กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวปุโรงรู้ทันภัยห่างไกลโรคติดต่อ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯบ้านโฉลง
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สถานีอนามัยบ้านโฉลง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคและภัยสุขภาพที่ยังคงมีความสำคัญในระดับประเทศ ได้แก่ โรคติดต่อ ซึ่งมีทั้งโรคติดต่อนำโดยแมลง โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ โรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เป็นต้น จากสถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่จังหวัดยะลา ในปี พ.ศ.2555 - 2559พบว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่พบการระบาดของโรคตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูกาลการระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่ ส่วนการติดต่อของโรคไข้มาลาเรีย มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค การระบาดของโรคมาลาเรียเกิดขึ้นได้ในบริเวณแถบชายแดน หรือบริเวณที่เป็นป่าเขา โดยมียุงก้นปล้องที่มีเชื้อมาลาเรียในต่อมน้ำลายกัดและปล่อยเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดคนซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติที่พบได้มากที่สุด
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของพื้นที่อำเภอกรงปินังในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2555 - 2559 พบผู้ป่วยจำนวน 22 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 79.68 ต่อแสนประชากร เป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลปุโรง จำนวน 2 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 41.85 ต่อแสนประชากร และสถานการณ์โรคไข้มาลาเรียของพื้นที่อำเภอกรงปินัง ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2555 - 2559 พบผู้ป่วยจำนวน 45 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 162.98 ต่อแสนประชากร เป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลปุโรงจำนวน 2 รายอัตราป่วยเท่ากับ 41.85 ต่อแสนประชากร และมีแนวโน้มการระบาดของโรคที่สูงขึ้นเรื่อยๆในทุกๆปี การพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and rapid response Team: SRRT) ในเรื่องของการเฝ้าระวังเหตุการณ์ผิดปกติ เป็นกลไกหนึ่งที่ในการจัดการกับปัญหาการเกิดโรคภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขหรือภัยคุกคามสุขภาพมีผลกระทบทางสุขภาพการเจ็บป่วย และเสียชีวิต สามารถรู้เหตุการณ์ของโรคได้อย่างรวดเร็ว และตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่ายภาคประชาชนอาสาสมัครสาธารณสุขผู้นำชุมชน ดังนั้น สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯบ้านโฉลง จึงได้จัดทำโครงการชาวตำบลปุโรงรู้ทันภัย ห่างไกลโรคติดต่อ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือของโรคไข้เลือดออกโรคไข้มาลาเรียก่อนฤดูกาลระบาด เพื่อลดอัตราป่วย และการค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคและลดความเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่ต่อการเป็นโรคติดต่อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้และแนวทางในการป้องกันโรคติดต่อ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ที่มีความเสี่ยงในชุมชน โรงเรียน และมัสยิด เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่ตำบลปุโรง

เพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้และการป้องกัน ดูแลตนเองในเรื่อง โรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย และการทำลายแหล่งเพาะพันธ์และภาชนะเสี่ยงในชุมชน โรงเรียน และมัสยิด เพื่อดำเนินการควบคุมโรคติดต่อได้ทันเหตุการณ์

2 ๒. เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งของทีมเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบลปุโรงและสร้างเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรค

ทีม SRRT เครือข่ายระดับตำบล มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องหลักการเฝ้าระวังเหตุการณ์SRRT เครือข่ายระดับตำบล และมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมดำเนินการเฝ้าระวังเหตุการณ์ สอบสวน ควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1. ขั้นเตรียมการ (Plan) 2.1.1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน 2.1.2 ปรึกษาหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2.1.3 เขียนโครงการ เพื่อเสนออนุมัติ 2.2. ขั้นดำเนินการ (Do) 2.2.1 ประสานทีม SRRT เครือข่ายระดับตำบล 2.2.2 จัดเตรียมแนวทางและเนื้อหาการอบรม 2.2.3 ประสานวิทยากร
2.2.4 ดำเนินการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด 2.3. ขั้นประเมินผล (Check) และรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้และการป้องกัน ดูแลตนเองในเรื่อง โรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย และการทำลายแหล่งเพาะพันธ์และภาชนะเสี่ยงในชุมชน โรงเรียน และมัสยิด เพื่อดำเนินการควบคุมโรคติดต่อได้ทันเหตุการณ์ ๒. ทีม SRRT เครือข่ายระดับตำบล มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องหลักการเฝ้าระวังเหตุการณ์SRRT เครือข่ายระดับตำบล และมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมดำเนินการเฝ้าระวังเหตุการณ์ สอบสวน ควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2560 16:11 น.