กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L7499-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 20 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนราธิป สินโน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เขตเทศบาลตำบลสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวนขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด พื้นที่เทศบาลตำบลสทิงพระเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 3 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เป็นไข้เลือดออก ดังนี้ คือ ปี พ.ศ.2557 จำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 236.64 ต่อแสนประชากร, พ.ศ.2558 จำนวน3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 101.08 ต่อแสนประชากร, พ.ศ.2559จำนวน13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 448.28 ต่อแสนประชากร และตั้งแต่ ม.ค.60 ถึง 30 มี.ค. 60 มีผู้ป่วย จำนวน 6 ราย ซึ่งจากข้อมูลทางระบาดวิทยา พบว่าการระบาดของโรคไข้เลือดออกมีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นทุกปีดังนั้น เพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการควบคุมป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน
  1. ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index=0)
2 2. เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อ100000
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 60,000.00 1 19,777.80
15 - 31 ก.ค. 60 เดินรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน แจกทราย แจกพันธุ์ปลาหางนกยูง พ่นหมอกควันอาคารบ้านเรือน วัด สถานศึกษา สถานที่ ครั้งที่1 0 30,000.00 19,777.80
15 - 30 พ.ย. 60 เดินรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน แจกทราย แจกพันธุ์ปลาหางนกยูง พ่นหมอกควันอาคารบ้านเรือน วัด สถานศึกษา สถานที่ ครั้งที่ 2 0 30,000.00 -
  1. ก่อนการเกิดโรค 1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ
    1.2 ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
    • แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
    • ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.3 ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกและการจัดการขยะในครัวเรือน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน ทุกหมู่บ้าน ที่ประชุมผู้นำชุมชน พร้อมคัดเลือกตัวแทนครอบครัวที่ยินดีเลี้ยงปลาหางนกยูงเป็นแหล่งขยายพันธุ์ให้เข้าร่วมโครงการปรับปรุงให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 1.4 จัดเตรียมสื่อแผ่นป้ายไวนิลการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ตามมาตรการ 3เก็บ มาตรการ 5 ป. และการจัดการการลด คัดแยกขยะ และนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่
      1.5 แต่งตั้งคณะทำงาน อสม.และตัวแทนครัวเรือนหรือผู้นำที่สนใจเพื่อวางแผนการรณรงค์ การเดินเคาะประตูบ้านแจกทรายเคมีฟอส แจกปลาหางนกยูง แจกเอกสารแผ่นพับ และพ่นหมอกควันในอาคารบ้านเรือน สถานศึกษา ศาสนสถาน สถานที่ราชการ สถานประกอบการ 1.6 ดำเนินการรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พร้อมแจกทรายเคมีฟอส แจกปลาหางนกยูง และพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายภายในอาคารบ้านเรือน โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด สถานประกอบการ จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย ตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ 1.7 ประชาสัมพันธ์บ้านที่เข้าร่วมโครงการและสามารถเป็นบ้านจัดการขยะเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ผ่านเสียงตามสาย และในที่ประชุมระดับหมู่บ้านและตำบล
  2. ขณะเกิดโรค 2.1 จัดตั้งคณะทำงานรับแจ้งผู้ป่วยไข้เลือดออกในกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 2.2 เมื่อได้รับแจ้งผู้ป่วยไข้เลือดออก แจ้งประสานศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลจะทิ้งพระ อสม.ที่รับผิดชอบบ้าน ผู้ป่วย เพื่อร่วมกันลงพื้นที่เพื่อทำการสอบสวนโรค ฉีดสเปรย์กำจัดยุง และพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน พร้อมให้ความรู้ในการป้องกันแก่ประชาชนที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง 2.3 ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายเพื่อรณรงค์ป้องกัน และขอความร่วมมือประชาชนในการดูแลปรับปรุงสภาพบ้านเรือนไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การป้องกันยุงลายกัด การสังเกตอาการโรคไข้เลือดออก
  3. หลังการเกิดโรค
    3.1 ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายเพื่อรณรงค์ป้องกัน และขอความร่วมมือประชาชนในการดูแลปรับปรุงสภาพบ้านเรือนไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตามมาตรการ 5 ป และมาตรการ 3 เก็บ โดยให้มีกิจกรรมดังกล่าวในวันศุกร์ของสัปดาห์ 3.2 จัดเก็บข้อมูลการระบาดในเชิงพื้นที่ เวลา และวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา เพื่อนำไปวางแผนการดำเนินงานต่อไป

  4. สรุป รายงานผลและประเมินผลโครงการ ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสทิงพระ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
  2. มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
  3. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2560 09:34 น.