่งตั้งคณะทำงาน
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. จัดทำแผนงาน/โครงการเสนอขออนุมัติโครงการเพื่อดำเนินงานตามโครงการ
  6. จัดทำเวทีประชาคม และแต่งตั้งคณะทำงานระดับหมู่บ้านขับเคลื่อนการดำเนินงาน
  7. ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์โรคไม่ติดต่อของชุมชน
  8. สำรวจพฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและรวบรวมผลการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ
  9. จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างปัจจัยเอื้อต่อการลดโรคและควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ
  10. พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน ด้านการออกกำลังกายและด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ
  11. ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย
  12. ติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงที่บ้านตามพื้นที่รับผิดชอบของ อสม. อย่างน้อยเดือนละ 1 – 2 ครั้ง
  13. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร) และตรวจสุขภาพประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  14. สรุปรายงานผลการดำเนินงานและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่เหมาะสมอย่างน้อย 3 พฤติกรรม คือ กินผัก ผลไม้สด ปลอดสารพิษทุกวันอย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัมต่อวันต่อคน ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง และออกกำลังกายตามวัยที่เหมาะสมอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน
  2. เกิดชุมชนต้นแบบที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2561 14:09 น.