กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสร้างทักษะการประเมินพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีแก่พ่อแม่ผู้ปกครอง
รหัสโครงการ 61-L5293-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคีรีวง
วันที่อนุมัติ 29 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 6,660.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านคีรรีวง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ก.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 6,660.00
รวมงบประมาณ 6,660.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 34 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเจริญเติบโตของเด็ก ในช่วงอายุ 0-5 ปีเป็นช่วงระยะสำคัญที่สุดของการสร้างรากฐานชีวิตและจิตใจของมนุษย์ ร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างเร็ว และสมองของเด็กก็เจริญเติบโตสูงสุดในช่วงวัยนี้ด้วย ซึ่งการการประเมินพัฒนาการเด็ก โดยใช้แบบประเมินการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(DSPM)ในกลุ่มอายุ 9,18,30 และ42 เดือน ปีงบประมาณ 2558-2560 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคีรีวง ตำบลทุ่งหว้า พบว่า เด็กมีพัฒนาล่าช้า ร้อยละ 22,25 และ28 ตามลำดับ ซึ่งบ่งบอกว่า มีเด็กจำนวนหนึ่งที่มีพัฒนาไม่เป็นไปตามวัย จะต้องเข้าไปดำเนินการแก้ไข กระตุ้น เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นภายใน 30 วัน เพราะพัฒนาการเป็นสิ่งที่บ่งบอกเกี่ยวกับความสามารถของเด็กนั้น ถ้าเด็กมีความสามารถที่เหมาะสมกับวัย ก็จะทำให้เด็กสามารถพัฒนาจากวัยหนึ่งไปสู่อีกวัยหนึ่งได้อย่างเหมาะสม มีการเจริญเติบโตที่ดีและมีพัฒนาการสมวัย จะเป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิต ซึ่งรูปแบบการกระตุ้นสามารถทำได้ทั้งโดยเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร และผู้ปกครองเด็ก เพียงแต่ต้องเข้าใจคู่มือการกระตุ้นเท่านั้น ซึ่งรูปแบบการกระตุ้นสามารถทำได้ทั้งโดยเจ้าหน้าที่ และผู้ปกครองเด็ก เพียงแต่ต้องเข้าใจคู่มือการกระตุ้นเท่านั้นในการประเมินพัฒนาการของเด็กอายุ 0- 5 ปี เด็กแต่ละคนต้องได้รับการประเมิน 4 ครั้ง คือเมื่ออายุครบ 9,18,30 และ42 เดือน จะแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ด้านภาษา ด้านสังคม ด้านการปรับตัว การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ จากการที่ในช่วงอายุดังกล่าวเด็กจะมีความใกล้ชิดกับครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ การเสริมสร้างทักษะให้แก่ผู้ปกครองในการประเมินพัฒนาการเด็ก จะทำให้สามารถพบความผิดปกติ และแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า”ต้นน้ำดี ปลายน้ำก็จะดีไปด้วย” โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคีรีวง ตำบลทุ่งหว้า ได้จัดทำโครงการเสริมสร้างทักษะการประเมินพัฒนาการเด็ก0-5 ปีแก่พ่อแม่ผู้ปกครองขึ้น เพื่อให้เกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญในการเมินสุขภาพและพัฒนาการเด็กโดยให้พ่อแม่ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งนี้เนื่องจากว่าผลจากการประเมินสุขภาพและพัฒนาการเด็ก ก็คือ การนำข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและพัฒนาการมาสรุปเพื่อ ตัดสินใจจัดการดูแลรักษา จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละด้านเป็นรายบุคคล และใช้เป็น แนวทางในการพัฒนาศักยภาพของเด็กแต่ละคนให้ถึงขั้นสูงสุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง สามารถประเมินพัฒนาการเด็กด้วยตัวเอง

พ่อ แม่ ผู้ปกครองมีทักษะในการประเมินพัฒนากรเด็กได้

0.00
2 เพื่อสามารถค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้อย่างรวดเร็ว

เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการแก้ไขทันเวลาภายใน 30 วัน

0.00
3 เพื่อให้เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว

พ่อ แม่ ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่มีการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กร่วมกัน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6.00 0 0.00
2 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 อบรมให้ความรู้ 0 6.00 -

ขั้นเตรียมการ 1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง
3. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย ขั้นดำเนินการ 1.ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านทางอสม.ผู้นำชุมชน 2.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ครุภัณฑ์ ที่จำเป็นให้เพียงพอ 3.ประสานวิทยากร 4.ดำเนินการจัดการประชุม อบรม ขั้นประเมินผล 1.ร้อยละ 100 ของพ่อแม่ผู้ปกครอง เข้าร่วมกิจกรรม 2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถใช้แบบประเมินการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(DSPM)
3.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถใช้แนวทางตามแบบประเมินในการจัดกิจกรรมแก้ไขความบกพร่องได้ โดยการจัดกิจกรรมโครงการจัดแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ • ช่วงเช้า กิจกรรมประกอบด้วย การให้ความรู้เรื่อง 1.พัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
2.สถานการณ์พัฒนาการล่าช้าในพื้นที่ 3.แบบประเมินการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(DSPM) • ช่วงบ่าย 1.การฝึกใช้แบบประเมิน 2.การเสริมสร้างกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับกลุ่มอายุ 2.เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการแก้ไข 3.พ่อ แม่ ผู้ปกครอง มีการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กร่วมกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2561 16:01 น.