กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 61-L8278-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบันนังสตา
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 สิงหาคม 2561 - 25 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 53,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอามีเนาะ ประดู่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.25,101.233place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆทุกปี สำหรับประเทศไทย  จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่าอัตราป่วยด้วย        โรคความดันโลหิตสูง ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คนในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมา(พศ.๒๕๕๖-๒๕๖๐) เพิ่มขึ้นจาก ๑๒,๓๔๒.๑๔ (จำนวน ๓,๙๓๖,๑๗๑ คน) เป็น ๑๔,๙๒๖.๔๗ ( จำนวน ๕,๕๙๗,๖๗๑ คน ) และพบอัตรา    การป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ในรอบ ๓ ปีที่ผ่านมา (พศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๐) เพิ่มขึ้นจาก ๙๑๖.๘๙ (จำนวน ๕๔๐,๐๑๓ คน) เป็น ๑,๓๕๓.๐๑ (จำนวน ๘๑๓,๔๘๕ คน) และสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลก(WHO) รายงานว่าในปี ๒๕๕๒ ผู้ป่วยเบาหวาน  มีจำนวน ๑๐๘ ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น ๔๒๒ ล้านคนในปี ๒๕๕๗ มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน๑.๕ ล้านคน สำหรับประเทศไทยจากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่าอัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศในปี2556-2558 เท่ากับ ๑๔.๙๓, ๑๗.๕๓ และ๑๗.๘๓ ตามลำดับ เห็นได้ว่าอัตราการตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี
    สำหรับข้อมูลสถานการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของจังหวัดยะลาปี ๒๕๕๖-๒๕๕๙ พบว่า  อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก ๒,๒๕๒ เป็น ๓,๐๙๔.๗ ต่อแสนประชากร ส่วนอัตราป่วยด้วย      โรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจาก ๖,๒๕๖.๑ เป็น ๘,๓๔.๔ ต่อแสนประชากร และข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ของอำเภอบันนังสตาปี ๒๕๕๘-๒๕๖๐ พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นจาก ๑๓๖.๔๓ เป็น ๑๗๕.๗๓ ต่อแสนประชากรและอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้นจาก ๕๒๕.๔๙ เป็น ๕๔๗.๒๕ ต่อแสนประชากร (คลังข้อมูล HDC:๒๕๖๑) และจากข้อมูลการคัดกรองโรคเบาหวานและ      ความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ35ปีขึ้นไปในอำเภอบันนังสตาปี ๒๕๖๐-๒๕๖๑ พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ๑๒.๙๙ (จำนวน๑,๘๕๕ คน) เป็นร้อยละ ๒๐.๒๘(จำนวน๓,๐๑๕ คน) และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ๓.๖๓(จำนวน ๕๙๑ คน)เป็นร้อยละ๑๐.๙๗(จำนวน ๑,๘๔๔ คน) ซึ่งจะเห็นว่า  มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริงพบว่ามีความสอดคล้องกับพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลบันนังสตา  ปี ๒๕๖๑ มีพฤติกรรมกินเค็มทุกวันร้อยละ ๒๘.๕๗ กินหวานทุกวันร้อยละ ๒๓.๑๙ พฤติกรรมการกินผักไม่ครบ  ๗ วันร้อยละ ๒๒.๘๕ พฤติกรรมการไม่ออกกำลังกายร้อยละ ๒๘.๕๗ จากข้อมูลที่พบจะเห็นได้ว่าการมีพฤติกรรม    ไม่เหมาะสม จะส่งผลให้มีภาวะการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงขึ้นเรื่อยๆ หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตา จึงได้หาแนวทางแก้ปัญหาที่พบโดยการจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยจัดกิจกรรมต่างๆให้มีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงการพัฒนาทักษะเพื่อให้สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและส่งเสริมให้มีปัจจัยต่างๆที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย กิจกรรมดังกล่าวน่าจะส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงสามารถป้องกันการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ