กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สุขภาพดีด้วยวิถีชุมชน
รหัสโครงการ 61-L4137-2-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานกลุ่มสตรีตำบลพร่อน
วันที่อนุมัติ 31 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2560 - 10 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 26 กันยายน 2561
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมารีเยาะ สะแต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สมุนไพรและการแพทย์แผนไทยเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยเป็นเวลานาน เนื่องจากคนไทยสมัยก่อนมีการพึ่งตนเองด้านรักษาพยาบาลสูง ด้วยเหตุผลที่สมัยก่อนยังไม่มีสถานบริการด้านสาธารณสุขบริการประชาชนอย่างทั่วถึงเหมือนปัจจุบัน เมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นในชุมชนหรือครอบครัว จึงมีกานำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาเบื้องต้น หรือรักษาพยาบาลกับหมอพื้นบ้านในหมู่บ้านของตนเอง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย โดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ และปัจจุบันประเทศไทยได้มีการสนใจใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น เนื่องจากการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน บางครั้งมีผลข้างเคียงในบางโรค และมีขีดจำกัดในการรักษา เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งต้องมีแนวทางรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก การแพทย์ทางเลือกจึงมีอิทธิพลต่อสังคมไทย เพราะคนไทยหันมาบริโภคสมุนไพรกันมากขึ้น ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ยังเป็นชุมชนกึ่งขนบท แม้จะอยู่ในเขตอำเภอเมืองชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านยังมีการใช้สมุนไพรเป็นทั้งอาหารและยา เพื่อบำรุง ป้องกัน และรักษาโรค โดยใช้พื้นที่บางส่วนของบ้านในการปลูกสมุนไพร จึงทำให้เกิดภูมิปัญญาอันชาญฉลาด ซึ่งเรียกว่า หมอพื้นบ้าน ที่ต้องรักษาคนในครอบครัว ญาติ คนรอบข้างในชุมชน โดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา แต่ปัจจุบันพบว่าองค์ความรู้และภูมิปัญญาดังกล่าวเริ่มมีอยู่อย่างจำกัดเฉพาะในกลุ่มชาวบ้านบางคนที่สนใจ และพืชสมุนไพรบางชนิดก็เริ่มหายากหรือขาดแคลน กลุ่มสตรีตำบลพร่อน ในฐานะที่มีบทบาทในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตสตรี จึงตระหนักและเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงจัดให้มี โครงการสุขภาพดีด้วยวิถีชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพสตรีให้มีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้โดยใช้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
16 ส.ค. 61 จัดอบรมให้ความเกี่ยวกับการปลูกผักตามรั่วข้างบ้านเพื่อลดจากสารเคมีปลอดสารพิษ 0 20,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพืชสมุนไพรในท้องถิ่น 2 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำความรู้มาใช้ในการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน 3 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถประยุกต์ความรู้ ภูมิปัญญาเพื่อสร้างเสริมให้มีสุขภาพที่ดี 4 ร้อยละ 80 ของครัวเรือนของผู้เข้าร่วมโครงการ มีการปลูกสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ลดรายจ่ายในครัวเรือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2561 10:58 น.