กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาหนัน
รหัสโครงการ 61-L4137-2-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาหนัน
วันที่อนุมัติ 31 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสารีนา สุหลง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30,500.00
รวมงบประมาณ 30,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาของเด็กปฐมวัยประกอบด้วย ปัญหาทั้งด้านสุขภาพและความปลอดภัย มีสาเหตุมาจากตัวเด็กเอง และสภาพแวดล้อม ตลอดจนปัจจัยในการเลี้ยงดูและพัฒนาของเด็กแต่ละคน ปัญหาอาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ทั้งที่บ้านและโรงเรียน ผู้ปกครองและครูจึงต้องรู้เท่าทันภูมิหลังด้านสุขภาพของเด็ก และมีความรอบคอบในการเตรียมรับมือ กรณีที่เกิดปัญหาด้านสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กแต่ละคน โดยเฉพาะการระมัดระวังการแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง หรือการเตรียมการซักซ้อมก่อนการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทัน และเกิดความปลอดภัยแก่เด็กมากที่สุดอาจกล่าวได้ว่าสุขภาพและความปลอดภัย เมื่อนำมาพิจารณารวมกันแล้ว ย่อมหมายถึง“ทั้งชีวิตของเด็ก” ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจำแนกออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ สาเหตุอันเกิดจากปัจจัยภายใน และจากปัจจัยภายนอก ซึ่งมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้  ๑. สาเหตุจากปัจจัยภายใน ซึ่งเกิดขึ้นจากความผิดปกติในตัวเด็กเอง โดยปัญหาของเด็กมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ - เด็กมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่พัฒนาโดยสมบูรณ์ ๒. สาเหตุจากปัจจัยภายนอกสำหรับปัจจัยภายนอก สิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ซึ่งปัญหาที่เกิดกับเด็กส่วนใหญ่ มักเกิดจากเหตุดังต่อไปนี้ - การติดเชื้อ การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งสามารถแพร่จากคนสู่คนได้อย่างง่ายดายผ่านการสัมผัส (Cross-infection)   - การเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง ตั้งแต่หลังคลอด ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องของอาหารการกิน ไปจนถึงการดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของลูก   - เด็กขาดประสบการณ์หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์   - อุบัติเหตุประเภทต่างๆ ซึ่งอาจเกิดจากการหกล้มเพียงเล็กน้อย หรืออาจรุนแรงถึงอุบัติเหตุที่อาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะหรือชีวิต   - การได้รับสารพิษ   - การรักษาความสะอาดที่ไม่ดีพอ ด้วยเหตุนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาหนัน จึงต้องการมุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมการออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพของเด็กรวมทั้งการดำเนินการเตรียมความพร้อมตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ อย่างเข้มข้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชุมชน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ขึ้น เพื่อส่งเสริมส่งเสริมสุขภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองผู้ประกอบอาหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัย และการรู้จักการดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,500.00 1 30,500.00
15 ส.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองและเด็ก 0 30,500.00 30,500.00

กิจกรรม ระยะเวลา ๕.๑ ขั้นเตรียมการ   ๑. ประชุม ปรึกษาหารือแนวทางการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาหนัน   ๒. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.พร่อน   ๓. หนังสือเชิญวิทยากรเพื่ออบรมครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองผู้ประกอบอาหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัย และการรู้จักการดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง ๑๕ สิงหาคม –
๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ ๕.๒ ขั้นดำเนินงาน   กิจกรรมที่ ๑. ให้ความรู้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครอง     ๑ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ครู/ผู้ดูแลเด็กและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง     ๒. จัดเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมตามโครงการ     ๓ วิทยากรอบรมให้ความรู้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองผู้ประกอบอาหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ๓.๑ จัดเตรียมเอกสารการคัดกรองสุขภาพ (ชั่งน้ำหนัก – วัดส่วนสูง ) พร้อมลงกราฟแปลผลโดยครูประจำชั้นแต่ละชั้นเรียน ๓.๒ เตรียมเอกสารให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองผู้ประกอบอาหาร ในเรื่องสุขภาพอนามัย และการรู้จักการดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง   ๓.๓ วิทยากรอบรมให้ความรู้ การดูแลสุขภาพเด็กเล็ก ในเรื่องสุขภาพอนามัย การรู้จักการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ   ๓.๔ เปิดโอกาสผู้ปกครองแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันเตรียมเอกสารให้ผู้ปกครอง ในเรื่องสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย ๑๕ สิงหาคม –
๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ กิจกรรม ระยะเวลา   กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมการออกกำลังกายส่งเสริมพัฒนาการแห่งวัยของเด็ก
- การเล่นฮูลาฮูป - การเล่นโยนบอลลงตะกร้า - การเล่นฟุตบอล   กิจกรรมที่ ๓ หนูน้อยมือสะอาด - การล้างมือหลังจากการทำกิจกรรมการออกกำลังกาย ๑๕ สิงหาคม – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ ๕.๓ ขั้นติดตามและประเมินผล     ๑. ประเมินและสรุปผลการดำเนินโครงการ และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ ๑๕ สิงหาคม –
๓๐ กันยายน ๒๕๖๑

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๙.๑ ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และ ผู้ประกอบอาหาร มีความเข้าใจหลักโภชนาการของเด็กปฐมวัย และสุขอนามัยที่ดี   ๙.๒ ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็ก   ๙.๓ เด็กปฐมวัยรู้จักวิธีการออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ โดยการเล่นกีฬาตามความเหมาะสม และส่งเสริมพัฒนาการแห่งวัยของเด็ก   ๙.๔ เด็กปฐมวัยในศูนย์ฯได้รับการตรวจสุขภาพอนามัยและมีการประเมินสมรรถนะกันทุกคน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2561 11:13 น.