กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการป้องกันโรคติดต่อโดยแมลง ปี 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคอกช้าง
วันที่อนุมัติ 2 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 15,690.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอานูวา ยูโซ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายวันชัย บ่อเงิน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.102,101.384place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน โรคติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่คุกคามต่อสุขภาพของคนทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเมือง และทำให้เกิดความโกลาหลของประชาชนในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมาก ซึ่งนอกจากโรคติดต่อประจำฤดูกาลหรือโรคติดต่อที่พบได้ในพื้นที่แล้ว ยังรวมไปถึงโรคติดต่ออุบัติใหม้ อุบัติซ้ำด้วย อำเภอธารโต มีโรคติดต่อที่สำคัญได้แก่ โรคติดต่อนำโดยแมลงที่พบในพื้นที่ คือ โรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก จากสถิติ 3 ปี ย้อนหลัง(ปี 2559-2560)พบอัตราป่วย โรคมาลาเรีย 3,594.63 , 2,054.07 และ 194.51 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ปละพบแัตราป่วย โรคไข้เลือดออก 136.16 , 23.34 และ 11.67 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จากอัตราป่วยโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกออกพบว่า มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากช่วงปีที่ผ่านมา เครือข่ายอำเภอธารโตได้ร่วมกันวางแผนและดำเนินการแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน โดยเน้นการพัฒนากิจกรรมควบคุมโรคที่ต้องทำให้มีประสิทธิภาพ เช่น การพ่นหมอกควันบ้านผู้ป่วย และพื้นที่ระบาด การพ่นสารเคมีตกค้่างในพื้นที่ระบาดต่อเนื่องการพัฒนาคุณภาพการให้บริการแบบ one stop srevice ใน รพ.สต. ทุกแห่งเป็นต้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดในพื้นที่ที่มีปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ยังมีโรคติดต่ออื่นๆที่ต้องเฝ้าระวังในพื้นที่ เช่น โรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัควีนเป็นต้น โดยกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินงานควบคุมโรคติดต่อ คือการส่งเสริม ป้องกันก่อนเกิดการระบาดการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพลดการแพร่เชื้อ และการฟื้นฟูผู้ป่วยเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ จากความสำคัญดังกล่าว งานระบาดวิทยาและการควบคุมโรคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคอกช้าง จึงได้จัดทำโครงการ การป้องกันการเกิดโรคติดต่อ ปี 2561 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดโรคติดต่อในพื้นที่ และลดอัตราป่วยของโรคติดต่อในพื้นที่ นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในพื้นที่ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2.เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคติดต่อได้ด้วยตนเอง 3.เพื่อเป้นการเฝ้าระวัง ป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่อื่น 4.เพื่อลดอัตรการป่วยด้วยโรคติดต่อในพื้นที่

1.ครัวเรือนในชุมชนพื้นที่ระบาด A1 และ A2 ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้างตามแผนร้อยบะ 80และสามารถดำเนินการได้ 2.สถานบริการในเครือข่ายมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ Big cleaning โรคติดต่อ ร้อยละ 100 3.ครัวเรือนบริเวณบ้านผู้ป่วยโรคมาลาเรียและไข้เลือดออกในระยะ 50เมตร ได้รับการพ่นหมอกควัน 4.อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในพื้นที่ลดลง เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ จัดเตรียม SRRT ในระดับตำบล โดยเน้นย้ำ 2 หมู่บ้าน คือหมู่ที่5 บ้านฆอแย และหมู่ที่ 7 บ้านบ่ออ่าง วิเคราะห์สภาพปัญหา สถานการณ์โรคในพื้นที่ และแบ่งเขตพื้นที่กำหนดเป็นพื้นที่ A1 และA2 ซึ่งในพื้นที่หมู่ที่5 และ7 เป็นพื้นที่ A2(พื้นที่เกิดโรคนานครั้งแบบไม่ต่อเนื่อง)ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สตบ้านคอกช้าง พบผู้ป่วย6คน (ตามรายงานR506) และให้ทีมดำเนินการดังนี้ 1.สำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย บันทึกลงในรายงานการปฏิบัติงานการควบคุมป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง 2.ให้ทีมจัดเตรียมและหาประชาชนเพื่อจัดทำ Big cleaning dayในหมู่บ้าน 3.ให้ทีมจัดเตรียมหาเครื่องมือ การายงานผลการปฏิบัติงาน และการรับเคสที่รวดเร็ว ขั้นดำเนินการ 1ให้ MP ประจำหมู่บ้านดำเนินการเจาะเลือดคัดกรองผู้ป่วย 2.ให้ทีม SRRT ดำเนินการพ่นสารเคมีตกค้าง ทุกหลังคาเรือน และพ่นหมอกควันในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยโดยให้พ่นในรัศมี 100 เมตร รอบบ้านผู้ป่วย 3.การมห้ความรู้ โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ซึ่งในปีนี้พบว่ามีการระบาดของโรคหัดในพื้นที่ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน และผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั้งหมด 13 คน หมู่ที่7 จำนวน4คน หมู่ที่5 จำนวน9คน และมีผู้สัมผัสในบ้านทั้งหมด จำนวน 25 คน ซึ่งทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

การดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในอำเภอธารโต เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เกิดกระแสการรงณงค์การควบคุมโรค ร่วมกับการสร้างเสริมสุขภาพ ประชาชนสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้อย่างมีคุณภาพสามารถลดอัตราป่วยด้วยโรตติดต่อในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2561 19:58 น.