กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก เขตเทศบาลตำบลบางแก้ว ปี 2561
รหัสโครงการ 010
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบางแก้ว
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธัชกร สุทธิดาจันทร์นักวิชาการสาธารณสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2561 30 ก.ย. 2561 1 เม.ย. 2561 30 ก.ย. 2561 30,900.00
รวมงบประมาณ 30,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญและมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือในปัจจุบันไข้เลือดออกมีความเสี่ยงทุกกลุ่มอายุและในระดับพืันที่ก็นับว่าไข้เลือดออกเป็นปัญหาทางระบาดวิทยาที่พื้นที่ให้ความสำคัญ แต่ไข้เลือดออกก็เกิดการระบาดได้ทุกปีประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทบทวนสถานการณ์โรคในปี 2560 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 - 31 ตุลาคม 2560 พบว่า อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประเทศไทย 65.91 จำนวนป่วย 43,120 ราย อัตราป่วยตายร้อย 0.13 ระดับภาคใต้อัตราป่วย 118.18 จำนวนป่วย 10,931 ราย อัตราป่วยตายร้อย 0.23 ในเขต 12 อัตราป่วย 127.05 จำนวนป่วย 6,182 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.26 ในระดับจังหวัดพัทลุง อัตราป่วย 180.23 จำนวนป่วย 940 ราย ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 4 ของประเทศ สำหรับของอำเภอบางแก้วอัตราป่วย 101.6 ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 8 ของจังหวัดพัทลุงซึ่งในพื้นที่ของเขตเทศบาลตำบลบางแก้วตั้งแต่ปี 2559-2561 พบผู้ป่วย 5,8,1ราย ตามลำดับ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในภาพรวมของพื้นที่จึงมีความสำคัญและเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกและเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกขึ้นจึงได้จัดทำโครงการ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก เขตเทศบาลตำบลบางแก้วปี 2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 61,800.00 2 39,800.00
27 เม.ย. 61 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก เขตเทศบาลตำบลบางแก้ว 0 30,900.00 30,900.00
1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก เขตเทศบาลตำบลบางแก้ว ปี 2561 0 30,900.00 8,900.00

1.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการจัดทำโครงการฯ 2.จัดทำคำสั่งพร้อมแต่งตั้งคณะทำงานโครงการ 3.เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางแก้ว เพื่อขออนุมัติเงินในสนับสนุนโครงการ 4.ประสายงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เทศบาล วัด โรงเรียน ชุมชนเขตเทศบาบตำบลบางแก้ว และอื่นๆร่วมกันวางแผนดำเนินการ 5.แจ้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ 6.บรรยายพิเศษ ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและการตอบแบบสอบถาม 7.กิจกรรมฐานการเรียนรู้ การป้องกันและกำจัดยุงโดยวิธีทางธรรมชาติ -ปูนแดง พิฆาตลูกน้ำยุงลาย -น้ำมันไพลไล่ยุง -สเปย์ตะไคร้หอมไล่ยุง 8.ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน -รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียน แกนนำประจำครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)โดยวิธี -ทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนและร่วมกับโรงเรียน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียนและวัด -ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน โดย อสม. และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด -ทางชีวภาพ ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวกับการปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง 9.แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบเคาะประตูบ้านทุกสัปดาห์เพื่อสุ่มตรวจและลงเยี่่ยมพื้นที่โดยเจ้าหน้าที่เดือนละครั้ง 10.ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรมและสรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.ในโรงเรียน ลดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายในทุกโรงเรียนให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 โดยแต่ละโรงเรียไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงบาย(CI=O) 3.ในชุมชนลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกครัวเรือนให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดยให้มีจำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกิดร้อยละ 10 (ค่า HI ไม่เกิน 10) 4.ภาคีเครือข่ายเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน และให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 5.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลงกว่าค่ามัธยฐาน 5ปีย้อนหลัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2561 12:35 น.