กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รพ.สต.ควนโดน ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L8406-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนโดน
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 30,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอหมาด บาหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์ กาเส็มสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.814,100.06place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ล้วนแล้วแต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และสารสนเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ ภาวะสุขภาพของประชาชน กล่าวคือ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ และโรคที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการแปรเปลี่ยนโรคจากความยากจนและโรคติดต่อมาเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ทั้งนี้ สาเหตุของโรคดังกล่าว เกิดจากการมีพฤติกรรมการดำรงชีวิต ที่ไม่ถูกต้องทั้งสิ้น เช่น การกินอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ภาวะเครียด และขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อที่สำคัญได้ทั้งนั้น สภาวะการเจ็บป่วยและสาเหตุการตายที่สำคัญของประชาชนจังหวัดสตูลส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ซึ่งปัญหาความเจ็บป่วยจากโรคไร้เชื้อเรื้อรังเหล่านี้ เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ เช่น การบริโภค อาหารที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกาย และการจัดการด้านอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม จนเกิดภาวะอ้วนลงพุง และโรค ไม่ติดต่ออื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโรคที่เกิดจาก วิถีชีวิตทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในรายที่เกิดภาวะแทรกซ้อน ยังส่งผลให้ต้องพึ่งพาผู้อื่น เป็นภาระแก่สมาชิกในครอบครัว และยังทำให้ครอบครัวต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมากอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวายมากถึงร้อยละ 60 – 75 เสียชีวิตจากเส้นเลือดสมองแตกหรืออุดตัน ร้อยละ20 - 30 เสียชีวิตจากไตวายร้อยละ 5 - 10 ส่วนผู้ที่รอดชีวิตก็มีโอกาสเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ จากการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ ปี 2557 ถึงปี 2560 ผลการดำเนินงานโดยรวมในการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน ซึ่งมีผลการปฏิบัติงานดังนี้ ตัวชี้วัดร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี มากกว่าร้อยละ 40 ผลงานปี 2557 ถึง 2560 ได้แก่ ร้อยละ4.15 , ร้อยละ25.00, ร้อยละ14.05 และร้อยละ14.09 ตามลำดับ จากผู้รับบริการทั้งหมด 313 คน, 288 คน, 299 คน และ298 คน ตามลำดับ ตัวชี้วัดร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีมากกว่าร้อยละ 50 ผลงานปี 2557 ถึง 2560 ได้แก่ ร้อยละ9.29 , ร้อยละ18.99, ร้อยละ50.16 และร้อยละ51.44 ตามลำดับ จากผู้รับบริการทั้งหมด 176 คน, 179 คน, 307 คน และ381 คน ตามลำดับ และตัวชี้วัดอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดผลงานปี 2558 ถึง 2560 ได้แก่ (ปี 58) ผู้ป่วยทั้งหมด 208 คน ระดับ1 = 160 คน คิดเป็นร้อยละ76.92, ระดับ2 = 46 คน คิดเป็นร้อยละ22.12, ระดับ3 = 2 คน คิดเป็นร้อยละ0.96 (ปี 59) ผู้ป่วยทั้งหมด 210 คน ระดับ1 = 161 คน คิดเป็นร้อยละ 76.67, ระดับ2 = 41 คน คิดเป็นร้อยละ19.52, ระดับ3=6 คน คิดเป็นร้อยละ2.86, ระดับ4 = 1 คน คิดเป็นร้อยละ0.48, ระดับ5 = 1 คน คิดเป็นร้อยละ0.48 (ปี 60) ผู้ป่วยทั้งหมด 281 คน ระดับ1 = 240 คน คิดเป็นร้อยละ85.41, ระดับ2 = 34 คน คิดเป็นร้อยละ12.10, ระดับ3 = 7 คน คิดเป็นร้อยละ2.49 ตามลำดับ ฃึ่งเป็นผลงานที่ได้มาจากการดำเนินโครงการ ที่ผ่านมาย้อนหลัง 4 ปี ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง
จากข้อมูล จะเห็นได้ว่าอัตราผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในเรื่องตัวชี้วัดการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผลงาน ยังไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีจำนวนมากและเป็นเรื่องที่ท้าทาย ที่จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมินต่อไป ในเรื่องการควบคุมระดับความดันโลหิตในปี 2559 และปี 2560 ผ่านเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัด และต้องดำเนินงานต่อเพื่อคงระดับให้ดียิ่งขึ้นไป และในส่วนของการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ผลการปฏิบัติงานมีแนวโน้มดีขึ้นในทุกๆปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับ 1 เป็นผลงานที่ต้องดำเนินการต่อและพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่จะต้องดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ได้รับบริการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนที่ครอบคลุมตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยครอบครัว ชุมชน และสังคม มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จึงได้จัดทำ โครงการใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รพ.สต.ควนโดน ปี 2561ขึ้ น ด้วยโครงการนี้ เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องในเขต อบต. เข้าปีที่ 5 แล้ว และทุกๆกิจกรรมเป็นการติดตามประเมินผลจากการปฏิบัติตัว และการดูแลตนเองของผู้ป่วยในแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพ ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจตา ตรวจไต ตรวจเท้า และการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ครอบคลุมตามเกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นการดำเนินงานเพื่อการประเมิน ติดตามผล และส่งต่อ ตามมาตรฐานที่ตกลงกันในแต่ละพื้นที่ (CPG NCD CUP ควนโดน) จึงควรให้มีการดำเนินโครงการนี้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้แกนนำ อสม.ด้านโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

แกนนำ อสม.ด้านโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตอบคำถามได้ และดูแลผู้ป่วยได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 90 ของอสม.แกนนำ

0.00
2 2 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เหมาะสม

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เหมาะสม ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 80

0.00
3 3.เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หัวใจ และหลอดเลือด และCVD RISK ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น/ได้รับยาในการตรวจรักษาอย่างครอบคลุม

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หัวใจ และหลอดเลือด และ CVD RISK ร้อยละ 90 ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น/ได้รับยาในการตรวจรักษาอย่างครอบคลุม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30.00 0 0.00
11 มิ.ย. 61 - 11 ก.ค. 61 กิจกรรมย่อยจัดเวทีเสวนาเรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แก่แกนนำอสม.ด้านโรคเรื้อรัง จำนวน 60 คน 0 6.00 -
11 - 30 มิ.ย. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทางตา ไต เท้า หัวใจ และหลอดเลือด พร้อมทั้งประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) จำนวน 100 0 19.00 -
1 - 31 ส.ค. 61 จัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประกวด “บุคคลต้นแบบควบคุมน้ำตาลในเลือดและบุคคลต้นแบบควบคุมความดัน ปี 61 (DM/HT MODEL) 0 5.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. ขออนุมัติโครงการ จัดทำแผนงาน ดำเนินงานตามแผน 2. ประสานงานกับพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการ 3. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานตามโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้อง 4. จัดเตรียมเอกสารที่จะใช้ในการดำเนินโครงการฯ แก่กลุ่มเป้าหมาย 5. ประสานงาน/ติดต่อวิทยากร ขั้นดำเนินการ 1. จัดเวทีเสวนาเรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรังแก่แกนนำอสม.ด้านโรคเรื้อรัง จำนวน 60 คน 2. คัดกรองภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทางตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด พร้อมทั้งประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk assessment) แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 100 คน
3. จัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประกวด “บุคคลต้นแบบควบคุมน้ำตาลในเลือดและบุคคลต้นแบบควบคุมความดัน ปี 61(DM/HTMODEL 61 )” จำนวน 100 คน 4. สรุปผลการดำเนินงานและดำเนินการส่งต่อในรายที่มีความผิดปกติหรือมีภาวะแทรกซ้อน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

2.1 แกนนำ อสม.ด้านโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
2.2 กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เหมาะสม 2.3 กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น/ได้รับยาในการตรวจรักษาอย่างครอบคลุม 2.4 ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาล/ระดับความดันโลหิตได้ดีตามเป้าหมายในแต่ละระยะของโรค ในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนและ/หรือมีปัญหาการควบคุมได้ไม่ดีตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่องสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้รับการส่งต่อที่ถูกต้องเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2561 10:54 น.