กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพผู้พิการและผู้ป่วยจิตเวช ตำบลควนโดน เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิต ปี 61
รหัสโครงการ 61 – L8406-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนโดน
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 32,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอหมาด บาหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์ กะเส็มสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.814,100.06place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของประเทศไทย ได้แก่ ปัญหาด้านความพิการของประชาชนและปัญหาทางด้านสุขภาพจิต โดยคนพิการและผู้ป่วยจิตเวชแต่ละประเภท มีข้อจำกัดในการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่มีข้อจำกัดในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารตลอดจน การสื่อสารกับผู้อื่นเนื่องจากความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดผลกระทบในด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้น การที่คนพิการและผู้ป่วยจิตเวชจะสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ ด้วยการพึ่งตนเองและสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้หลากหลายเท่าเทียมกับคนปกติทั่วไปนั้น จำเป็นจะต้องใช้ความสามารถในการถ่ายทอด เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การทำงาน รวมทั้งความสามารถในการสื่อสาร และมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อน และคนอื่นๆในสังคม ความพิการและอาการทางจิต เป็นสถานะทางสุขภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของการสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆในการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ เช่น การเจ็บป่วย การได้รับบาดเจ็บ ความผิดหวังในชีวิต การหลงผิด การใช้สารเสพติด ปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ และอื่นๆ ในการแก้ปัญหาหรือควบคุมปัญหานี้ ไม่ให้ขยายตัวกว้างขวางและรุนแรงยิ่งขึ้น สามารถกระทำได้ด้วยวิธีการหลักๆ สองประการ คือ การป้องกัน และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในกระบวนการนี้ ควรป้องกันตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม ส่วนการฟื้นฟูสมรรถภาพ อาจประกอบด้วยการใช้วิธีต่างๆทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนการจัดหาและการให้บริการอุปกรณ์ช่วยเหลือคนพิการ และบริการที่สนับสนุนการดำรงชีวิตทั้งคนพิการและผู้ป่วยจิตเวช
ในพื้นที่ตำบลควนโดน มีผู้พิการทั้งหมด272 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ซึ่งมีเพียง 224 คน อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน จำนวน 162 คน คิดเป็นร้อยละ 59.56 และอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลควนโดนจำนวน 110 คน คิดเป็น 40.44 ของผู้พิการทั้งหมดในตำบลควนโดน และมีผู้ป่วยจิตเวช ทั้งหมด 30 คน บางส่วนสามารถดำรงชีวิต ปฏิบัติงานช่วยเหลือครอบครัวได้ บางส่วนขาดการรักษา เป็นภาระแก่ครอบครัว ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสังคม
จากผลการดำเนินงาน ที่ผ่านมา ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ดูแล มีความรู้ ความเข้าใจในภาวะสุขภาพ แนวทางการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม พร้อมทั้งทราบถึงชุดสิทธิประโยชน์ ร้อยละ 98 ของกลุ่มเป้าหมาย อีกร้อยละ 2 เป็นผู้พิการ และผู้ป่วยจิตเวช ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ และจากการประเมินภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 100 ไม่มีภาวะซึมเศร้า และ ร้อยละ 85ของกลุ่มเป้าหมาย มีทักษะการใช้ชีวิตที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต พร้อมทั้ง เกิดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ในพื้นที่ 10 เวที ซึ่งเป็นเวทีที่เกิดขึ้นในแต่ละหมู่บ้าน และเวทีรวมใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จากการดำเนินการ ได้มีข้อเสนอแนะ ให้มีการดูแลกลุ่มเป้าหมาย ด้วยความเข้าใจ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม พร้อมทั้งสนับสนุนให้ความช่วยเหลือในเรื่องกายอุปกรณ์ การประกอบอาชีพ และการเข้าถึงบริการต่างๆ พร้อมทั้งเสนอให้มีการจัดตั้ง ชมรมผู้พิการตำบลควนโดนขึ้น เพื่อประโยชน์ในการประสานงานและดำเนินการในเรื่องต่างๆของชมรม ซึ่งได้มีการเสนอต่อหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานผู้พิการไปแล้ว ให้ดำเนินการต่อไป ด้วยเหตุนี้ นับว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่จะต้องดำเนินการแก้ไขโดยการมีส่วนร่วม เพื่อให้กลุ่มดังกล่าว ได้รับบริการที่ครอบคลุมตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข โดยครอบครัว ชุมชน และสังคม มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จึงได้จัดทำ โครงการห่วงใย ใส่ใจสุขภาพผู้พิการและผู้ป่วยจิตเวช ตำบลควนโดน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ปี 61 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ดูแล มีความรู้ ความเข้าใจในภาวะสุขภาพ แนวทางการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม พร้อมทั้งทราบถึงชุดสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ

ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ดูแล มีความรู้ ความเข้าใจในภาวะสุขภาพ แนวทางการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม พร้อมทั้งทราบถึงชุดสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ ร้อยละ 90 ของ กลุ่มเป้าหมาย

0.00
2 2 เพื่อให้ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ดูแล มีทักษะการใช้ชีวิตที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต โดยทีมดูแลสุขภาพ

ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ดูแล มีทักษะการใช้ชีวิตที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต โดยทีมดูแลสุขภาพ ร้อยละ 80

0.00
3 3 เพื่อให้เกิดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ระหว่างผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ดูแล

เกิดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ระหว่างผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ดูแล อย่างน้อย 1 เวที

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 61 จัดอบรมทีมดูแลสุขภาพผู้พิการและผู้ป่วย จิตเวช พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการหาแนวทางการติดตาม ให้ความช่วยเหลือ และให้กำลังใจกับผู้ดูแล จำนวน 60 คน (ตัวแทนสมาชิกอบต.ควนโดน,อสม. ,ผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่ายอื่นๆ) 0 6.00 -
1 - 31 ส.ค. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องภาวะสุขภาพและแนวทางการดูแลสุขภาพ พร้อมชุดสิทธิประโยชน์ สำหรับผู้พิการและผู้ป่วยจิตเวช รุ่นที่1 จำนวน 200 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 50 รวม 2 รุ่น จำนวน 250 คน (ทดลองปฏิบัติ โดยการสร้างสถานการณ์สมมุติ การทดลองใช้กายอุปกรณ์ต่างๆ การดำเนินการ 0 26.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. ขออนุมัติโครงการ จัดทำแผนงาน ดำเนินงานตามแผน 2. ประสานงานกับพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการ 3. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานตามโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบและ ผู้ที่เกี่ยวข้อง 4.จัดเตรียมเอกสารที่จะใช้ในการดำเนินโครงการฯ แก่กลุ่มเป้าหมาย 5.ประสานงาน/ติดต่อวิทยากร ขั้นดำเนินการ 1. จัดอบรมทีมดูแลสุขภาพผู้พิการและผู้ป่วยจิตเวช พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการหาแนวทางการติดตาม ให้ความช่วยเหลือ และให้กำลังใจกับผู้ดูแล จำนวน 60 คน (ตัวแทนอบต. ,อสม. ,ผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่ายอื่นๆ) 2. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องภาวะสุขภาพและแนวทางการดูแลสุขภาพ พร้อมชุดสิทธิประโยชน์ สำหรับผู้พิการและผู้ป่วยจิตเวช และผู้ดูแลรุ่นที่ 1 จำนวน 200 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 50 รวม 2 รุ่น จำนวน 250 คน
3.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ระหว่างผู้พิการ และผู้ป่วยจิตเวช หรือผู้ดูแล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ดูแล มีความรู้ ความเข้าใจในภาวะสุขภาพ แนวทางการดูแลสุขภาพที่ เหมาะสม พร้อมทั้งทราบถึงชุดสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ
  2. ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ดูแล มีทักษะการใช้ชีวิตที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต โดยทีมดูแลสุขภาพ
  3. เกิดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ระหว่างผู้พิการ ผู้ป่วย
    จิตเวช และผู้ดูแล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2561 10:44 น.