กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย
รหัสโครงการ 61-L8278-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบันนังสตา
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 สิงหาคม 2561 - 25 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 54,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพาตีเม๊าะ ฮามิดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.25,101.233place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมาลาเรีย ยังเป็นโรคสำคัญที่ทำให้ประชาชนของโลกเจ็บป่วยและเสียชีวิต แม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้นแต่อัตราตายจากมาลาเรียยังคงสูงและในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 627,000 คน โดยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากมาลาเรียขึ้นสมอง ในประเทศไทย การแพร่กระจายของผู้ป่วยมาลาเรียจะพบมากบริเวณป่าเขาชายแดนของประเทศ ปี พ.ศ. 2560 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย ๑๑,๔๒๘ ราย อัตราป่วย ๒๔.๖๔ ต่อแสนประชากร ส่วนใหญ่เป็นคนไทย ร้อยละ 6๒.๗๕ เชื้อที่พบส่วนใหญ่เป็นชนิดไวแวกซ์ ร้อยละ ๘๑.๙๕ ผู้ป่วยบางรายติดเชื้อมาลาเรียมากกว่า    1 ชนิด พร้อมกัน เช่น ตรวจพบทั้งฟัลซิปารัม และไวแวกซ์ อัตราป่วยตาย ร้อยละ ๐.๐๘ ในปีพ.ศ.๒๕๖๑ ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือนมิถุนายน มีรายงานผู้ป่วย ๓,๒๙๔ ราย อัตราป่วย ๗.๑๐ ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตาย ๐.๐๓ จังหวัดที่พบมากได้แก่ ตาก รองลงมาคือ จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคไข้มาลาเรียอย่างต่อเนื่องทุกปี พ.ศ. ๒๕๖๐ จังหวัดยะลามีรายงานผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย ๓,๓๙๗ ราย อัตราป่วย ๗๖๙.๙๕ ต่อแสนประชากรปี พ.ศ.๒๕๖๑ ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือนมิถุนายน มีรายงานผู้ป่วย ๖๕๒ ราย อัตราป่วย ๑๔๕.๖๘ ต่อแสนประชากร เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกันอัตราป่วยลดลงร้อยละ ๗๘.๖๕ และไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต แต่อัตราป่วยยังคงอยู่ในลำดับหนึ่งและสองของประเทศเช่นเดียวกับปี ๒๕๖๐ อำเภอในจังหวัดยะลาที่พบมีการระบาดมากที่สุด คือ อำเภอบันนังสตาปี พ.ศ. ๒๕๖๐ พบผู้ป่วยจำนวน ๑,๔๙๑ ราย อัตราป่วย ๒,๘๑๓.๒๑ ต่อแสนประชากร ตำบลที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียมากที่สุดในอำเภอบันนังสตา คือ ตำบลบันนังสตา เนื่องจากสภาพของพื้นที่ของตำบลบันนังสตา มีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะแก่การเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงก้นปล่อง ปี พ.ศ. 2560 ตำบลบันนังสตามีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย จำนวน ๖๑๐ ราย อัตราป่วย ๓๖๒๑.๖๘ ต่อแสนประชากร ปีพ.ศ. ๒๕๖๑ ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือนมิถุนายน พบผู้ป่วยแล้วจำนวน ๒๓๖ ราย อัตราป่วย ๑๐๑๕.๒๖ ต่อแสนประชากรมีแนวโน้มลดลงจากปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน กับปี พ.ศ. ๒๕๖๐ อัตราป่วยลดลง ๔๖.๓๐แต่ยังคงเป็นพื้นที่ระบาดสูงสุดของจังหวัด ของเขต และประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ ๕ หมู่ ๖ หมู่ ๗ หมู่ ๘ หมู่ ๙ และหมู่ ๑๐ จาการสำรวจพฤติกรรมป้องกันไข้มาลาเรียในพื้นที่ระบาดเมื่อปี งบประมาณ ๒๕๖๑ พบว่าประชาชน มีพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียไม่ถูกต้องมีพฤติกรรมการนอนในมุ้งธรรมดาร้อยละ 44 พฤติกรรมการนอนในมุ้งชุบสารเคมีร้อยละ 56 พฤติกรรมการใช้ยาทากันยุงเป็นประจำ  ร้อยละ 6 พฤติกรรมการสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวป้องกันยุงกัดในเวลาใกล้ค่ำเป็นประจำร้อยละ 0    มีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องคิดว่าการนอนนอกมุ้งไม่ทำให้ป่วยมาลาเรียร้อยละ 22 โรคมาลาเรียเป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ ร้อยละ 32
ดังนั้นหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลบันนังสตา จึงได้หาแนวทางแก้ปัญหาที่พบโดยการจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้มาลาเรีย โดยจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง มีความรู้และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ