กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟูความรู้และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข
รหัสโครงการ 61-50097-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านทุ่ง
วันที่อนุมัติ 11 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านทุ่ง ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 87 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้นำการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลัก และกำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ บนหลักการสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพตนเองและเพื่อนบ้านในรูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขหรืออสม. เพื่อเป็นแกนนำด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านชุมชน มาเป็นระยะเวลาครบ ๓๒ ปี ด้วยมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกและศรัทธาในการพัฒนาอันเป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปธรรมการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพอย่างยั่งยืนที่แท้จริง กระทรวงสาธารณสุขได้มีการพัฒนาศักยภาพอสม.อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งภาวะวิกฤติและภาวะปกติในหลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของพื้นที่ รวมทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์ภายหลังการอบรมในปี ๒๕๖๑ ซึ่งเป็นทศวรรษที่ ๔ของงานสาธารณสุขมูลฐาน(พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๖๒ ) อันเป็นทศวรรษแห่งการสร้างนวัตกรรมเพื่อสุขภาพชุมชนโดยชุมชน กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินนโยบายการพัฒนาการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขด้วยการอบรมฟื้นฟูความรู้อสม. โดยมุ่งหวังว่าหากอสม.ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นกลไกหลักสำหรับสร้างสังคมใหญ่ที่มีคุณภาพโดยเบนเข็มการพัฒนาอาสาสมัครจากวิถีการให้บริการที่ใช้อยู่ในช่วง ๓๒ ปีที่ผ่านมา ไปเป็นวิถีการพัฒนาโดยการเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่ดีกว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)ให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อฟื้นฟูความรู้และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของอสม.ตลอดจนพัฒนาระบบการการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชนและสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอด ให้บริการและประสานงานกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อทบทวนบทบาทและภารกิจ อสม.ในการดูแลสุขภาพของประชาชนตามสภาพปัญหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงไป
  • ประเมินความรู้และทักษะของอสม.ที่ผ่านการอบรม
0.00
2 ๒.เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของอสม.ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่
  • จากการสังเกตและสอบถามและรายงานสรุปผลการอบรม
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30.00 0 0.00
1 ก.ค. 61 ๑.กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟู อสม. จำนวน ๒ วัน - ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง/เครื่องดื่ม๘๗คน x ๑๒๐ บาท x ๒ วัน 0 20.00 -
1 ก.ค. 61 ๒.กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูอสม.ภาคฝึกปฏิบัติ จำนวน ๑ วัน - ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง/เครื่องดื่ม๘๗คน x ๑๒๐ บาท x ๑ วัน 0 10.00 -

๑.รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชนและการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)ในปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผนและกำหนด ทิศทางการพัฒนาศักยภาพอสม. ๒.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่และอสม.ทุกคน
๓.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ๔.แต่งตั้งคณะทำงาน/ประชุมคณะทำงาน ๕.ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ๖.ดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน ๓ วัน ๗.ประเมินผลการอบรม ๘.สรุป วิเคราะห์ ประเมินผลและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒.ชุมชนมีการจัดระบบเฝ้าระวังและดูแลโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพของขุมชนและสามารถจัดการด้านสุขภาพในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2561 12:16 น.