กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียน
รหัสโครงการ 60-L5258-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านนาม่วง
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กุมภาพันธ์ 2560 - 16 กุมภาพันธ์ 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านนาม่วง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.057place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 72 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 72 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนบ้านนาม่วง เป็นโรงเรียนหนึ่งที่มีความตระหนักเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียน และสมาชิกในชุมชน ทั้งในเรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และสมาชิกในชุมชนทั้งในเรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ การดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ และการบริการรักษาพยาบาลเบื่องต้นแก่นักเรียน การเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดีแก่นักเรียนที่เน้นสุขบัญญัติแห่งชาติ แต่ในสภาพปัจจุบัน โรงเรียนยังมีปัญหาด้านสุขภาพและพฤติกรรมที่เสี่ยงของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและสมาชิกในชุมชนที่โรงเรียนจะต้องแก้ไขอีกมาก อาทิเช่น นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและสมาชิกในชุมชนยังไม่เห็นความสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยของตนเอง นักเรียนส่วนหนึ่งยังมีปัญหาโรคอ้วนหรือผอมเกินไป การขาดวินัยในการรับประทานอาหารให้เป็นเวลา การเลือกซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์ และขาดการออกกำลังกาย ทำให้นักเรียนมีปัญหาโรคอ้วนน้ำหนักเกินมาตรฐาน ในขณะเดียวกันยังมีนักเรียนที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณณ์มาตรฐานเช่นกัน ซึ่งเกิดจากการขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กไม่ได้เต็มศักยภาพ จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนจึงได้ดำเนินการเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียน และสมาชิกในชุมชนอย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อให้นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน สมาชิกในชุมชนสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืน โรงเรียนจึงขอสนับสนุนงบประมาณจาก สปสช. อบต.บ้านโหนดเพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียนให้กับนักเรียนโรงเรียน บุคลากรในโรงเรียนบ้านนาม่วงและสมาชิกในชุมชนมีสุขภาพดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน บุคลากรและสมาชิกในชุมชนได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการอย่างครบถ้วน

นักเรียน บุคลากรและสมาชิกในชุมชนมีการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพร้อยละ 80

2 เพื่อให้นักเรียน บุคลากรและสมาชิกในชุมชนได้รับปริมาณอาหารในแต่ละวันตรงตามความต้องการของร่างกาย

นักเรียน บุคลากรและสมาชิกในชุมชนได้รับปริมาณอาหารตรงตามความต้องการของร่างกาย ร้อยละ 70

3 เพื่อให้นักเรียน บุคลากรและสมาชิกในชุมชนมีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

นักเรียน บุคลากรและสมาชิกในชุมชนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 70

4 เพื่อส่งเสริมความรู้พื้นฐานเรื่องโภชนาการและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

นักเรียน บุคลากรและสมาชิกในชุมชนที่เข้ารับการอบรม สามารถนำความรู้พื้นฐานด้านโภชนาการได้ร้อยละ 60

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมครูและบุคลากรที่รับผิดชอบเพื่อทราบปัญหาและความต้องการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
  4. อบรมให้ความรู้นักเรียน จำนวน 72 คนและผู้ปกครองจำนวน 72 คน ครู 10 คน โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับหลักโภชนาการ
  5. ดำเนินโครงการตามวัน และเวลาที่กำหนด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน บุคลากรและสมาชิกในชุมชนได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการอย่างครบถ้วน 2.นักเรียน บุคลากรและสมาชิกในชุมชนได้รับปริมาณอาหารในแต่ละวันตรงตามความต้องการของร่างกาย 3.นักเรียน บุคลากรและสมาชิกในชุมชนมีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 4.นักเรียน บุคลากรและสมาชิกในชุมชนมีความรู้พื้นฐานเรื่องโภชนาการและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2560 11:22 น.