กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L4131-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 55,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสารีหม๊ะ มะลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3224 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกซึ่งกำลังระบาดอย่างหนัก และได้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งนำความสูญเสียแก่หลายครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติที่ต้องสูญเสียบุคลากรที่สวนใหญ่เป็นเยาวชนอันเป็นอนาคตของประเทศ ซึ่งนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช่จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 14 ปี แต่ปัจจุบัน ยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ด้วยยุทธศาสตร์พัฒนาระบบสุขภาพ ปี พ.ศ. 2560 – 2564 คือ “ระบบสุขภาพยั่งยืน ประชาชนสุขภาพดีเจ้าหน้าที่มีความสุข” ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1 เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยมีเป้าประสงค์หลัก เพื่อประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค มีพฤติกรรมและดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งกำหนดตัวชี้วัดอัตราป่วยไข้เลือดออกไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร ประกอบกับโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาที่มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ตำบลอัยเยอร์เวง เป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยทุกปี ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดและให้การมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนและโรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร

 

2 เพื่อลดค่า CI ในโรงเรียนให้เท่ากับ 0

 

3 เพื่อลดค่า HI ในชุมชนให้น้อยกว่า 10

 

4 เพื่อพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายบริเวณพื้นที่เสี่ยงระบาดซ้ำซ้อน

 

5 เพื่อกำจัดยุงลายในรัศมี 100 เมตร ณ จุดที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1) ขั้นเตรียมการ -ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อวางแผนการดำเนินการ -วิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง -เขียนและเสนอโครงการ 2) ขั้นดำเนินการ ประสาน และดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนด ดังนี้ -พ่นหมอกควันทุกครัวเรือนบริเวณพื้นที่เสี่ยงระบาดซ้ำซ้อน -แจกและใส่ทรายอะเบท 3 เดือนครั้งทุกหลังคาเรือน โดยแกนนำ อสม. 3) สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง และอัตราป่วยไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร 2) ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 3) ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 4) ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2560 11:44 น.