กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยหลัก ๓อ.๒ส.หมู่ที่ ๘ บ้านควนตำเสา ปีงบประมาณ ๒๕๖๑

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยหลัก ๓อ.๒ส.หมู่ที่ ๘ บ้านควนตำเสา ปีงบประมาณ ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 61-L5293-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. หมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสา
วันที่อนุมัติ 29 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 11,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อสม.หมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสา
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.ทุ่งหว้า
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ก.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 11,675.00
รวมงบประมาณ 11,675.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์อัมพาต) เป็นสาเหตุการตายสูงอันดับ 3 ของโลก รองจากโรคหัวใจขาดเลือดและมะเร็งและมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี จากทั่วโลกมีผู้เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบเพิ่มขึ้น เป็น 2 เท่า โรคอัมพฤกษ์อัมพาตเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความพิการถาวรในประชากร และเกิดภาระการดูแลรักษาเพิ่มมากขึ้นเช่นกันสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคโรคหลอดเลือดสมอง
(อัมพฤกษ์อัมพาต) คือภาวะความดันโลหิตสูง สถานการณ์ทั่วโลกพบว่าประชากรประมาณ 600 ล้านคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของโลก ปี 25๕๙ พบว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมีภาวะความดันโลหิตสูง ร้อยละ 35.82 หรือคิดเป็นจำนวน 17.64 ล้านคน และยังพบว่าอัตราตายจากโรคความดันโลหิตสูงปี 25๕๙ คิดเป็น ร้อยละ 15.94 ต่อแสนประชากรและเพิ่มเป็น 26.72 ต่อแสนประชากรแสนคนในปี 25๕๙ (ฐานข้อมูลสถิติการตาย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข) ที่สำคัญส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง และเมื่อรู้ว่าเป็นความดันโลหิตสูงแล้วเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ และจากผลการสำรวจและคัดกรองความเสี่ยงโดยใช้แบบคัดกรองของ สปสช. พบว่าประชาชนในกลุ่มสิทธิบัตรประกันสุขภาพ(UC) ปีงบประมาณ25๖๐ ในเขต คปสอ.ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล พบว่าประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ป้องกันได้และมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องในการส่งเสริมสุขภาพ สูงมากถึงร้อยละ90 ผลการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปของหมู่ที่ ๘ บ้านควนตำเสาจำนวน ๓๘๒ คน ได้รับการคัดกรองทั้งหมด ๓๕๕ คนคิดเป็นร้อยละ ๙๒.๙๓ และมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานจำนวน ๓๗ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๐.๔๒ บาท และมีประชากรอายุ๓๕ปีขึ้นไปจำนวน ๓๓๓ คน ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด ๓๐๙ คนคิดเป็นร้อยละ ๙๒.๘๐ พบเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูงจำนวน๔๒ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๓.๕๙

เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคอัมพฤกษ์อัมพาต ภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ซึ่งเป็นผลให้เกิดประสิทธิภาพและผลประโยชน์ต่อทำให้ประชาชนเกิดการรับรู้ตระหนัก ตลอดจนสามารถตัดสินใจที่จะปฏิบัติการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของตนเองได้ ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ ๘ บ้านควนตำเสาตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลซึ่งเป็นมีส่วนร่วมในการดูแลการดูแลสุขภาพของ ประชาชน จึงมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับ ประชาชนในชุมชนให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและพึงประสงค์จึงได้จัดทำโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยหลัก ๓อ.๒ส.หมู่ที่ ๘ บ้านควนตำเสา ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดัน เกิดการรับรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรค เช่นการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการอนามัยสิ่งแวดล้อม ตามสภาพปัญหาและวิถีชีวิตของชุมชนให้ถูกต้อง

๑.ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

0.00
2 ๒. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้

๒.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในกิจกรรมโครงการร้อยละ ๘๐

0.00
3 ๓. สร้างเครือข่าย พัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลสุขภาพตนเอง บุคคลในครอบครัวและบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

๓.มีเครือข่าย พัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลสุขภาพตนเอง บุคคลในครอบครัวและบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11.00 0 0.00
2 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 อบรมให้ความรู้ 0 11.00 -

๑.สำรวจภาวะสุขภาพและคัดกรองความเสี่ยงสุขภาพโดยอสม. ๒.ประชุมในหมู่บ้านประชาสัมพันธ์ชี้แจงภาวะสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ๓.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ ๔.จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการ ๕.ประสานวิทยากรเพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่สมาชิกเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงที่เข้าอบรม ๖.จัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม ๗.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิต ฝึกการออกกำลังกาย
๘.กิจกรรมสันทนาการ ๙.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันเกิดการรับรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรค เช่นการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการอนามัยสิ่งแวดล้อมตามสภาพปัญหาและวิถีชีวิตของชุมชนให้ถูกต้อง
๒.เครือข่ายพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลสุขภาพตนเอง บุคคลในครอบครัวและบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2561 14:48 น.