กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ บ้าน โรงเรียน ชุมชน ปลอดลูกน้ำยุงลาย ตำบลวัด อำเภอยะรังจังหวัดปัตตานี ปี พ.ศ. 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัด
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาอีหม๊ะ มาหิเละ
พี่เลี้ยงโครงการ นายซุลกิฟลี สาหะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวัด อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.735,101.308place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (30,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก จังหวัดปัตตานี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559- ธันวาคม 2559 การระบาดของโรคไข้เลือดออกของจังหวัดปัตตานีจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนและช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคม โดยพบจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 639 ราย อำเภอยะรังพบผู้ป่วย จำนวน 73 รายคิดเป็นร้อยละ 88.30 ต่อแสนประชากร และตำบลวัด พบผู้ป่วย 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 787.59ต่อแสนประชากร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลวัด จึงต้องมีการเฝ้าระวังป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและการควบคุมโรคที่ได้ผล โดยมีกระบวนการทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมของชุมชน และมาตรการการควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งหน่วยบริการสาธารณสุขระดับพื้นที่จำเป็นต้องจัดทำแผนในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันไม่ให้มีลูกน้ำยุงลาย เน้นการป้องกันทางกายภาพ โดยการปรับเปลี่ยนน้ำทุก ๕-๗ วัน และทางชีวภาพ ได้แก่การใช้ปลากินลูกน้ำ ทางเคมีได้แก่การฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่ตามหลังคาเรือนในช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจและตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

1.ประชาชนมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกมากกว่าร้อยละ 90

2 2. เพื่อรณรงค์และเร่งรัดการป้องกันโดยเน้นกิจกรรมทางกายภาพชีวภาพและเคมีจนไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่

1.ความชุกของลูกน้ำยุงลาย -ร้อยละ 80 ของหมู่บ้าน/ชุมชน มีค่า HIน้อยกว่า 10 -ร้อยละ 100 ของโรงเรียน ศาสนสถาน หน่วยงาน มีค่า CI เท่ากับ 0 2.อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในตำบล ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร -หมู่บ้านที่มีประชากรน้อยกว่า 2000 คนไม่มีผู้ป่วย -หมู่บ้านที่มีประชากรระหว่าง 2,001 – 3,999 คนมีผู้ป่วยได้ไม่เกิน 1 ราย -หมู่บ้านที่มีประชากรระหว่าง 4,000 – 5,999 คนมีผู้ป่วยได้ไม่เกิน 2 ราย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมเครือข่ายสุขภาพเพื่อชี้แจงแนวทางและหามาตรการควบคุมป้องกันโรค
  2. การบริหารจัดการในฝ่ายควบคุมโรค (รพ.สต.) 2.1 จัดประชุม War Room โรคไข้เลือดออก จำนวน 4 ครั้งโดยภาคีเครือข่ายสุขภาพ 2.2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ให้กับแก่ตัวแทนแม่บ้าน
    2.3สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันลูกน้ำยุงลายทุกหมู่บ้านทุกหลังคาเรือน 2.4พ่นหมอกควันพ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง ทุกเดือน
    2.5แจกสารเคมี(ทรายอะเบท) กำจัดลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือน 2.6ให้สุขศึกษาโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน มัสยิดและในโรงเรียน 2.7รณรงค์และประชาสัมพันธ์เรื่องไข้เลือดออกในหมู่บ้าน 2.8ประสานงานกับศูนย์ข้อมูลทางระบาดวิทยาระดับอำเภอ เพื่อทราบสถานการณ์โรค และนำเสนอในเวที WarRoom
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ให้ประชาชนในพื้นที่ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
  2. ปริมาณการเกิดโรคและการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต
  3. ชุมชนให้ความสำคัญ เกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่อย่างจริงจังต่อเนื่อง จนไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2560 13:22 น.