กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5171-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 131,102.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 116 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และมักระบาดในฤดูฝนเพราะมียุงเพิ่มมากขึ้น ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ไข้เลือดออกมีการระบาดเพิ่มมากขึ้น และกลายเป็นโรคประจำท้องถิ่นของประเทศ มากกว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความรุนแรงมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่เกิดโรคออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากร และมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่คนทำขึ้น การคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางถนนและทางอากาศ ทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและระหว่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกีเป็นไปอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรและงบประมาณค่าใช้จ่ายของประเทศในแต่ละปีจำนวนมาก ทั้งที่โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้หากทุกคนร่วมกันดูแลกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือนของตนเอง และป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด ถึงแม้จะมีการรณรงค์และการประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องไข้เลือดออก แต่ยังพบว่าปัญหายังไม่ได้หมดไป ยังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทุกปี สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2560 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา) ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2560 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (DF,DHF,DSS) สะสมรวมทั้งประเทศ 48,896 ราย อัตราป่วย 74.73 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 59 ราย อัตราตาย 0.09 ต่อประชากรแสนคน จังหวัดสงขลามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวม 2,925 ราย อัตราป่วย 208.05 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 5 ราย อัตราตาย 0.36 ต่อประชากรแสนคน สำหรับพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วย พื้นที่หมู่ที่ 1,8,9,10,11,12 และ 13 ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่ได้รับการยืนยันรวม 15 ราย อัตราป่วย 248.23 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต และมีผู้ป่วยสงสัยรวมถึงผู้ป่วยที่มาพักอาศัยระหว่างป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 20 ราย
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องมีความตระหนักและร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคโดยอาศัยยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักและเห็นถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกนำไปสู่การเกิดความรับผิดชอบและร่วมกันแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ปัญหาโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและเป็นภารกิจที่ทุกคนในชุมชนต้องร่วมด้วยช่วยกัน สิ่งที่ดีที่สุดในการหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออก คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วเครือข่ายระดับตำบล ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออก ข้อที่ 3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ข้อที่ 1. ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วเครือข่ายระดับตำบลได้รับการอบรมตามหลักสูตรพัฒนา SRRT เครือข่ายระดับตำบล ร้อยละ 80 ข้อที่ 2 1) ครัวเรือนได้รับข่าวสารความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 50 2) จัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ไตรมาสละ 1 ครั้ง ข้อที่ 3 1) อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ.2556-2560) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10  2) โรงเรียนที่มีค่า CI=0 ร้อยละ 100 3) สถานศึกษาและศาสนสถานในพื้นที่ ได้รับการพ่นหมอกควันหรือละอองฝอย 2 ครั้ง/ปี ร้อยละ 100 4) บ้านที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและครัวเรือนรัศมี 100 เมตร ได้รับการพ่น หมอกควันหรือละอองฝอย 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 116,422.00 0 0.00
9 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 การพัฒนาศักยภาพทีม SRRT ตำบล 0 1,600.00 -
9 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 2. การสร้างความรู้ 0 3,232.00 -
9 ก.ค. 61 การรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 0 6,000.00 -
9 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 4. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 0 2,800.00 -
9 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 การทำลายยุงลายตัวเต็มวัย 0 102,790.00 -

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพทีม SRRT ตำบล 1.1 แต่งตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล (SRRT เครือข่ายระดับตำบล) จำนวน 1 ทีม ซึ่งประกอบด้วย บุคลากรสาธารณสุขจาก รพ.สต., อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน, ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ผู้นำชุมชน, ตัวแทนจากโรงเรียน
1.2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตามหลักสูตรพัฒนา SRRT เครือข่ายระดับตำบล แก่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล (SRRT เครือข่ายระดับตำบล) กิจกรรมที่ 2 การสร้างความรู้ 2.1 จัดกิจกรรมให้ความรู้และแจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ผ่านเวทีประชาคมหรือเวทีประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน 2.2 ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องไข้เลือดออกผ่านเอกสารประชาสัมพันธ์ ซึ่งจัดทำขึ้นในลักษณะของหนังสือราชการ โดยมอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้จัดส่งหนังสือดังกล่าวไปยังประชาชนในเขตรับผิดชอบของตนเองทุกครัวเรือน 2.3 จัดทำเอกสารเรื่องโรคไข้เลือดออกสำหรับการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้าน โดยมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบเสียงตามสายแต่ละหมู่บ้านเป็นคนดำเนินการประชาสัมพันธ์ จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ที่ รพ.สต. จัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์สำหรับให้ความรู้แก่ผู้รับบริการที่รพ.สต. 2.4 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียนในโรงเรียนเขตรับผิดชอบ กิจกรรมที่ 3 การรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 3.1 จัดกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน สถานศึกษา และศาสนสถาน โดยบุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประชาชน และนักเรียน
กิจกรรมที่ 4 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและเจ้าของบ้าน 4.1 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้สำรวจตามครัวเรือนในเขตที่ตนเองรับผิดชอบ เมื่อสำรวจจะแจ้งผลการสำรวจแก่เจ้าของบ้าน และขอความร่วมมือเจ้าของบ้านในการร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายดังกล่าว 4.2 ส่งสรุปผลการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายกลับมายัง รพ.สต. ในวันประจำประจำเดือนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 4.3 วิเคราะห์ผลการสำรวจโดยบุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานระบาดวิทยา จากนั้นแจ้งผลดังกล่าวกลับไปยังผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 4.4 มอบรางวัลสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ดำเนินการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยการสุ่มสอบถามจากเจ้าของครัวเรือน 4.5 มอบรางวัลแก่เจ้าของบ้านที่ดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยนำผลมาจากการสุ่มสำรวจ และจากการสอบถามจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กิจกรรมที่ 5 การทำลายยุงลายตัวเต็มวัย 5.1 พ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ในสถานศึกษา และศาสนสถาน ก่อนเปิดเรียนภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง
5.2 พ่นหมอกควัน/ละอองฝอย กรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่ โดยทำการพ่นบ้านผู้ป่วย และละแวกบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ กิจกรรมที่ 6 การเตรียมความพร้อมด้านเคมีภัณฑ์ 6.1 จัดเตรียมเคมีภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมโรคให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถตรวจจับเหตุการณ์ การป่วย หรือตายที่ผิดปกติได้ทันเวลา
  2. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก
  3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2561 11:39 น.